Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน4 กุมภาพันธ์ 2552
ธอส.งัดแผนฉุกเฉินสกัดNPL นักวิชาการจี้แบงก์ใช้ระบบเช่าซื้อแทนค่างวด             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารอาคารสงเคราะห์

   
search resources

ธนาคารอาคารสงเคราะห์
ขรรค์ ประจวบเหมาะ
Loan




"ขรรค์ ประจวบเหมาะ"บิ๊กธอส.ใช้แผนฉุกเฉินสกัดเอ็นพีแอลพุ่ง สั่งจับตาลูกหนี้ผิดนัดชำระนาน 60 วันเป็นพิเศษ หวั่นไหลเป็นหนี้เสีย คาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยปล่อยใหม่ในระบบปีนี้เหลือแค่ 2 แสนล้าน เอกชนเตือนรัฐเร่งฉีดน้ำดับควันไฟ ระวังเกิดไฟไหม้ขึ้นจะไม่มีน้ำดับ กูรูอสังหาฯแนะรัฐเร่งแก้ปัญหาNPL ออกมาตรการกระตุ้นต่อเนื่องหลายระลอก ครอบคลุมประชาชนระดับล่าง จี้แบงก์พักชำระหนี้ ปรับระบบบัญชีเป็นเช่า 1-2 ปีแทนผ่อนจ่าย นายกส.อสังหาฯ ชี้กลางปีเห็นจัดสรรปิดโครงการเพียบ

วานนี้(3ก.พ.) ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ได้จัดเสวนาภายใต้หัวข้อ " ผ่าอสังหาริมทรัพย์ปี 2552 กรุงเทพฯ-ปริมณฑล/อยุธยา " ซึ่งมีผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ บริษัทอสังหาริมทรัพย์ นักวิชาการ เข้าร่วมเสวนา

โดยนายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ซึ่งเป็นธนาคารชั้นนำด้านสินเชื่อที่อยู่อาศัยในระบบ กล่าวยอมรับว่า ขณะนี้ได้สั่งจับตาลูกค้ากลุ่มผิดนิดชำระหนี้ล่าช้ามากเป็นพิเศษ โดยให้เจ้าหน้าที่เร่งติดตามหนี้หรือให้คำแนะนำแก่ลูกค้า เพื่อให้กลุ่มที่เข้าข่ายเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) เร่งชำระหนี้ ซึ่งปัจจุบันธนาคารได้แบ่งกลุ่มลูกหนี้ออกเป็น 4 ประเภท คือ 1. PL หรือกลุ่มลูกค้าปกติ 2. กลุ่มชำระล่าช้าตั้งแต่ 0-30 วัน 3.กลุ่มชำระล่าช้า 31-60 วัน และ4. กลุ่มชำระล่าช้า 61-90 วัน โดยเฉพาะกลุ่มหลังนี้ ธนาคารจะดูแลเป็นพิเศษ เพราะหากชำระล่าช้าเกิน 90 วันจะกลายเป็นเอ็นพีแอลทันที

นอกจากนี้ ธนาคารเตรียมออกมาตรการรับมือลูกค้ากลุ่มสวัสดิการที่รายได้ลดลง รวมไปกลุ่มที่ถูกเลิกจ้าง โดยจะเสนอเข้าให้คณะกรรมการ(บอร์ด)ธอส.พิจารณาอนุมัติในเร็วๆ นี้ เช่น ผ่อนปรนค่างวด รวมทั้งพักจ่ายดอกเบี้ย 1 ปีสำหรับคนที่ตกงาน โดยจะพิจารณาให้เป็นกรณีๆไป ซึ่งวิธีการ ธนาคารจะพยายามเข้าไปเจรจากับลูกค้าให้มาชำระหนี้ให้เร็วที่สุด เพื่อรักษาสถานภาพทางบัญชีไม่ให้เป็นหนี้เสีย แต่ในรายที่ผิดนัดชำระหนี้เกิน 90 วันไปแล้วก็ต้องมาปรับโครงสร้างหนี้กันใหม่

ปัจจุบัน ธอส.มีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล)อยู่ที่ระดับ 80,000 ล้านบาท คิดเป็น 13 % ของสินเชื่อรวม ในจำนวนนี้เพิ่มขึ้นเนื่องจากตามเกณฑ์ของธนาคารฯได้รวมหนี้ส่วนขาดจำนวน 20,000 ล้านบาทเข้าไปรวมด้วย ซึ่งต่างจากธนาคารพาณิชย์ทั่วไปที่ตัดเป็นหนี้สูญทันที ซึ่งหากธนาคารไม่นำหนี้ส่วนขาดมารวม จะทำให้เอ็นพีแอลเหลือเพียง 10% ของสินเชื่อรวม

คาดสินเชื่อบ้านหดเหลือ2แสนล.

นายขรรค์ กล่าวว่า ทิศทางสินเชื่อที่อยู่อาศัยในปี 2552 คาดว่าสินเชื่อโดยรวมจะชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยมาอยู่ที่ระดับ 2 แสนล้านบาท ลดลงจากปีที่ผ่านมาที่อยู่ที่ระดับ 2.5-2.6 แสนล้านบาท ต่ำกว่าปี 2550 ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยปล่อยใหม่ทั้งระบบอยู่ที่ 2.7 แสนล้านบาท โดยปัจจัยบวกที่น่าจะส่งผลต่อตลาดรวมในปีนี้ ยังมาจากมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ของภาครัฐ รวมไปถึงอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในทิศทางขาลง ทั้งนี้ หากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก ธนาคารก็พร้อมที่จะลดดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อบ้าน เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงแหล่งเงินมากที่สุด เพราะธนาคารยังมีสภาพคล่องที่พร้อมปล่อยกู้สูงถึง 70,000 ล้านบาท

ผวาเศรษฐกิจไทยเจอควันไฟสุ่ม

ด้านนางลดาวัลย์ ธนะธนิต อดีตผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพฯ กล่าวว่า ในขณะนี้สัญญาณเชิงบวกในภาคการลงทุนเริ่มกลับมาแล้ว ซึ่งพิจารณาได้จากการมีนักลงทุนในภาคอุตสาหกรรมจากต่างชาติกลับเข้ามาลงทุนในไทย โดยเลือกให้ไทยเป็นประเทศที่น่าลงทุนในอันดับต้นๆ ของเอเชียมากว่าประเทศจีน

สำหรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลใส่เม็ดเงินจำนวนมากเข้าไปสู่ระบบนั้น เชื่อว่าจะทำให้เศรษฐกิจไทยขับเคลื่อนไปได้ ซึ่งจะทำสภาพคล่องในระบบกลับเข้ามา

แหล่งข่าวระดับสูงจากวงการอสังหาฯ ยอมรับว่า ภาวะเศรษฐกิจของไทยขณะนี้ เปรียบเหมือนได้กลิ่นควันไฟแต่ยังไม่มีประกายไฟเกิดขึ้น ขณะที่รัฐบาลก็เร่งฉีดน้ำเข้าใส่ เพื่อหวังดับปัญหา ซึ่งก็ไม่รู้ว่าถึงเวลาไฟลุกไหม้ขึ้นมาจริงๆรัฐบาลจะยังมีน้ำเพียงพอที่จะดับไฟได้หรือไม่

"กูรู"แนะรัฐรับมือเลิกจ้างพุ่ง-NPLเพิ่ม

รศ.มานพ พงศทัต อาจารย์ประจำภาควิชาเคหการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า วิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ แม้ว่าจะไม่รุนแรงเท่ากับวิกฤตเศรษฐกิจปี2540 เนื่องจากมี 4 องค์ประกอบหลัก คือ รัฐบาลมีการออกมาตรการกระตุ้นอย่างรวดเร็ว ผู้ประกอบการอสังหาฯมีความระมัดระวังในการลงทุน บริหารกระแสเงินสดที่ดี ใช้เงินกู้ในสัดส่วนที่ต่ำ ทำให้มีหนี้สินต่อทุน(D/E)ต่ำ สถาบันการเงินมีการระดมเงินฝากไว้จำนวนมาก และผู้ซื้อมีการเตรียมตัวรับมือที่ดี

อย่างไรก็ตาม ปัญหาหลักที่รัฐบาลควรเร่งแก้ไขคือ ปัญหาการว่างงานของประชาชนที่ถูกเลิกจ้างซึ่งจะส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาเอ็นพีแอลในสถาบันการเงิน โดยในปีนี้คาดว่าจะมีจำนวนคนถูกเลิกจ้างกว่า500,000 คน กลุ่มนี้อาจจะกลายเป็นกลุ่มที่ก่อให้เกิดเอ็นพีแอลในอนาคตได้

โดยแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว รัฐบาลควรนำมาตรการเรื่องการเปลี่ยนระบบลูกค้าที่มีปัญหาการผ่อนส่ง และมีแนวโน้มกลายเป็นเอ็นพีแอลให้เข้าสู่ระบบเช่าแทนการผ่อนจ่าย เพื่อพักชำระหนี้ระยะสั้น ป้องการเกิดการทิ้งบ้านไม่ส่งต่อ

"รัฐบาลต้องสนับสนุนให้สถาบันการเงินพักชำระหนี้ โดยเปลี่ยนลูกค้าให้เป็นผู้เช่าในช่วงที่มีปัญหาเรื่องกำลังการผ่อนส่ง ซึ่งอาจจะยืดระยะเวลาการผ่อนส่งออกไปจาก25ปี เป็น 27ปี โดยในช่วง1-2ปีนี้อาจจะให้ลูกค้าเช่าบ้านแทนการจ่ายค่าผ่อนส่งซึ่งมีราคาต่ำกว่าค่าผ่อนส่ง หลังจากมีความพร้อมแล้วค่อยปรับเข้าสู่ระบบการส่งค่างวดบ้านตามเดิม"

อสังหาฯรับมือภาวะเงินฝืด

นายสมเชาว์ ตันฑเทอดธรรม นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย กล่าวว่า ขณะนี้เริ่มมีสัญญาณเงินฝืดเกิดขึ้นกับธุรกิจอสังหาฯแล้ว เนื่องจากธนาคารพาณิชย์เข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ นอกจากนี้ ยังมีสัญญาณการทิ้งเงินดาวน์เกิดขึ้น เช่นเดียวกันในกลุ่มเก็งกำไรที่ตั้งราคาขายสูง อีกทั้งในช่วงกลางปีจะเห็นการปิดโครงการช่วงกลางปีเป็นต้นไป ทั้งรายใหม่และรายเดิมที่มีการเปิดโครงการมากและไม่สามารถขายสินค้าได้ ดังนั้น ปี 2552 จะเป็นปีแห่งการพิสูจน์ว่าใครจะอยู่รอดในภาวะเช่นนี้

ปิดรง.อยุธยาบ้านระดับล่างสะเทือน

นายสัมมา คีตสิน ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาฯกล่าวถึงข้อมูลที่อยู่อาศัยย่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผ่านในงาน "ผ่าอสังหาริมทรัพย์ปี 2552" ว่า จากวิกฤตเศรษฐกิจที่ส่งผลให้โรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งต้องปิดตัวลง โดยเฉพาะโรงงานที่อยู่ในย่านนิคมอุตสาหกรรมในจ.พระนครศรีอยุธยาที่ต้องปิดตัวลงจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อเนื่องมายังที่อยู่อาศัยในย่านดังกล่าว ทำให้บ้านระดับล่างมียอดขายที่ลดลง จากการที่กลุ่มผู้ที่ทำงานในโรงงานซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักมีกำลังซื้อที่ลดลง หรืออาจไม่มีเลย อันเนื่องมาจากการถูกลดเวลาการทำงาน รายได้ลดลง หรือถูกให้ออกจากงาน

ทั้งนี้ ปริมาณการขายที่อยู่อาศัยในโครงการจัดสรรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในแต่ละปีอยู่ที่ประมาณ 7,000 หน่วย ส่วนใหญ่อยู่ในย่านบางประอิน, วังน้อย, อุทัย และในตัวเมืองจังหวัดเองรวมสัดส่วนกว่า 70% โดยตัวเลขดังกล่าวยังถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนยูนิตในโครงการจัดสรรในกรุงเทพฯ ปทุมธานี และนนทบุรี

แก้เกณฑ์บ้านBOIช่วยกลุ่มรากหญ้า

รศ.มานพ กล่าวว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลนั้น มาถูกทางและรวดเร็วดีแล้ว แต่ยังถือว่าน้อยเกินไป และรัฐบาลควรมีการออกมาตรการอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงไตรมาส 3-4 รัฐบาลควรเสริมมาตรการใหม่ๆออกมาเพิ่มอีก เน้นกระจายความช่วยเหลือสู่กลุ่มระดับรากหญ้าให้มากขึ้น เช่น การหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำปล่อยสินเชื่อระยะยาวผ่านธอส.ให้ประชาชนระดับล่าง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อบ้านใหม่ ซึ่งในกลุ่มนี้รัฐบาลเองควรมีการนำโครงการบ้านบีโอไอ(BOI )กลับมาพิจารณาอีกครั้ง

โดยให้มีการปรับหลักเกณฑ์ หรือข้อกำหนดในการพัฒนาบ้านบีโอไอลง เพื่อดึงดูความสนใจของนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาในประเทศ ซึ่งให้สอดคล้องการซื้อบ้านใหม่ของกลุ่มลูกค้าตลาดระดับล่าง โดยเกณฑ์ที่น่าจะมีการปรับใหม่ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน( บีโอไอ) คือ การลดขนาดพื้นที่ห้องชุด จากเดิมกำหนดว่า ต้องมีขนาด 32 ตร.ม. ลดลงเหลือ 27ตร.ม. หรือการลดจำนวนยูนิตจาก 150 หน่วย ลงมาเหลือ 50 หน่วย หรือการปรับเพดานราคาจากเดิมต้องไม่เกิน6 แสนบาทต่อหน่วย เพิ่มขึ้นเป็น1 ล้านบาท

ปล่อยผี!ต่างชาติถืออสังหาฯ90 ปี

รศ.มานพยังคงมีมุมมองว่า ควรมีการปรับเรื่องการให้สิทธิการเช่าระยะยาวของชาวต่างชาติ จาก 30ปี เป็น90 ปี สามารถต่อสัญญาได้อีก 90 ปี เพื่อดึงดูให้ชาวต่างชาติเข้ามาในประเทศมากขึ้นด้วย ในส่วนของกระตุ้นที่อยู่อาศัยที่มุ่งผู้ซื้อที่มีรายได้น้อยนั้น อาจนำเรื่องการเช่าระยะยาวมาดำเนินการได้เช่นกัน โดยการเคหะแห่งชาติ(กคช.)อาจจะเปลี่ยนจากพัฒนาเพื่อขายมาสู่การพัฒนาเพื่อให้เช่าระยะยาว90ปีแทน และควรมีการสานต่อโครงการเมกะโปรเจกต์ให้เร็วขึ้น

'ชายนิด'แม้วเก้าชีวิตเสนอสูตรแก้วิกฤต

นายชายนิด โง้วศิริมณี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า มาตรการที่รัฐบาลประกาศออกมาใช้แล้ว คาดว่าจะช่วยภาคอสังหาฯในปีนี้ได้ไม่น้อย และคาดว่าทาวน์เฮาส์ ระดับราคา 1-4 ล้านบาทจะมียอดขายที่ดี แต่รัฐบาลควรมีมาตรการออกมากระตุ้นอย่างต่อเนื่อง โดยขอนำเสนอด้วยกัน 4 ประเด็น ดังนี้ รัฐควรกระตุ้นภาคการท่องเที่ยวให้ฟื้นตัวกลับมาเร็วที่สุด

รัฐบาลควรเพิ่มทุนให้ธอส.อย่างน้อย 5,000 - 10,000 ล้านบาท เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน และผู้บริโภค อีกทั้ง ควรที่จะหาแพกเกจดอกเบี้ยต่ำให้แก่ผู้กู้ เพื่อช่วยเหลือผู้ซื้อบ้านหลังแรก และกระตุ้นการตัดสินใจของผู้ซื้อในปีนี้

ขยายระยะเวลาเช่าที่อยู่อาศัยของชาวต่างชาติจากปัจจุบันอยู่ที่ 30 ปีเป็น 90 ปี และเสนอปลดล็อคเงินดาวน์ 30% ให้แก่ผู้ซื้อบ้านที่มีราคา 10 ล้านบาทขึ้นไป เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อบ้านระดับราคาดังกล่าวมากขึ้น และทำให้มีการซื้อขายบ้านระดับนี้ได้ง่ายขึ้น จากปัจจุบันมีการกำหนดให้วางเงินดาวน์อย่างน้อย 30% สำหรับบ้านระดับราคา 10 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งเป็นแนวทางที่สถาบันการเงินมองว่าสามารถลดความเสี่ยงได้

" ในเรื่องของแนวโน้มดอกเบี้ย คิดว่ากลางปี 52 นี้คงจะได้เห็นดอกเบี้ยในระบบที่ต่ำสุดในรอบ 50 ปี " นายชายนิดกล่าวให้ผลจากวิกฤตการเงินสหรัฐฯ

พฤกษาฯแนะอย่าสต๊อกบ้าน

นายทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สิ่งสำคัญในขณะนี้ ผู้ประกอบการควรคิดเรื่องที่จะมาสต๊อกบ้าน แต่ควรหันมาพิจารณาในการสร้างโครงการให้สอดคล้องกับความต้องการซื้อจริงในตลาด และควรมีสินค้าที่ออกสู่ตลาดเฉพาะกลุ่มให้มากขึ้น ที่สุดแล้ว ก็ต้องหันมาเน้นเรื่องการศึกษาวิจัยตลาดให้ชัดเจน

"มาตรการของภาครัฐที่เปิดให้ผู้ซื้อบ้านสามารถนำเงินต้นและดอกเบี้ยมาใช้ในการหักลดหย่อนภาษี นั้น เป็นประโยชน์แก่กลุ่มลูกค้าในตลาดระดับกลางถึงบนมากกว่ากลุ่มลูกค้าตลาดล่าง ดังนั้น รัฐบาลควรจะมีการออกมาตรการให้ครอบคลุมกลุ่มลูกค้าตลาดล่างมากขึ้น " นายทองมากล่าวให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us