|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
“โตโยต้า”เตรียมหารือภาครัฐขอลดภาษีสรรพสามิต หลังวิกฤตเศรษฐกิจโลกส่งผลกระทบต่อธุรกิจ พร้อมหวังอัตราการจ่ายภาษีนิติบุคคลปรับตัวลดลงมาใกล้เคียงกับเรตของประเทศเพื่อนบ้าน จากปัจจุบันที่มีอัตราสูงถึง30% ส่วนภาพรวมทั้งปีคาดยอดขายวูบ 24% ชี้ต้องเฝ้าภาวนาให้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ออกมาสัมฤทธิ์ผล เพื่อให้โดยรวมทรุดตัวไม่มาก
นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ รองประธานกรรมการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทมีแนวทางที่จะนำเรื่องการขอปรับลดภาษีสรรพสามิตเข้าไปหารือกับรัฐบาล หลังจากการดำเนินธุรกิจได้รับผลกระทบจากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้มองว่าภาษีนิติบุคคลที่ปัจจุบันภาครัฐจัดเก็บประมาณ 30%นั้น ถือเป็นอัตราที่ค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับประเทศใกล้เคียง เช่น มาเลเซียซึ่งมีการจัดภาษีในส่วนนี้เพียง 25% และสิงคโปร์อยู่ที่ 18% ดังนั้นส่วนตัวจึงคิดว่าประเทศไทย อัตราภาษีดังกล่าวควรอยู่ในระดับใกล้เคียงประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถแข่งขันได้
ทั้งนี้ บริษัทคาดการณ์ว่ายอดขายรถยนต์ในปี2552 จะลดลง 24% อยู่ที่ 1.08 ล้านคันต่อปี โดยแบ่งเป็นตลาดรถยนต์ในประเทศ 5 แสนคันต่อปี และการส่งออก 5.8 แสนคันต่อปี ลดลงจากปีที่ผ่านมาซึ่งตลาดรถยนต์โดยรวมอยู่ที่ 1.4 ล้านคันต่อปี แบ่งเป็นการส่งออก 7.8 แสนคัน และภายในประเทศ 6.15 แสนคัน
ส่วนภาพรวมอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ ผู้ประกอบการได้ประมาณการว่าตัวเลขการเติบโตยอดขายในไตรมาส 1/2552 จะลดลงประมาณ 40% และตลอดทั้งปียอดขายจะลดลงประมาณ 15-20% ในเงื่อนไขหากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐมีประสิทธิภาพตามเป้าหมายที่วางไว้
อย่างไรก็ตามในปี 2552 บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ยังเน้นที่จะรักษาส่วนแบ่งทางการตลาด (มาร์เกตแชร์)ให้เป็นอันดับหนึ่งของตลาดรถยนต์ในประเทศไทยต่อไป โดยในปี 2551 บริษัทมีมาร์เก็ตแชร์ที่ 42.5%
รองประธานกรรมการ โตโยต้า มอเตอร์ กล่าวถึงแนวโน้มตลาดส่งออกปีนี้ว่า ขณะนี้ในตลาดต่างประเทศเป็นช่วงที่ได้รับผลกระทบและผันผวนมาก ทำให้ประมาณการเรื่องนี้ได้ลำบาก ส่วนภายในประเทศมองว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ควรที่จะได้รับความสนใจจากภาครัฐมากขึ้น โดยเฉพาะการกระตุ้นตลาด ซึ่งหมายถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวมที่รัฐบาลควรเร่งตัดสินใจและใช้ความรวดเร็ว เพราะมาตรการที่ประกาศใช้ไปก่อนหน้านี้จะเริ่มส่งผลอีกประมาณ 6 เดือนข้างหน้า ดังนั้นภาครัฐควรมีการประมวลผลและปรับแผนใหม่เพื่อรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจในปี2553ด้วย นอกจากนี้ภาคเอกชนก็ควรที่จะปรับตัวรับมือในเรื่องดังกล่าวด้วย เช่น การปรับลดต้นทุนและตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
ขณะเดียวกัน บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ยืนยันว่ายังไม่มีนโยบายปลดพนักงานแต่อย่างใด แต่ถ้าหากเหตุการณ์เลวร้ายถึงที่สุด อาจจะใช้วิธีการสมัครใจลาออก โดยจะเป็นเฉพาะพนักงานประเภท Sub Contact ซึ่งทางบริษัทจะจ่ายเงินชดเชยเพิ่มให้เป็นจำนวน 3 เดือน อย่างไรก็ตาม บริษัทฯจะพยายามรักษาบุคลากรที่มีฝีมือไว้ให้นานที่สุด ตามนโยบายปกป้องบุคลากร รวมถึงการปฏิบัติให้เป็นไปตามขั้นตตอนกฏหมาย คือ 1. ปฏิบัติตามกฏหมายแรงงานของไทยอย่างเคร่งครัด 2. รักษาข้อตกลงกับแรงงาน และ3. พิจารณาถึงผลกระทบของพนักงานอย่างรอบคอบ
พร้อมกันนี้นโยบายการแจกเงินของรัฐบาลให้กับผู้ที่ประกันตนกับประกันสังคมและมีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทนั้น จากการสำรวจพนักงานภายในบริษัทพบว่าเงินจำนวนดังกล่าวจะมีการจับจ่ายใช้สอยอย่างแน่นอน และคงไม่มีการเก็บไว้ตามที่หลายฝ่ายกังวล ดังนั้นรัฐบาลควรมีนโยบายออกมาเพื่อเติมอีก
ก่อนหน้านี้ นายมิทซึฮิโระ โซโนดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย กล่าวว่าในปีนี้ผลกระทบจากเศรษฐกิจและวิกฤติการเงินโลกจะรุนแรงกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังไม่ถึงจุดต่ำสุด และจะส่งผลกระทบกับธุรกิจส่งออกของไทย รวมถึงอุตสาหกรรมรถยนต์ที่เริ่มมีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ช่วงเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ซึ่งในส่วนของโตโยต้าเริ่มมีสัญญาณที่ไม่ดีนัก เพราะตลาดหลักๆในหลายประเทศ ชะลอตัว ทำให้บริษัทต้องปรับตัวหันมาเน้นศักยภาพในการทำตลาดในประเทศมากขึ้น อีกทั้งยอมรับว่าวิกฤตในครั้งนี้ส่งกระทบต่อการวางแผนการผลิตในระยะยาวด้วยเช่นกัน
|
|
|
|
|