Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์2 กุมภาพันธ์ 2552
วิกฤตอุตฯเหล็กหนักกว่าปี’40 ‘รัฐ-เอกชน’ย้ำต้องเดินหน้าเหล็กต้นน้ำในไทย.!             
 


   
search resources

Metal and Steel




อุตฯเหล็กปักหัวต่อเนื่องจากปลายปี ทั้งออเดอร์นอกลด-แรงซื้อภายในหด ผู้ประกอบการเข้าเนื้อสต๊อกสินค้าขายไม่ออก ประธานกลุ่มเหล็กย้ำวิกฤตครั้งนี้ร้ายแรงกว่าปี’40 ขณะที่ “ภาครัฐ-เอกชน”หวังเห็น “โครงการเหล็กต้นนำ” เกิดขึ้นจริง ด้าน ก.อุตฯเตรียมชงครม.อนุมัติแผนเดินหน้าโครงการ ขณะที่ “ผอ.สถาบันเหล็กฯ”ย้ำไทยต้องมีโครงการเหล็กต้นน้ำเพื่อลดต้นทุนอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับเหล็กทั้งระบบ.!

ดูเหมือนว่าทิศทางอุตสาหกรรมเหล็กจะดิ่งหัวลงเรื่อยๆนับตั้งแต่ปลายปีที่แล้วเพราะทั้งปัจจัยภายในและภายนอกของอุตสาหกรรมเหล็กในขณะนี้ร้ายแรงกว่าวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ขณะที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งภาคอสังหาริมทรัพย์ การก่อสร้างและโครงการเมกะโปรเจกต์ จะมีผลต่ออุตสาหกรรมเหล็กอย่างไร

ปัจจุบันอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำที่ดูเหมือนว่ายังไม่เกิดในบ้านเราขณะที่“เครือสหวิริยาฯ”ที่ลงทุนไปแล้วก็ต้องหยุดโครงการชั่วคราว เพื่อรอดูความชัดเจนจากทางภาครัฐก่อน ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมหวังว่าจะผลักดันให้เป็นหนึ่งใน “วาระแห่งชาติ” เนื่องจากประเทศต่างๆ ที่มีอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจล้วนมีเหล็กต้นน้ำรองรับการลงทุน อาทิ จีน ญี่ปุ่น อินเดีย เกาหลี ล่าสุดเวียดนามไปประกาศพัฒนาเหล็กต้นน้ำเช่นกัน หากไทยตัดสินใจล่าช้าจะทำให้โอกาสการย้ายฐานการผลิตไปประเทศเพื่อนบ้านมีมากขึ้นในอนาคต

เหล็กฯดิ่งหัวต่อเนื่อง

“พยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล” ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวถึงสถานการณ์เหล็กตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศกับ“ผู้จัดการ 360 องศารายสัปดาห์”ว่าขณะนี้สถานการณ์การค้าเหล็กภายในประเทศถือว่าแย่มากเพราะกำลังซื้อในประเทศไม่มี ความต้องการซื้อทั้งจากภาคอสังหาริมทรัพย์ ก่อสร้าง การก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่หรือขยายเพิ่มเติมก็ไม่มี ทำให้ผู้ประกอบการเหล็กตอนนี้ถือว่าลำบากมาก

นอกจากนี้ในช่วงที่ผ่านมากำลังซื้อที่ลดลงทำให้มีปริมาณสินค้าคงคลังในสต็อกเพิ่มสูงขึ้นถึง 2 ล้านตันซึ่งผู้ประกอบการบางรายได้หยุดการผลิตชั่วคราวหรือบางรายได้ลดกำลังการผลิตลงเหลือ 30-40% เพื่อรักษาสินค้าคงคลังไม่ให้มีมากเกินไป

“จากเดิมที่รับสินค้ามาขาย 1-2 เดือนก็ขายหมดแต่ตอนกลับกลายเป็นว่าต้องรอถึง 4-5เดือนกว่าจะระบายสินค้าได้หมดสภาพคล่องในธุรกิจจึงไม่มี”

ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กยังระบุอีกว่า ทั้งเหล็กแผ่น และเหล็กเส้นต่างได้รับผลกระทบเหมือนกันหมดมียอดขายลดลงกว่า 25-30% ทำให้คาดว่าปีนี้กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กจะมีอัตราการขยายตัวที่ลดลงกว่า 15-20 % จากปีที่แล้ว

ช้ำหนัก!วิกฤตกว่าปี’40

ขณะที่การส่งออกไปยังต่างประเทศถือว่าวิกฤตหนักที่สุดเพราะในช่วงปี2540 แม้จะมีวิกฤติเศรษฐกิจแต่อุตสาหกรรมเหล็กยังส่งออกไปได้ แต่ปีนี้ปัจจัยภายนอกแรงมากทำให้เชื่อว่ายอดขายของกลุ่มประเทศส่งออกหลักอย่าง ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และ ยุโรป ที่มียอดการส่งออกรวมกันว่า 40% จะลดลงไปอย่างมากขณะที่กว่าอีก 60% ในกลุ่มตลาดอาเซียนยังถือว่าทรงตัว

“ปีนี้อุตฯเหล็กได้รับผลกระทบจากวิกฤตมากที่สุดมากกว่าปี 2540 ด้วยซ้ำ เพราะปี 2540 กลุ่มอุตฯเหล็กยังส่งออกได้แต่ปีนี้หนักกว่าเพราะทั้งภายในและนอกประเทศไม่มีกำลังซื้อเลย” พยุงศักดิ์ อธิบาย

ดังนั้นในไตรมาสแรกของปีนี้ผู้ผลิตเหล็กยังไม่รู้ว่าจะวางแผนอย่างไร เพราะต้องดูทิศทางภาวะเศรษฐกิจของไทยและของโลกก่อน หลังจากภาครัฐมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมา อาทิ อสังหาริมทรัพย์ การก่อสร้าง และนโยบายเมกกะโปรเจกต์ในระยะสั้นจะยังไม่มีผลบวกต่อกิจการเหล็กในประเทศเพียงแต่จะช่วยให้อสังหาริมทรัพย์ที่เคยขายไม่ได้ กลับมาค้าขายได้อีกครั้ง

หวั่นนักลงทุนเบนเข็มไป ‘เวียดนาม’

อย่างไรก็ตามหากรัฐบาลมีความต้องการผลักดันอุตสาหกรรมเหล็กเป็น “วาระแห่งชาติ”ตามข้อเสนอของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) 4 แห่ง คือ จังหวัดชุมพร บริเวณ อ.ปะทิว และ จังหวัดนครศรีธรรมราช 2 แห่งคือ อ.สิชล ,อ.ขนอม สุราษฎร์ธานี ที่ อ.ดอนสัก จ.ประจวบคีรีขันธ์ ที่ อ.กุยบุรี นั้น เขาเชื่อว่าจะช่วยเรื่องการลงทุนจากนักลงทุนต่างประเทศที่สนใจลงทุนในโครงการเหล็กต้นน้ำ และช่วยให้เม็ดเงินในระบบมีมากขึ้นเพราะการสร้างโรงงานเหล็กแต่ละแห่งต้องลงทุนอย่างน้อย 1 แสนล้านบาท ขณะเดียวกันยังฟื้นความเชื่อมั่นในสายตาต่างประเทศทำให้นักลงทุนกลุ่มอื่นที่สนใจก็พร้อมจะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย และหากสร้างโรงงานเหล็กต้นน้ำได้จะทำให้ราคาเหล็กในประเทศไม่ผันผวน ทั้งลดการนำเข้าเหล็กของไทยได้

ทว่าหากรัฐบาลยังไม่มีความชัดเจนในการขับเคลื่อนโครงการเหล็กต้นน้ำจะทำให้นักลงทุนต่างประเทศที่สนใจเข้ามาลงทุน อย่างญี่ปุ่น เปลี่ยนการตัดสินใจหันไปเลือกลงทุนในเวียดนามแทนได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลต้องรีบตัดสินใจ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน

“ปีที่แล้วไทยนำเข้าเหล็กด้วยมูลค่ากว่า 6 แสนล้านบาทหรือประมาณ 13ล้านตันหากไทยยังไม่มีอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำไทยจะสูญเสียโอกาสสำคัญที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กและอุตสาหกรรมต่อเนื่องในประเทศก็ได้” ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กกล่าว

รัฐ-เอกชนเดินหน้า ‘เหล็กต้นน้ำ’

อย่างไรก็ดีการหยุดชะลอโครงการเหล็กต้นนำของเครือสหวิริยาฯอาจจะทำให้นักลงทุนต่างประเทศชะลอการลงทุนและรอความชัดเจนจากภาครัฐไปอีกสักระยะ ล่าสุดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ตั้งคณะทำงาน 3 ชุด เพื่อศึกษาแนวทางการจัดตั้งอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งช่วยยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน และเศรษฐกิจท้องถิ่นให้ดีขึ้น โดยคณะทำงานแต่ละชุด มีรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธานและผู้บริหารสูงสุดของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเป็นผู้แทน มีสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทยเป็นเลขานุการ บทบาทคณะทำงานแต่ละชุดจะสนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยมีจุดหมายเพื่อให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำในประเทศไทย โดยชุมชนให้การยอมรับ

รายงานข่าวจากระทรวงอุตสาหกรรมแจ้งว่า กระทรวงอุตสาหกรรมจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เศรษฐกิจอนุมัติแผนสนับสนุนโครงการลงทุนพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ(โรงถลุงเหล็ก) ในไทยโดยจะนำเสนอว่าผลการศึกษาของสศช.ที่สรุปพื้นที่ที่เหมาะสมในการลงทุน รวมทั้งจะขอให้ ครม.เศรษฐกิจแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหญ่ขึ้นมาผลักดันเรื่องนี้ โดยเบื้องต้นมีนักลงทุนจากต่างประเทศแสดงความต้องการเข้ามาลงทุน รวม 4 ราย อาทิ บริษัท นิปปอนสตีล และ บริษัท เจอเอฟอีสตีล จำกัด จากญี่ปุ่น เป็นต้น

นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมก็จะนำข้อมูลไปโรดโชว์ร่วมกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีที่จะไปโรดโชว์ดึงการลงทุนที่ญี่ปุ่นในเดือน ก.พ.

ไทยต้องมี “เหล็กต้นน้ำ”

ในเรื่องดังกล่าว“วิกรม วัชระคุปต์” ผู้อำนวยการสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทยอธิบายถึงการเดินหน้าโครงการว่า เพื่อให้โครงการเหล็กต้นน้ำในประเทศสามารถเดินหน้าไปได้อย่างรวดเร็ว สถาบันเหล็กฯจะเข้าไปหารือกับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(BOI) ว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดที่จะเลือกตัวนักลงทุนที่จะได้รับการส่งเสริมการลงโครงการเหล็กต้นน้ำเอาไว้ก่อน ในระหว่างที่สถาบันเหล็กฯ เดินหน้าศึกษาผลกระทบด้านต่างๆ เพราะปี 2552 เป็นในช่วงที่เศรษฐกิจถดถอย ดังนั้นจึงเป็นช่วงเหมาะสมที่จะศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับโครงการลงทุนเหล็กต้นน้ำ ซึ่งหากมีการก่อสร้างก็จะต้องใช้เวลาก่อสร้าง 3- 4 ปี

นอกจากนี้สถาบันเหล็กฯ ได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทำการศึกษาและจะดำเนินการศึกษาในพื้นที่มีการศึกษาอยู่เดิมของสศช.เพิ่มเติมถึงผลผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมหากจะมีโครงการลงทุนเหล็กต้นน้ำเกิดขึ้น จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร ทั้งผลกระทบทางทะเล และบนชายฝั่ง รวมถึงผลกระทบทางสังคม สุขอนามัย ซึ่งต้องใช้เวลาศึกษานานกว่า 1 ปี

“หากมีโรงงานผลิตเหล็กต้นน้ำจะลดต้นทุน 30-40 ดอลลาร์/ตัน และไทยเป็นประเทศเดียวในโลกที่ใช้เหล็กเป็นจำนวนมากแต่ไม่มีเหล็กต้นน้ำเป็นของตนเอง”

อย่างไรก็ดีไทยต้องนำเข้าเหล็กปีละ 6 แสนล้านบาทจึงเป็นตลาดสำคัญที่ผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ของโลกต่างสนใจที่จะเข้ามาปักฐานลงทุน เพื่อฉกฉวยโอกาส แม้เศรษฐกิจไทยจะชะลอตัวลง ซึ่งเชื่อว่าหากการเมืองไทยนิ่งกว่านี้ โอกาสที่ญี่ปุ่นจะย้ายฐานมาไทยจะเพิ่มขึ้น หากภาคเอกชนอาศัยจังหวะภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยในการเข้ามาลงทุนโครงการขนาดใหญ่ย่อมได้ประโยชน์ เนื่องจากค่าก่อสร้าง และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ปรับลดลงอย่างมาก และกว่าโครงการจะแล้วเสร็จก็ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี พอถึงจังหวะนั้นเชื่อว่าเศรษฐกิจน่าจะดีขึ้น

ดังนั้นต้องติดตามอย่างใกล้ชิดว่าโครงการเหล็กต้นนำในประเทศไทยจะเกิดได้จริงหรือไม่ เพราะหากชุมชนใกล้เคียงไม่ยอมรับการจัดทำผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ก็ไช่ว่าจะผ่านง่ายๆซึ่งผู้ประกอบการและชุมชนต้องยอมรับข้อเสนอซึ่งกันและกัน เพื่อให้โครงการลงทุนกว่า 1 แสนล้านได้ประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่ายบนสมการวิน-วินทั้งคู่   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us