Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2531








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2531
"แนวโน้มรัฐบาลจะเข้ามาแทรกแซงทางการตลาด"             
 

   
related stories

"ข้อมูลบุคคล ทวี บุตรสุนทร"

   
search resources

ทวี บุตรสุนทร
Economics
Marketing




5 ปีที่แล้วหรือจากนี้ไป ภาคอุตสาหกรรม ถ้าดูจาก GDP จะเห็นว่าโตขึ้น ๆ ทุกปี ๆ อุตสาหกรรมก็จะมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศมากขึ้น แต่เกษตรกรรมก็ยังคงมีความสำคัญเพราะเป็นพื้นฐาน หรือยังคงสามารถส่งออกบางส่วนในปี 2531 ในความเห็นของผม เศรษฐกิจในภาคอุตสาหกรรมโดยส่วนรวมจะมีแนวโน้มค่อนข้างดีซึ่งมีปัจจัยหลัก ๆ ที่สนับสนุนคือ

หนึ่ง-อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำ และคงจะทรงอยู่ในระดับนี้ไปจนถึงปีหน้า จะเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจดี เพราะกำลังการผลิตจะเริ่มเต็ม ผู้ประกอบการก็จะนำเงินมาลงทุนเนื่องจากดอกเบี้ยต่ำ

สอง-ราคาน้ำมันในตลาดโลก ซึ่งคาดว่าจะทรงอยู่ในระดับ 18 เหรียญ/บาเรล ซึ่งจะไม่กระทบต่อปัจจัยการผลิตหลักใหญ่อย่างไฟฟ้า ถ้าน้ำมันขึ้นราคา ต้นทุนการผลิตก็จะขึ้นตามแต่อาจจะไม่ตามสัดส่วนเดียวกัน เพราะฉะนั้นถ้าหากราคาน้ำมันในตลาดทรงตัว ต้นทุนนี้ก็จะยังคงอยู่ในเกณฑ์ต่ำ อุตสาหกรรมก็น่าจะเติบโตขึ้นเหมือนปี 2530

สาม-อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่ประเทศไทยปรับตาม BASKET ซึ่งจะทำให้ค่าเงินของเราสมดุลตลอดเวลาเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น ๆ ในแง่การส่งออกเมื่อเงินสกุลอื่น ๆ แข็ง กำลังซื้อแข็ง ของเราก็จะถูก อัตราแลกเปลี่ยนจะเกื้อหนุนการส่งออก ทำให้สินค้าหลัก ๆ ที่เราส่งออกในปีนี้ต่อเนื่องเช่นเดียวกับปีที่แล้ว นอกจากนี้ผลจากการส่งออกที่ดี ทำให้รายได้ของพวกส่งออกดีขึ้น ผู้ประกอบการก็จะนำมาปรับปรุงประสิทธิภาพการส่งออก ทำให้คุณภาพสินค้าของเราอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี เมื่อต้นทุนน้อย คุณภาพดี ส่งออกมาก ก็จะมีกำไรสำหรับการปรับปรุงเรื่องคุณภาพ

สำหรับผลผลิตทางการเกษตร จะเห็นว่าผลผลิตมีปริมาณน้อย แต่ราคาดีมาก ก็จะทำให้เกษตรกรกลุ่มหนึ่งมีรายได้มากขึ้น พวกนี้ก็จะนำไปซื้อเครื่องจักรกลทางการเกษตร ซึ่งจะทำให้เครื่องยนต์การเกษตรในปี 2531 สยามคูโบต้าคาดว่าจะโตขึ้นอีกราว 8-10% เช่นเดียวกับยางพาราที่จะมีปริมาณขายมากขึ้นในปีหน้า

สี่-การรักษาระดับการปล่อยสินเชื่อของธนาคารเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยในปีนี้ จะขยายไปเป็นพวกอาคาร คอนโดมีเนียม หรืออาคารสำนักงานในปี 2531 ซึ่งจะยังคงขยายได้ในระดับเช่นเดียวกับปีนี้

ห้า-ผลจากการประชาสัมพันธ์ปีท่องเที่ยว ตลาดจะยังดีไปถึงปีหน้า เพราะเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์แล้ว ประเทศไทยยังน่าสนใจกว่าเพราะมีเอกลักษณ์หลายอย่างทั้งวัฒนธรรมและประเพณีต่าง ๆ เมื่อการท่องเที่ยวดีเรื่องสินค้าอุปโภคบริโภคก็จะดีขึ้นด้วย เพราะต่างประเทศเข้ามามาก กำลังซื้อก็มากขึ้น ซึ่งถ้ามองในแง่อุตสาหกรรมจะพบว่าการเติบโตของภาคนี้จะอยู่ในเกณฑ์ที่ดี

สำหรับปัญหาที่จะเกิดขึ้นในปี 2531 จากการคาดคะเนเรื่องการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่จะอยู่ระหว่าง 6-7% เช่นเดียวกับปีที่ผ่านมาของหลายสถาบัน ถ้ามองในภาพรวมแล้วสำหรับภาคเอกชน จะเผชิญปัญหา CAPACITY จะมีปัญหากำลังผลิตสินค้าไม่เพียงพอ ถ้าในภาคอุตสาหกรรมไหนไม่ได้วางแผนเรื่องขยายกำลังการผลิตล่วงหน้าจะเริ่มมีปัญหาตั้งแต่ 2531 เป็นต้นไป เพราะในการขยายงาน เราจะใช้เวลาแล้วแต่ประเภทอุตสาหกรรม บางอุตสาหกรรมอาจจะ 2-4 ปี ตอนนี้ถ้าปัญหากำลังผลิตไม่เพียงพอ ปัญหาต่อมาก็คือเมื่อกำลังผลิตเริ่มเดินเต็มที่ อุปทานจำกัด แต่อุปสงค์มาก ก็จะมีปัญหาเรื่องคุณภาพสินค้าและจะเป็นอย่างนี้เกือบทุกสินค้า ถ้าหากเขาไม่รักษาชื่อเสียง เพราะว่าเขาเร่งการผลิตเกินไป เพราะฉะนั้นบางทีสินค้ามีตำหนิต่าง ๆ ก็จพยายามจะออกตลาด

ส่วนในภาครัฐบาล จะมีปัญหาเรื่องของ INFRASTRUCTURE เพราะว่า EXPORT มากก็ต้องขนของเข้ามามาก วัตถุดิบเข้ามามาก ขนสินค้าออกไปมาก ถ้าหากไม่เติบโตเป็นสัดส่วนเท่ากันจะเริ่มมีปัญหา ซึ่งเชื่อว่าปัญหาที่จะเกิดคือถนนหนทาง ท่าเทียบเรือน้ำลึก การสื่อสาร โทรคมนาคม ฯลฯ ยกตัวอย่างเช่น โครงการอีสานเขียวที่กองทัพบกกับรัฐบาลกำลังลงไป ถ้าเขียวจริงก็จะมีปัญหา เพราะพืชผลเกษตรต่าง ๆ จะได้ผล แต่ออกมาภาคกลางไม่ได้หรือโครงการท่าเทียบเรือน้ำลึก ถึงแม้จะเซ็นสัญญาแล้วก็ตาม ต้องเร่ง…เพราะถ้าไม่เร่ง ถนนหนทาง การสื่อสารโทรคมนาคม จะมีปัญหาส่งออก

ปัญหาต่อมา มีแนวโน้มที่รัฐบาลจะมาแทรกแซงการตลาด เมื่อดูราคาสินค้าที่ปัจจุบันเริ่มขยับสูงขึ้น อย่างวัสดุก่อสร้าง… ราคาเหล็กเส้นขึ้น อะลูมิเนียมขึ้น ไม้อัดขึ้น ถ้าเรากลับไปดูพอต้นทุนวัตถุดิบขึ้น ราคาสินค้าสำเร็จรูปก็ขึ้น ซึ่งไม่ได้กระทบชาวบ้าน ชาวบ้านเห็นว่าแพงก็ไม่ซื้อ ถูกก็ซื้อ แต่ว่ากระทบผู้รับเหมาโครงการ ผู้รับเหมาก่อสร้างประมูลรับงานรัฐบาลมาก็ต้องสร้างให้เสร็จตามสัญญา แต่วัตถุดิบเหล่านี้ขึ้นไปมาก ทำให้ผู้รับเหมาลำบากขึ้น ซึ่งถ้าเรามองในแง่ผู้ผลิตสินค้า เมื่อต้นทุนสินค้าขึ้นราคาไม่ขึ้นเป็นไปไม่ได้ ที่ต้นทุนสินค้าขึ้น ราคาไม่ขึ้น เมื่อขึ้นไปก็ต้องกระเทือนผู้ใช้สินค้า ซึ่งจะเกิดความขัดแย้งระหว่างผู้ผลิตกับรัฐบาล เนื่องจากรัฐบาลมีแนวโน้มที่จะเข้ามาแทรกแซงทางการตลาดหรือต้องมาควบคุมภาคเอกชนมากขึ้นจะเป็นการควบคุมราคาหรือคุมการขึ้นราคา แต่มันจะยังไม่เป็นการคุมราคา แต่บอกว่าถ้าหากคุณจะขึ้นราคาต้องมาบอกผมก่อน แล้วใน 2 สัปดาห์ผมจะให้คุณขึ้นได้ ถ้ายังไม่ยอมให้ขึ้น คุณขึ้นไม่ได้ ซึ่งไม่ได้ต่างกับการคุมราคา

ถ้าตอนนี้รัฐบาลเข้ามาควบคุมราคาในตลาด ราคาก็จะบิดเบือน เพราะวัตถุดิบขึ้นราคา ผู้ผลิตสินค้าต้นทุนก็แพง ก็ต้องขึ้นราคาสินค้าสำเร็จรูป ถ้ารัฐบาลกดราคา ผู้ผลิตก็ขาดทุน ถ้าไม่ขาดทุนก็ไม่มีกำไร ไม่มีกำไรก็ไม่ขยายงาน แต่กำลังผลิตคงที่ ทุนคนคงที่หมด แต่ตลาดจะโตขึ้นทุก ๆ ปี ทุกคนไม่ขยาย ไม่รู้จะขยายไปทำไม เพราะรัฐบาลเข้ามาแทรกแซงเรื่องการตลาด ผลกระทบระยะยาวจะยิ่งหนักขึ้น คือจะต้องมีนำเข้าเป็นกิจจะลักษณะมากขึ้น

เรื่องส่งออกจะมีปัญหาการกีดกันเรื่องการค้า แต่คงไม่มากนัก เพราะหากสินค้าคุณภาพดี ราคาถูก ก็ยังมีคนซื้อ

สำหรับนักธุรกิจอุตสาหกรรมหรือเครือซิเมนต์ไทยเมื่อคิดว่ามีปัญหานี้แล้ว จะต้องปรับตัวให้เข้ากับปัญหาเหล่านี้ได้โดยเริ่มจากการเตรียมการ ซึ่งจะต้องเตรียมแผนเรื่องการผลิตสินค้าทุกชนิดให้พร้อม วิธีการก็คือเริ่มปรับปรุงซ่อมแซมเครื่องจักร ดัดแปลงเครื่องจักรต่าง ๆ ที่เป็นจุดบอดในการผลิต และปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักร จัดสรรงบประมาณเป็นการเตรียมการสำหรับปีหน้าต่อไปก็คือ ควรจะเพิ่มความระมัดระวังในการเพิ่มต้นทุนการผลิตมากขึ้น จากการคาดคะเนว่า รัฐบาลจะเข้ามาแทรกแซงเรื่องการตลาด จะมาควบคุมต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการซื้อวัตถุดิบ เพราะว่ารัฐบาลจะเข้มงวดในการปรับราคาสินค้ามากขึ้น สิ่งที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งรีบหากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในอัตรา 7% กำลังการผลิตจะหมดในบางสินค้า ซึ่งต้องวางแผนขยายกำลังการผลิต ในสินค้าหลัก ๆ เหล่านั้น

ส่วนที่อาจต้องทำเพิ่มขึ้น และต้องเพิ่มให้มากขึ้นอย่างต่อเนื่องก็คือเรื่อง QC (QUALITY CONTROL CIRCLE) เรื่องเกี่ยวกับ SAFETY ความปลอดภัยในการทำงาน เรื่องระบบข้อเสนอแนะที่ญี่ปุ่นเรียกกันว่า SUGGEST SYSTEM อีกสิ่งหนึ่งก็คือ 5 ส (สะสาง, สะอาด, สะดวก, สุขลักษณะ และสร้างนิสัย) ซึ่งปัจจัยทั้ง 4 นี้จะทำให้ต้นทุนสินค้าอยู่ในเกณฑ์ต่ำและคุณภาพสินค้าอยู่ในเกณฑ์ดี

นอกจากนี้ถ้าต้องการจะสู่กับคู่แข่งขัน ต้องดำเนินการในเรื่องการวิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์มากขึ้น และยังต้องพัฒนาคน ซึ่งต้องทำต่อเนื่องไปในทุกระดับ วางแผนเรื่องการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพต่าง ๆ มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การปรับสถานการณ์นี้กับเครือซิเมนต์ไทยที่จะปรับลักษณะคงไม่แตกต่างกัน โดยได้เตรียมโครงการใหม่ 2 โครงการ โครงการแรกก็คือโครงการตั้งสถาบันพัฒนาเทคโนโลยี ซึ่งเดิมมีมานานแล้วแต่ต่างคนต่างทำ และก็มีปัญหาเรื่องงบประมาณ เพราะไม่ได้จัดสรรงบประมาณไว้ให้แน่ชัด เพราะฉะนั้นจะเห็นว่าสินค้าใหม่ออกมาน้อย เราก็มาตกลงกันในระดับสูงเมื่อ 4-5 เดือนที่แล้วว่าเราต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยี และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้แน่ชัดก็จะมีคณะกรรมการโดยมีคุณพารณ (อิศรเสนา ณ อยุธยา กรรมการผู้จัดการใหญ่) เป็นประธานผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อาวุโส ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ทั้งหมดก็เป็นเรียกว่า คณะกรรมการพัฒนาเทคโนโลยีของเครือ ทั้งหมดนี้กำลังเตรียมเรื่องอยู่ แต่หลักการต่าง ๆ ได้ตกลงกันไว้แล้ว ซึ่งจะทำโครงการให้เห็นผลเร็วออกมาให้ได้

โครงการที่ 2 ก็คือ นิคมอุตสาหกรรมในเครือซิเมนต์ไทย ซึ่งเราไม่ให้คนอื่นเช่า แต่เราจะทำเอง เพราะนิคมอุตสาหกรรมตอนนี้มีที่ลาดกระบัง นวนคร ซึ่งเป็นแบบราชการ ตอนนี้ BOI ก็กำหนดแบ่งประเภทออกเป็น 3 ส่วนคือ ZONE 1 กรุงเทพมหานคร ที่ส่งเสริมแต่ไม่ให้สิทธิประโยชน์ ZONE 2 รอบ ๆ กรุงเทพฯ ได้สิทธิประโยชน์ก็เฉพาะเรื่องภาษีโรงงาน และ ZONE 3 เจ้าพระยาที่มี 67 จังหวัด เขาต้องการให้อุตสาหกรรมไปอยู่ต่างจังหวัด เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของคนต่างจังหวัด ซึ่งการเติบโตของปูนซิเมนต์ไทยเองในรอบ 5 ปีจะค่อนข้างมาก เพราะหลายผลิตภัณฑ์จะต้องขยาย สุขภัณฑ์ก็ขยาย กระเบื้องปูพื้นก็ขยาย กระเบื้องหลังคาก็ขยาย หลังคาโมเนียก็ขยาย ทุกจุดขยายหมด ถ้าจะรอเข้าไปในนิคมอุตสาหกรรมของรัฐฯ ก็คงจะช้าไป เนื้อที่ก็ไม่พอที่จะอำนวย บางทีคุณต้องการ 200 ไร่มีให้ 80 ไร่ก็ทำไม่ได้เลยมีโครงการจะทำนิคมของเครือเอง เรามุ่งหวัง 2 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรากับอยุธยาก็อยู่ใน ZONE 3 สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ก็ได้ จะทำด้วยเนื้อที่ดิน 1,500-3,000 ไร่ ที่ดินเนื้อที่เดียวกันแล้วเราทำสาธารณูปโภคเองเช่น เรื่องขจัดน้ำเสีย น้ำใช้ ที่ต้องพึ่งรัฐบาลก็คือ ไฟฟ้า โทรคมนาคม ซึ่งคิดว่าเราจะทำได้มีประสิทธิภาพ โดยจะมาชุมนุมโรงงานต่าง ๆ ของเราอยู่ในที่เดียวกันทำให้ง่ายต่อการบริหาร

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us