Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน5 กุมภาพันธ์ 2552
ไทยยิบซั่มฯรับมือวิกฤต คุมต้นทุน-รีแบรนด์ใหม่             
 


   
search resources

ไทยผลิตภัณฑ์ยิบซั่ม, บมจ.
Cement




วิกฤตการเงินโลก ทำยอดสั่งซื้อวัสดุก่อสร้างทั่วโลกหดตัว หลังทุกประเทศชะลอการลงทุน ส่งผลกระทบตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์ยิบซั่ม ด้านไทยยิบซั่มบริษัทลูกจากฝรั่งเศล เบนเป้าเจาะตลาดบ้าน ทาวน์เฮาส์ในประเทศ หวังขยับส่วนแบ่งตลาดให้มากขึ้น ยันยังครองแชร์ตลาดยิบซั่มในประเทศสูงสุด 40% คิดเป็นมูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาท จากมูลค่ารวมตลาด 3,000ล้านบาท คาดตลาดก่อสร้างรวมในประเทศหดตัว10-30% กระทบตลาดวัสดุก่อสร้างหนัก แนะรัฐบาลลงทุนโครงการขนาดใหญ่-ระบบสาธารณูปโภคกระตุ้นเศรษฐกิจขยายตัวต่อเนื่อง

นายวลิต จิยะวรนันท์ ผู้อำนวยการฝ่ายการขนายและการตลาด บริษัท ไทยผลิตภัณฑ์ยิบซั่ม จำกัด (มหาชน) (อดีตมือบริหารธุรกิจหลังคาของกลุ่มมหพันธ์ ) กล่าวว่า จากปัญหาวิกฤตการเงินโลก และวิกฤตเศรษฐกิจในประเทศที่กิดขึ้น ได้ส่งผลกระทบต่ออัตราการขยายตัวของตลาดก่อสร้างโดยรวมหดตังลง 10-30% เนื่องจากบริษัทอสังหาริมทรัพย์เกิดการชะลอพัฒนาโครงการอสังหาฯ ทั้งบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ และโครงการอาคารสูง ดังนั้น ภาครัฐบาลต้องเข้ามากระตุ้นให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยรวม จึงต้องเร่งดำเนินการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่และระบบสาธารณูปโภคในประเทศ เพื่อให้มีปริมาณเงินไหลเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ การหดตัวในตลาดก่อสร้าง คาดว่าจะส่งผลต่อตลาดวัสดุก่อสร้างในปีนี้ ส่วนตลาดผลิตภัณฑ์ยิบซั่มนั้น คาดว่าจะได้รับผลกระทบไม่มากนัก โดยอัตราการขยายตัวของตลาดรวมจะยังอยู่ในระดับเดียวกับปีที่ผ่านมา หรือมียอดขายรวมในประเทศประมาณ 3,000 ล้านบาท ซึ่งบริษัทมีส่วนแบ่งตลาดดังกล่าวประมาณ 40% โดยในปีที่ผ่าน บริษัทมียอดขายรวม 3,000 ล้านบาท แบ่งเป็นยอดขายในประเทศ 40% คิดเป็นยอดขาย 20 ล้านตารางเมตร (ตร.ม.)หรือมีมูลค่า 1,000 ล้านบาท และยอดขายจากการส่งออก 60% คิดเป็น 30 ล้านตร.ม. คิดเป็นมูลค่า2,000ล้านบาท

“ ปัจจุบันบริษัทมีกำลังการผลิตรวม 75 ล้านตร.ม. แต่ใช้กำลังการผลิตอยู่ประมาณ 50 ล้านตร.ม. และหลังจากที่เกิดวิกฤตการเงินโลกขึ้น ส่งผลให้ทุกประเทศทั่วโลกชะลอการลงทุนและลดการสั่งซื้อวัสดุก่อสร้าง ทำให้ปริมาณการส่งออกสินค้าลดลงตามไปด้วย ใน

ขณะเดียวกันก่อนหน้านั้นบริษัทเซนต์-โกเบน ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมก่อสร้าง และกระจกรถยนต์ และอาคารสูง จากประเทศฝรั่งเศส ผู้ถือหุ้นใหญ่ของกลุ่มบริษัทบีพีบี ที่ถือหุ้นในบริษัทไทยยิบซั่มฯนั้น ได้เข้ามาตั้งฐานการผลิตในภูมิภาคเอเชียมากขึ้น ทำให้บริษัทลดปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์ยิบซั่มในต่างประเทศลง และหันไปให้ความสำคัญการเพิ่มไลน์สินค้าใหม่ๆ ทำตลาดในประเทศมากขึ้น”

นายวลิตกล่าวว่า เป้าหมายการขายในปี 2552 ทางบริษัทฯยังคงเป้าไว้ที่ 3,000 ล้านบาทเท่ากับปีที่ผ่านมา โดยจะเน้นเพิ่มสัดส่วนยอดขายในตลาดบ้านให้มากขึ้น จากเดิมที่บริษัทมีสัดส่วนการขายผลิตภัณฑ์ยิบซั่มในกลุ่มโครงการอาคารสูง อาคารสำนักงานเป็นหลัก ในขณะที่ยอดขายในตลาดบ้านยังมีสัดส่วนน้อยมาก โดยบริษัทจะเน้นการทำตลาดผ่านตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศจำนวน200ราย รวมถึงการให้ความสำคัญกับการเพิ่มศักยภาพให้แก่ตัวแทนจำหน่าย ทั้งในด้านความรู้และความเข้าใจด้านระบบฝ้า ผนังยิบซั่มมากขึ้น

นอกจากนี้ บริษัทจะเน้นการสร้างตราสินค้า(แบรนด์)ของบริษัทให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้ามากขึ้น โดยล่าสุด บริษัทได้ทำการรีแบรนด์ดิ้งตราสินค้า และโลโก้สินค้าใหม่ จากเดิมใช้ชื่อ “ไทยยิบซั่ม” โดยเปลี่ยนมาใช้ชื่อ“ยิบรอก” (Gyproc) โดยการรีแบรนด์ครั้งนี้เป็นนโยบายของบริษัทแม่ ซึ่งต้องการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของแบรนด์สินค้าในเครือเซนต์-โกเบนทั้งหมด อย่างไรก็ตาม บริษัทได้รับนโยบายจากบริษัทแม่ให้มีการลดค่าใช้จ่ายในด้านการตลาดลง เพื่อเป็นการลดต้นทุนการดำเนินงาน ดังนั้น ในการรีแบรนด์ครั้งนี้จึงต้องใช้ระยะเวลาการดำเนินงานค่อนข้างนาน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us