Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน3 กุมภาพันธ์ 2552
กู้นอก7หมื่นล้านพยุงรสก.คลังขันน๊อตปตท.-บินไทย             
 


   
search resources

Economics




เตรียมรับช่วงมาตรการระยะสั้น นายกฯ ดันแผนสำรอง (Plan B) กระตุ้นเศรษฐกิจ กู้นอก 7 หมื่นล้าน จาก 3 แบงก์ทั้งเวิลด์แบงก์ เอดีบีและไจก้า เข้า ครม.วันนี้ ยันไม่ควักทุนสำรองออกมาใช้แน่ พร้อมโรดโชว์ญี่ปุ่นดึงเงินเข้าประเทศ “กรณ์” เตรียมถกแบงก์ชาติจ่ายหนี้เงินต้นกองทุนฟื้นฟู หวังแปลง 8 หมื่นล้านมาร่วมฟื้นเศรษฐกิจ ลั่นปรับรื้อ รสก.ป้องกันการเมืองแทรก ไม่เว้นทั้ง ปตท.และการบินไทย

วานนี้ (2 ม.ค.) ที่ รร.พลาซ่า แอทธินี บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมกับสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย และสมาคมส่งเสริมนักลงทุนไทย จัดเสวนาหัวข้อ "เจาะลึก 8 คำถาม อุตสาหกรรมเด่นกับนายกรัฐมนตรี" โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ร่วมกับนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ร่วมตอบคำถาม ซึ่งนายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า แผนสำรองกระตุ้นเศรษฐกิจ (Plan B) ของรัฐบาลนั้นจะเป็นการกู้เงินจากต่างประเทศเพื่อใช้ในโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศและประชาชน

"มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ออกไปแล้วรวมทั้งงบประมาณกลางปีที่กำลังผลักดันให้ผ่านสภาฯ เป็นเพียงแผนในการรักษากำลังซื้อและการจับจ่ายใช้สอย แต่ก็หวังว่ามาตรการชุดแรกที่ออกไปจะประคับประคองได้ถึงสิ้นไตรมาส 3 แต่ก็ไม่ควรประมาท" นายอภิสิทธิ์กล่าวและว่า ไทยขาดโอกาสในการพัฒนาหลายๆ ด้านเนื่องจากมีภาระทางการเงินจากการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) ซึ่งเป็นวงเงินที่สูงถึง 8 หมื่นล้านบาทต่อปี และในขณะนี้ได้มอบหมายให้กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไปหารือกันเพื่อแก้ไขปัญหาภาระทางการเงินนี้

ส่วนแนวคิดในการใช้ประโยชน์จากเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีกว่า 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ตามที่เอกชนเสนอนั้น นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า มีกฎหมายที่ซับซ้อนพอสมควรและเป็นเรื่องที่นำไปสู่ความขัดแย้ง จึงไม่อยากให้เกิดความขัดแย้งหรือเป็นข้อครหาในขณะนี้ ซึ่งที่ผ่านมาในรัฐบาลชุดก่อนก็เคยมีการพูดถึงการนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศไปตั้งเป็นกองทุนเพื่อความมั่งคั่ง โดยการนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศไปลงทุนก็ทำให้เกิดความขัดแย้งตามมา ดังนั้นจึงไม่มีประโยชน์อะไรที่นำเรื่องไปสู่ความขัดแย้ง

นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ในวันที่ 6-7 กุมภาพันธ์ นี้มีกำหนดการไปเดินสายแสดงข้อมูลแก่นักลงทุนญี่ปุ่นเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อประเทศไทย โดยประเด็นหลักที่จะทำความเข้าใจคือ 1.เรื่องพลังงานทดแทนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์เนื่องจากฐานการผลิตรถยนต์ของญี่ปุ่นอยู่ในไทยแทบทั้งสิ้น และ2.การขยายกรอบความร่วมมือระหว่างประชาคมอาเซียนและญี่ปุ่น

"อยากจะให้เรื่องพลังงานทดแทนได้เดินหน้าต่อ แม้การลงทุนต่าง ๆ ต้องใช้เวลา มั่นใจว่าในที่สุดราคาน้ำมันมีแนวโน้มดีดตัวกลับไปอยู่ในระดับสูงไม่มากก็น้อย จุดนี้เป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการช่วยเหลือภาคการเกษตร ทั้งมันสำปะหลัง ปาล์ม อ้อย"

ด้านปัญหาความล่าช้าในการลงทุนของรัฐซึ่งหลายหน่วยงานอ้างว่ามีอุปสรรคจาก พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 นั้น นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ปัญหาที่แท้จริงคือหน่วยงานรัฐพยายามเลี่ยงกฎหมายนี้โดยเขียนโครงการให้ต่ำกว่า 1 พันล้านบาทและสุดท้ายโครงการไม่ผ่านและเสียเวลาเพิ่มขึ้น หากจะแก้ไขกฎหมายนี้จริงควรบูรณาการกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการร่วมงานรัฐทั้งหมด เช่น กฎหมายสิ่งแวดล้อมและประชาพิจารณ์ลงไปด้วยแต่ต้องยึดหลักความโปร่งใสในการดำเนินงาน

นายอภิสิทธิ์กล่าวถึงปัญหารัฐวิสาหกิจว่า รัฐบาลอยู่ระหว่างเร่งผลักดันกฎหมายองค์กรกำกับดูแลทั้งในส่วนของการตัดสรรคลื่นความถี่ พลังงานและระบบขนส่งทางราง เกี่ยวข้องกับกิจการโทรคมนาคมภายในสมัยประชุมนี้ ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนใหม่ๆ เช่น 3 จี ที่ผ่านมาการบริหารรัฐวิสาหกิจไม่มีการแยกแยะบทบาทที่ชัดเจนระหว่างการบริการสังคมและการแสวงหากำไร อย่างไรก็ตามแม้จะมีปัญหาในรัฐวิสาหกิจจำนวนมากก็ยังไม่มีความจำเป็นต้องพึ่งพาต่างประเทศเข้ามาบริการงานโดยการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์

"ปัญหาการบินไทยถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่รัฐบาลต้องแก้ปัญหา เพราะเป็นปัญหาที่สั่งสมมา รัฐบาลปฏิเสธไม่ได้ที่จะต้องเข้าไปช่วยเหลือดูแล แต่จะต้องเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้าง เพื่อไม่ให้ปัญหากลับมาอีก" นายอภิสิทธิ์กล่าว

ระหว่างเสวนาฯ ว่า มีอยู่ช่วงหนึ่งที่นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงเหตุผลที่ทำให้การอนุมัติงบประมาณในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาต้องหยุดชะงัก มีคำถามว่านายกรัฐมนตรีมีความมั่นใจหรือไม่ว่าข้าราชการทั้งหมดที่เป็นตัวขับเคลื่อน มีความพร้อมและเข้าใจประวัตถุประสงค์เดียวกันกับนายกรัฐมนตรี นายกฯ กล่าวว่า กำลังทำให้บุคลากรภาครัฐทั้งการเมืองและราชการประจำได้เกิดความตื่นตัวถึงภาวะวิกฤตที่กำลังเกิดขึ้น

“กระทรวงที่มีปัญหาเรื่องนี้มากก็คือกระทรวงการคลัง ที่มักจะส่งคนมาแล้วเวลาประชุมไม่ค่อยมีปัญหาอะไร แต่ว่าเวลากลับไปแล้วก็ไปให้รัฐมนตรีบอกว่าไม่เห็นด้วย จึงได้ออกกฎเหล็กไปแล้วว่า คนที่มาประชุมมีอำนาจเต็ม ถ้าไม่มีอำนาจเต็มสงสัยอะไรก็ให้โทรศัพท์ถามคนที่มีอำนาจเต็มก่อนที่จะมีมติ"

ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศว่า ขณะที่นายกฯ ระบุว่าเป็นกระทรวงการคลังนั้น ได้หันหน้าไปทางนายกรณ์ที่นั่งอยู่ใกล้กัน ซึ่งนายกรณ์ได้ยิ้มแหยๆ และผู้ร่วมงานในห้องต่างหากันหัวเราะกับคำพูดของนายกฯ

เผยกู้ 3 แบงก์นอก 7 หมื่นล้าน

นายกรณ์กล่าวถึงการกู้เงินจากต่างประเทศเพื่อเป็นเงินสำรองในการกระตุ้นเศรษฐกิจว่า เพื่อให้มีแหล่งเงินแก้ปัญหาเศรษฐกิจ นอกจากงบประมาณ กระทรวงการคลังจะกู้เงินจากธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (เอดีบี) และองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) ทั้งสิ้น 7 หมื่นล้านบาท ซึ่งไทยเป็นสมาชิกและสามารถตั้งกรอบวงเงินการกู้ไว้ โดยยังไม่จำเป็นต้องยื่นเสนอโครงการให้กับสถาบันการเงินระหว่างประเทศเหล่านี้แต่อย่างใดแผนครั้งนี้เตรียมเสนอที่ประชุม ครม.พิจารณาวันนี้ (3 ก.พ.)

นอกจากนี้ จะมีการหารือกับ ธปท. แต่ยอมรับว่าภาระดอกเบี้ยของกองทุนฟื้นฟูฯ เป็นภาระของงบประมาณซึ่งเป็นประเด็นที่กระทรวงการคลังต้องหยิบยกขึ้นมาเพื่อบริหารจัดการทางการเงิน โดยเปิดช่องให้สามารถนำเงินดังกล่าวมาใช้กระตุ้นเศรษฐฐกิจได้ เนื่องจากเป็นวงเงินที่สูงมาก ทั้งนี้ ธปท.เริ่มมีผลกำไรจากการบริหารเงินทุนสำรองซึ่งตามกฎหมายจะต้องนำมาชำระหนี้เงินต้นของเอฟไอดีเอฟที่ค้างอยู่สูงถึง 1 ล้านล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมายังไม่มีการชำระหนี้เงินต้นแกกระทรวงการคลังเลย

“ตอนนี้ยังไม่ได้มีการหารือกันอย่างเป็นทางการซึ่งถือเป็นปัญหาที่ค้างมานานและกระทรวงการคลังต้องการแก้ไขเพื่อนำเม็ดเงิน7-8 หมื่นล้านมาพัฒนาและกระตุ้นเศรษฐกิจในด้านอื่นต่อไป” นายกรณ์กล่าวและว่า อย่างไรก็ตามในขณะนี้กระทรวงการคลังและธปท.ก็ร่วมกันพิจารณาถึงปัญหาและอุปสรรคที่มีต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจอยู่แล้วหากพบปัญหาอะไรที่ติดขัดระหว่าง 2 หน่วยงานก็พร้อมที่จะไล่แก้ปมอย่างเหมาะสม

ปรับ ปตท.-บินไทยพ้นการเมือง

นายกรณ์กล่าวว่า บทบาทกระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ของรัฐวิสาหกิจที่ผ่านมามีน้อยกว่าผู้ถือหุ้นโดยทั่วไปและกระทรวงเจ้าสังกัดที่เข้ามากำหนดนโยบายมาก ซึ่งสร้างปัญหาในเชิงลึกให้กับรัฐวิสาหกิจและปัญหาต่างๆ ที่หมักหมมมานานได้เกิดขึ้น จึงเป็นโอกาสที่ดีในการปรับปรุงโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจทั้งหมดและเสนอแผนจัดการองค์กรในระยะยาว นอกจากนี้จะต้องลดบทบาทการเมืองที่เข้ามาแทรกแซงให้เกิดความเสียหายให้ลดลงด้วย

รมว.คลังยกตัวอย่างกรณีของ บมจ.ปตท.ว่ามีปัญหาหลายครั้งเพราะสับสนในบทบาทหน้าที่ เพราะเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ต้องดูแลผู้ถือหุ้น แต่ก็เป็นบริษัทที่รัฐถือหุ้นใหญ่ทำให้ประชาชนมีความคาดหวังสูง ปัญหาที่เกิดขึ้น ทำความลำบากใจให้กับผู้บริหาร

“จุดเริ่มต้นของปัญหาคือ ทำงานเหมือนบริษัทเอกชนแต่ต้องการสิทธิอำนาจผูกขาด” นายกรณ์กล่าว

ส่วนกรณีการบินไทย นายกรณ์ย้ำว่า ให้กลับไปเสนอแผนปรับโครงสร้างองค์กร เพื่อนำมาเสนอ ครม.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใน 1 เดือน แผนจะต้องมีความหมายต่อการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ต้องยอมรับว่าไม่เหมือนรัฐวิสาหกิจอื่น เพราะต้องเผชิญกับการแก้ไขกับสายการบินชั้นนำในต่างประเทศ ทำให้ต้องเข้มแข็งมากกว่ารัฐวิสาหกิจทั่วไป ถือเป็นโจทย์ใหญ่ โดยแผนที่เสนอมาจะต้องมี Benmark มีดัชนีชี้วัดความสำเร็จ เปรียบเทียบกับสายการบินอื่น เช่น การดูแลพนักงานต่อคนของพนักงานบริการบนเครื่องบิน

ยันรัฐบาลไม่ถังแตก

วันเดียวกัน รมว.คลังกล่าวถึงกรณีที่เงินคงคลังลดลงเหลือประมาณ 50,000 ล้านบาท ณ สิ้นปี 51 ว่า เงินคงคลังที่ลดลงไม่ได้สร้างปัญหาให้กับการจ่ายเงินให้กับข้าราชการ และกระทรวงการคลังก็ไม่ได้ถังแตก รัฐบาลมีเงินจ่ายเงินเดือนให้ข้าราชการแน่นอน ส่วนเงินคงคลังในระดับปัจจุบันมีความเหมาะสมดีอยู่ระดับปกติ ยืนยันว่าเงินคงคลังจะไม่มีการติดลบและไม่น่าจะมีปัญหาเรื่องที่รัฐบาลจะนำเงินไปกระตุ้นเศรษฐกิจ "เราจะต้องบริหารจัดการเงินคงคลังให้มีประสิทธิภาพ ไม่สร้างปัญหาต่อระบบการเบิกจ่าย ไม่ควรมีเงินคงคลังมากเกินความจำเป็น โดยในเดือนพฤษภาคมนี้ จะมีรายได้ภาษีนิติบุคคลเพิ่มและภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าเพิ่มรายได้ให้กับรัฐบาล" นายกรณ์กล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us