Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์9 กุมภาพันธ์ 2552
แบงก์กรุงศรีฯไม่สิ้นหวัง ขยายธุรกิจฝ่ามรสุมเศรษฐกิจ             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

   
search resources

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
Banking and Finance
ตัน คอง คูน




ภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เอื้อต่อการขยายธุรกิจนั้นไม่ได้กดดันแบงก์กรุงศรีฯหยุดการขยายธุรกิจ ยังคงรุกทั้งตลาดแบงแอสชัวรันส์ โดยเฉพาะการบุกเข้าตลาดลูกค้ารายย่อยมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงเรื่องธุรกรรมการเงิน แต่ทั้งหมดไม่ได้หมายความว่าแบงก์แห่งนี้จะเดินเครื่องลุยแหลกสวนทางภาคธุรกิจการเงินที่ขยายตัวอย่างระมัดระวัง เพราะในท้ายแล้วการโตอย่างมั่นคงยังเป็นเรื่องที่แบงก์กรุงศรีให้ความใส่ใจ

ตัน คอง คูน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ยังคงแสดงท่าทีเชื่อมันว่าการขยายธุรกิจของธนาคารในปี 2552 ยังดำเนินต่อไปได้แม้จะมีอุปสรรคจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวก็ตามที แต่เนื่องจากธนาคารยังเห็นช่องทางที่จะทำให้ธุรกิจขยายตัวต่อเนื่องได้ เช่น การปล่อยสินเชื่อกับลกค้ารายย่อยเพิ่มขึ้น การขยายตลาดแบงแอสชัวรันส์ รวมถึงการเข้าซื้อกิจการ ซึ่งตรงจุดนี้จะเป็นกิจการที่ประกอบธุรกิจการเงินเพื่อรายย่อย

การประกาศตัวของธนาคารกรุงศรีฯที่จะเข้าซื้อกิจการที่ประกอบธุรกิจการเงินนั้น เพราะ ตัน บอกว่า ต้องการจะขยายตลาดให้เติบโตเร็วขึ้นโดยเฉพาะในส่วนของธุรกิจรายย่อยที่วาดหวังว่าจะต้องโตเป็นสองเท่าของธุรกิจลูกค้ารายใหญ่และเอสเอ็มอี ดังนั้นกิจการที่ธนาคารกรุงศรีให้ความสนใจเข้าซื้อจะต้องเป็นธุรกิจการเงินเพื่อรายย่อย เช่น สินเชื่อบ้าน สินเชื่อบุคคล และบัตรเครดิตซึ่งธนาคารมีแผนจะออกหุ้นกู้วงเงินไม่เกิน 1 หมื่นล้านบาทภายในปีนี้ เพื่อรองรับการซื้อกิจการดังกล่าว

การมองหากิจการที่เอื้อต่อการขยายตัวของธนาคารกรุงศรีฯ มาจากแผนที่ธนาคารวางไว้คือปี 2552 จะเน้นขยายตลาดลูกค้ารายย่อยมากขึ้น โดยตันให้ความเห็นว่า ลูกค้ายย่อยสามารถสร้างรายได้มากกว่าลูกค้ารายใหญ่ เนื่องจากลูกค้ารายใหญ่มีอำนาจในการต่อรองสูงอำนาจดังกล่าวย่อมส่งผลต่อรายได้ของธนาคารได้เช่นกัน ดังนั้นการขยายฐานออกไปจับรายย่อยเพิ่มขึ้นจะทำให้ฐานที่มาของรายได้ธนาคารกว้างขึ้น

แม้ปัจจัยเสี่ยงรายย่อยจะมีสูงก็ตาม แต่ในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวเช่นนี้ สำหรับการประเมินความเสี่ยงแล้วลูกค้ารายใหญ่ในบางธูรกิจก็มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน โดย ตันบอกว่า การเข้ามาจับฐานรายย่อยเพิ่มขึ้นนั้นช่วยกระจ่ายความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจได้ค่อนข้างมากซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญในสถานการณ์ปัจจุบัน

ตัน บอกว่า ใมนปี 2552 ธนาคารตั้งเป้าขยายสินเชื่อเพิ่มขึ้น 35,000 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโต 6% จากฐานสินเชื่อ โดยแบ่งเป็นเป้าหมายขยายสินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดใหญ่เติบโตสุทธิประมาณ 9,000 ล้านบาท สินเชื่อเพื่อธุรกิจเอสเอ็มอี เติบโตสุทธิประมาณ 11,000 ล้านบาท และสินเชื่อเพื่อลูกค้ารายย่อยเติบโตสุทธิประมาณ 15,000 ล้านบาท

ย้อนกลับไปดูผลการดำเนอนงานของธนาคารในปี 2551 ตัน บอกว่าพอใจกับผลการดำเนินงานภายหลังเข้าซื้อกิจการ จีอี แคปปิตอล ออโต้ ลีส ซึ่งสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับธนาคาร ในขณะที่การขยายสินเชื่ออยูที่ 44,000 ล้านบาท

โดยผลการดำเนินงานในปี 2551 ธนาคารและบริษัทในเครือมีกำไรก่อนสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญและภาษีจำนวน 11,510 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 35% เมื่อเทียบกับปี 50 และหลังตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ

จำนวน 6,060ล้านบาท และภาษีจำนวน 560 ล้านบาท ธนาคารมีกำไรสุทธิ 4,890ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีก่อนที่ขาดทุนสุทธิ 3,990 ล้านบาท อันเป็นผลมาจากการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญและภาษีตามเกณฑ์ IAS 39

สำหรับสินทรัพย์รวม ณวันที่ 31 ธันวาคม 2551 อยู่ที่ 745,300 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 92,900 ล้านบาท หรือ 14% เมื่อเทียบกับเมื่อสิ้นปี 2550 เงินให้สินเชื่อ 557,100 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 106,700 ล้านบาท หรือ 24% และเงินฝากอยูที่ 537,400 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 37,700 ล้านบาท คิดเป็น8% เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง(BIS Ratio) ที่ระดับ 15.6% โดยเป็นเงินกองทุนขั้นที่ 1(tier 1)12.8%   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us