Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2531








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2531
"เริงชัย มะระกานนท์ …พ้นพงหนาม?"             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย
โฮมเพจ ธนาคารกรุงไทย

   
search resources

ธนาคารกรุงไทย
ธนาคารแห่งประเทศไทย
เริงชัย มะระกานนท์
Banking




เริงชัย เป็นนักเรียนทุนคนแรกของแบงก์ชาติที่ขึ้นถึงตำแหน่งผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งตำแหน่งสูงสุดสำหรับข้าราชการประจำของแบงก์ชาติ เริงชัยเป็นผู้ช่วยผู้ว่าการสายที่ 5 รับผิดชอบสำนักงานสาขา เดิมสายนี้ถูกยุบไปอยู่ในความดูแลของวารี หะวานนท์ผู้ช่วยผู้ว่าการสาย 3 ภายหลังการเสียชีวิตของอดุลย์ กิสรวงศ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการคนสุดท้ายในโลกนี้ การรื้อฟื้นตำแหน่งนี้ขึ้นมาใหม่ก็เป็นการต้อนรับการกลับมาของเริงชัยจากธนาคารกรุงไทย

ธนาคารกรุงไทย ขอยืมตัวเริงชัยไปเป็นรองผู้จัดการเมื่อเดือนมีนาคม 2529 ภายหลังจากการเปลี่ยนตัวกรรมการผู้จัดการจากตามใจ ขำภโต เป็นเธียรชัย ศรีวิจิตร เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2529 ตามแผนการปรับปรุงการบริหารและประสิทธิภาพในการทำงานให้เป็นธนาคารชั้นนำ เพื่อเป็นกลไกของรัฐในการผลักดันนโยบายการเงินของทางการภายหลังจากที่อยู่ในสภาพล้าหลังมานาน การยืมตัวครั้งนี้มีกำหนด 2 ปี แต่เพียงปีครึ่งเท่านั้นเริงชัยก็อยู่ไม่ได้ต้องกลับแบงก์ชาติเมื่อสิ้นเดือนกันยายน 2530

เริงชัยในตำแหน่งรองผู้จัดการกรุงไทยได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบสายงานวิชาการ และวางแผนรวมทั้งการพัฒนาธุรกิจ งานเร่งด่วนในตอนนั้นก็คือ การปรับปรุงระบบงานและแก้ไขปัญหาหนี้สินรายใหญ่ 3 รายของกลุ่มศรีกรุงวัฒนาของสว่าง เลาหทัย กลุ่มสยามวิทยาของสุระ จันทร์ศรีชวาลา และชะอำ ไพน์แอปเปิ้ล หนี้สิน และดอกเบี้ยรวมกันกว่า 12,000 ล้านบาท ในระยะแรก ๆ แผนการและข้อเสนอของเริงชัยเดินไปอย่างราบรื่น ข้อเสนอต่าง ๆ ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการธนาคารด้วยดี

ตอนนั้นสมหมาย ฮุนตระกูลยังเป็นรัฐมนตรีคลังอยู่ ความเป็นหลานเขยของสมหมายอาจจะมีส่วนให้เริงชัยทำงานได้สะดวก

เดือนพฤษภาคม 2530 มีข่าวว่าเริงชัยขอกลับแบงก์ชาติเพราะทำงานไม่ได้เพราะเกิดความขัดแย้งและไม่ได้รับความร่วมมือในการทำงานจากผู้บริหารของกรุงไทย ความขัดแย้งนั้นมาจากลักษณะการทำงานที่แตกต่างกัน เริงชัยนั้นจริงจังและรวดเร็วในการทำงาน มีนโยบายในเชิงรุก ขณะที่เธียรชัย ศรีวิจิตรและผู้บริหารอื่นที่เป็นลูกหม้อเก่าแก่ของกรุงไทยยังติดอยู่ในวัฒนธรรมปฏิบัติแบบราชการ เริงชัยถูกมองว่าล้ำเส้น ตัวเองนั้นเป็นแค่รองผู้จัดการไม่ได้เป็นกรรมการบริหารด้วยจึงไม่มีอำนาจอะไรมากนัก แถมยังมีข่าวว่ากระทรวงการคลังเป็นผู้ขอให้แบงก์ชาติเรียกตัวกลับเอง แต่เริงชัยก็ต้องอยู่ต่อไปเพราะแบงก์ชาติเห็นว่ายังมีงานสำคัญอยู่อีกคือการจัดการกับปัญหาบริษัทเงินทุนในโครงการ 4 เมษา และการรวมธนาคารสยามเข้ากับธนาคารกรุงไทย นอกจากนั้นทางแบงก์ชาติยังไม่มีตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับเริงชัย

เดือนกันยายน 2530 เป็นช่วงที่มีข่าวความขัดแย้งระหว่างกระทรวงการคลังกับธนาคารแห่งประเทศไทยมากที่สุด กระทรวงการคลังนั้นเป็นเจ้าของกรุงไทยเพราะถือหุ้นอยู่ 76% ส่วนธนาคารแห่งประเทศไทยมีหน้าที่ในการควบคุมดูแลการทำงานของธนาคาร การทำงานของกรุงไทยนั้นเป็นไปตามวิถีทางของระบบราชการทุกกระเบียดนิ้ว แบงก์ชาติต้องการให้มีการปรับโครงสร้าง ระบบการทำงานใหม่ รวมทั้งการสะสางหนี้เสีย ๆ ด้วย แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่มีความคืบหน้าอะไรมากนัก แบงก์ชาติต้องการให้มีคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งคอยกำกับดูแลการปรับปรุงโครงสร้างและการปฏิบัติงานของกรุงไทย โดยผลักดันเรื่องนี้ผ่านกระทรวงการคลัง แต่ทางกรุงไทยที่มีปลัดกระทรวงการคลัง พนัส สิมะเสถียรเป็นประธานไม่ต้องการโดยอ้างว่า ทางกรุงไทยมีคณะกรรมการปรับปรุงโครงสร้างอยู่แล้ว สามารถดูแลกันเองได้ข้อเสนอของแบงก์ชาติอีกเรื่องหนึ่ง คือการขอส่งคนเข้าไปเป็นกรรมการธนาคารด้วยโดยอาศัยเงื่อนไขในการให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ 6,000 ล้านบาทแก่กรุงไทย ในนามกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นข้อต่อรองเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำนี้ เป็นการให้เพื่อแบ่งเบาภาระที่กรุงไทยรับเอาธนาคารสยามเข้ามา แต่ทางกระทรวงการคลังไม่ต้องการให้คนของแบงก์ชาติเข้ามายุ่งเกี่ยวในกรุงไทยจึงปฏิเสธเงื่อนไขข้อนี้ โดยอ้างว่าแบงก์ชาติมีคนเข้ามาดูแลในระดับปฏิบัติการอยู่แล้ว

เดือนกันยายน 2530 จึงมีข่าวว่าแบงก์ชาติขอตัวเริงชัยกลับเพื่อไปรับตำแหน่งผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย

"ผมว่าโลกธุรกิจมันสลับซับซ้อนเกินกว่าคนแบงก์ชาติจะตามทัน" เขากล่าวกับ "ผู้จัดการ" วันหนึ่งถึงบทเรียนที่ได้รับรู้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us