Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2531








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2531
"ธานินทร์อุตสาหกรรม : ลูกหนี้น่ารัก"             
 


   
search resources

ธานินทร์
Loan
Electric




ในตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กลาดเกลื่อนไปด้วยสินค้าตีตราญี่ปุ่น ธานินทร์นับว่าพอจะเป็นหน้าเป็นตาให้กับอุตสาหกรรมเครื่องไฟฟ้าไทยได้บ้างในฐานะที่เป็นสินค้าเมดอินไทยแลนด์

ปลายปี 2529 ธานินทร์เริ่มส่งเสียงร้องให้รับรู้ว่าตัวเองกำลังมีปัญหาย่ำแย่ซึ่งล้วนแต่มีเหตุมาจากปัจจัยภายนอก เช่น ไม่ได้รับการสนับสนุนจากทางการ การแข่งขันในตลาด และความไม่นิยมไทยของเพื่อนร่วมชาติเป็นอาทิ

"ผู้จัดการ" ได้เสนอมุมมองอีกแง่หนึ่งที่ทำให้เห็นเนื้อแท้ของปัญหาไว้อย่างละเอียดในฉบับประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2530 ไว้แล้ว

ธานินทร์ได้ขอความช่วยเหลือจากธนาคารแห่งประเทศไทยในรูปของเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ 5% จำนวน 420 ล้านบาทและเงินทุนหมุนเวียนอีก 50 ล้านบาท ดอกเบี้ย 7% ต่อปี ในตอนแรกแบงก์ชาติไม่เห็นด้วย โดยอ้างว่าจะช่วยเหลือได้แต่เฉพาะในกรณีที่เกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเงินและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ กรณีของธานินทร์อยู่นอกเหนือจากอำนาจหน้าที่

ขณะเดียวกันทางเจ้าหนี้ที่มีธนาคารไทยพาณิชย์ กสิกรไทย และแหลมทองเป็นกลุ่มเจ้าหนี้รายใหญ่ก็ได้ร่วมกันหาทางแก้ไขปัญหาซึ่งมีข้อสรุปว่า ธานินทร์ต้องทำการเพิ่มทุนซึ่งมีอยู่เดิม 50 ล้านบาทเป็น 150 ล้านบาท โดยการแปลงหนี้ของเจ้าหนี้ที่เป็นบุคคลใกล้ชิดกับธานินทร์เป็นทุน และขายทรัพย์สินที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและไม่ทำให้เกิดรายได้ซึ่งเป็นที่ดินมูลค่าประมาณ 100 ล้านบาท เพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่ 620 ล้านบาทให้ลดน้อยลง สองข้อนี้ไม่มีปัญหาอะไร ธานินทร์นั้นเป็นลูกหนี้ที่ว่านอนสอนง่าย เมื่อเจ้าหนี้เอ่ยปากก็ยอมทำตาม

ข้อเสนอจากกลุ่มเจาหนี้ยังมีอีกว่าเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ จะช่วยธานินทร์ได้มากในการลดภาระหนี้สิน ที่โรงสี โรงน้ำตาล แบงก์ชาติยังช่วยได้ ทำไมกับเงินไม่ถึง 500 ล้านบาทกับอุตสาหกรรมของคนไทยที่สร้างงานให้คนกว่า 2,000 คน แบงก์ชาติจะดูดายได้ลงคอเชียวหรือ?

ปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2530 แบงก์ชาติยอมปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้ 100 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน เป็นการช่วยเหลือตามระเบียบอุตสาหกรรมที่แบงก์ชาติสามารถทำได้ สำหรับซอฟต์โลนอีก 400 ล้านบาทนั้นผิดระเบียบไม่สามารถให้ได้ แค่นี้ธานินทร์ก็เริ่มยิ้มออก เจ้าหนี้ก็ยิ้มตามไปด้วย

เดือนเมษายน 2530 กลุ่มเจ้าหนี้ได้มีการประชุมเพื่อทำสัญญาเฉพาะกาลขึ้นมาฉบับหนึ่ง มีอายุ 6 เดือน ใน 6 เดือนนี้เจ้าหนี้จะรอดูผลการดำเนินงานของธานินทร์ โดยจะไม่มีการฟ้องร้องในช่วงนี้ และธานินทร์ต้องปรับปรุงการบริหารสินค้าคงคลังให้มีจำนวนลดน้อยลง ให้ติดตามหนี้สินของบริษัท และขายทรัพย์สินบางส่วนออกไป

ล่าสุดก่อนสิ้นปี 30 เจ้าหนี้ทั้งหลายก็คงจะใจชื้น เมื่อธานินทร์ทยอยชำระหนี้สินจนเหลือ 350 ล้านบาท ด้วยเงินที่ได้จากยอดขายที่เพิ่มขึ้นประมาณ 50 ล้านบาทต่อเดือน และจากการขายทรัพย์สิน กลุ่มเจ้าหนี้จะให้เงินทุนหมุนเวียนกิจการอีก 10 ล้านบาท และกำลังหามืออาชีพเข้าไปเป็นผู้จัดการแทนอุดม วิทยสิรินันท์ ซึ่งควบทั้งตำแหน่งประธานกรรมการบริษัทและกรรมการผู้จัดการก็จะเป็นประธานเพียงตำแหน่งเดียว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us