Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2531








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2531
"ไทยเสรีห้องเย็น แพปลาที่เคว้งกลางทะเล"             
 


   
search resources

ไทยเสรีกรุ๊ป
ไพโรจน์ ไชยพร
Import-Export




กลุ่มไทยเสรีเป็นกลุ่มธุรกิจส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งที่ใหญ่ที่สุดของไทย มีกิจการครบวงจรรวมทั้งสาขาในหลาย ๆ ประเทศ มีอายุยาวนานเกือบ 50 ปี ภายใต้การบริหารงานของสองพี่น้อง ไพโรจน์ ไชยพร และพี่สาวไพเราะ พูลเกษ สืบทอดกิจการที่พ่อค้าปลาผู้พ่อได้วางรากฐานไว้

ถ้าเปรียบเทียบไทยเสรีเป็นเหมือนเรือ ก็เป็นเรือลำใหญ่ที่ลอยลำอย่างสง่างามในท้องทะเลมานานวัน แต่มาวันนี้เรือลำเดิมนี้ทำท่าว่าจะอัปปางลงเพราะกัปตันกระโดดไปลงเรือลำอื่น ปล่อยให้เรือโต้คลื่นลมไปตามยถากรรม

ไทยเสรีเริ่มประสบปัญหาเมื่อไพโรจน์ผละออกจากกิจการไปทุ่มเทให้กับการเมืองเพียงอย่างเดียว ปล่อยให้พี่สาวบริหารงานแต่เพียงลำพัง ซึ่งเป็นภาระหน้าที่หนักเกินกว่าจะแบกไว้ได้ ตั้งแต่ปี 2526 ยอดขายเริ่มลดลงอย่างฮวบฮาบ ประมาณ 20-50% และลดลงเรื่อย ๆ ในปีถัดมา สวนทางกับภาระหนี้สินและการขาดทุนของบริษัท จนถึง 9 เดือนแรกของปี 2529 ยอดขาดทุนสะสมมีจำนวน 840 ล้านบาท ยอดหนี้เท่ากับ 1,800 ล้านบาท

การขยายกิจการในเครือออกไปอย่างรวดเร็ว และการเล่นการเมืองทำให้ไพโรจน์มีความจำเป็นต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก ในขณะที่บรรดาเจ้าหนี้แหล่งเงินไม่สามารถตอบสนองได้อย่างเต็มที่ จึงต้องหาทางยักย้ายถ่ายเทด้วยการให้สาขาเมืองนอกเปิดแอล/ซีสั่งสินค้าเกินกว่าออเดอร์ที่เป็นจริง

ความมาแตกเอาเมื่อต้นปี 2529 ทำให้ธนาคารเจ้าหนี้ทุกแห่งพร้อมในกันไม่ให้เครดิต

ตอนนั้นไพโรจน์ยังเป็นรัฐมนตรีอยู่ พอมีการยุบสภาพในตอนกลางปีก็ต้องยุ่งอยู่กับการเลือกตั้ง ไพเราะผู้พี่สาวก็มีปัญหาด้านสุขภาพ ไทยเสรีจึงถูกปล่อยไปตามยถากรรม จนการเลือกตั้งผ่านพ้นไปโดยที่ไพโรจน์ได้เป็น ส.ส. อีกสมัยแต่ไม่ได้เป็นรัฐมนตรี จึงมีเวลาหวนกลับมาดูแลกิจการ

เจ้าหนี้รายใหญ่ ๆ ของไทยเสรีประกอบด้วย ธนาคารกรุงเทพ ทหารไทย ไทยพาณิชย์ นครหลวงไทย และอีกหลาย ๆ แห่งรวมทั้งบริษัทเงินทุนด้วย ธนาคารกรุงเทพเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุด ยอดหนี้บวกดอกเบี้ยเกือบ 700 ล้านบาท ที่สำคัญทุกบาททุกสตางค์ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน นอกจากการค้ำประกันโดยไพโรจน์และไพเราะ ธนาคารกรุงเทพจึงต้องเดือดเนื้อร้อนใจมากที่สุดและต้องออกมาเคลื่อนไหวมากที่สุด

เดือนสิงหาคม 2529 ธนาคารกรุงเทพขู่จะฟ้อง ทำให้ไพโรจน์ต้องวิ่งเข้าเจรจากับแบงก์กรุงเทพ แต่แล้วก็ต้องพบกับข้อเสนอที่รับไม่ได้เพราะทางแบงก์กรุงเทพต้องการเข้าไปถือหุ้น 80% ในไทยเสรี โดยแปรสภาพหนี้เป็นหุ้น ไพโรจน์มองว่านี่เป็นการฮุบกิจการชัด ๆ

ไพโรจน์ได้จ้าง บริษัท BUSINESS ADVISORY THAILAND โดยไมเคิล เซลบี้ ทำแผนการชำระหนี้เสนอเจ้าหนี้ แต่เจ้าหนี้ไม่เห็นด้วย แผนจึงตกไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2529 ธนาคารกรุงเทพประกาศอีกครั้งหนึ่งว่าจะฟ้องภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2530 ถ้าไทยเสรีไม่ทำการแก้ไขปัญหาให้เรียบร้อย

ต้นปี 2530 บริษัท อะควาโกลด์ อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนของผู้นำเข้าสินค้าทะเลของไทยจาก สหรัฐฯ ญี่ปุ่นและแคนาดา ได้เสนอตัวเข้าลงทุนในบริษัทไทยเสรีอาหารสากล ซึ่งเป็นบริษัทหนึ่งในเครือไทยเสรี ฝ่ายเจ้าหนี้รวมทั้งธนาคารกรุงเทพเห็นด้วย ไพโรจน์เองก็ยอมรับในหลักการเบื้องต้นหลังจากใช้เวลาตัดสินใจอยู่พักใหญ่ เมื่อต้นเดือนเมษายน

ตามข้อตกลง อะควาโกลด์ จะเข้ามาถือหุ้น 40% กลุ่มไทยเสรี 49% อีก 11% เป็นของเจ้าหนี้ เจ้าหนี้ที่ไม่มีหลักทรัพย์จะได้หุ้นของบริษัทเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันจะได้รับชำระหนี้ก่อน ส่วนเจ้าหนี้ที่ไม่มีหลักทรัพย์จะได้รับชำระหนี้เป็นเงินปันผล 60%

ดูเหมือนปัญหาจะคลี่คลายไปได้เปลาะหนึ่ง

แต่แล้วทุนคนก็ต้องเกิดอาการสะดุดเมื่อเจอลูกเบรคของบิ๊กบอสแห่งค่ายบัวหลวง

ชาตรี โสภณพนิช อ้างว่าตัวเองไม่รู้เรื่องแผนการนี้เลย และไม่เห็นด้วยในเรื่องที่จะให้ตระกูลไชยพรถือหุ้นถึง 49% แต่ต้องหารให้เหลือเพียง 20% เท่านั้น เลยมีการตั้งข้อสังเกตว่า ชาตรีต้องการไทยเสรีมาไว้ในมือหรือเปล่า เพราะมีข่าวว่า กลุ่มมิตซุยจากญี่ปุ่นจะร่วมกับสว่าง เลาหทัยลงทุนเพาะพันธุ์กุ้งและเลี้ยงกุ้ง และมีแผนต่อเนื่องไปถึงกิจการห้องเย็นด้วย และชาตรีกับสว่างก็ไม่ใช่คนอื่นคนไกล

ก็เป็นอันว่าทุกอย่างกลับไปสู่จุดเริ่มต้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง หลังจากนั้นข่าวคราวของไทยเสรีก็เงียบหายไป จนเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน 2530 ธนาคารกรุงเทพก็เดินหน้าอีกครั้งด้วยการยื่นฟ้อง 8 บริษัทในเครือไทยเสรีที่เป็นหนี้แบงก์อยู่ 11 ล้านบาท ทางธนาคารเองออกข่าวมาว่าไม่หวังว่าจะได้อะไรสักเท่าไร เพราะเป็นหนี้ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ก็เลยมองกันว่าการฟ้องในครั้งนี้เป็นการบีบให้ไพโรจน์มาเจรจากับธนาคารมากกว่าที่หวังจะได้เงิน ฟ้องไปแล้วก็ไม่ได้อะไรมาก

เรือลำนี้ก็เลยต้องโต้คลื่นต่อไป ถึงแม้กัปตันจะกลับมาแล้ว แต่น้ำทะเลก็ทะลักเข้าไปค่อนลำเรือแล้ว จะล่มหรือไม่ก็ต้องดูกันต่อไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us