|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
วัชรมงคล เบญจธนะฉัตร์ วัย 39 ปี ประธานกรรมการ บริษัท บาธรูม ดีไซน์ จำกัด เป็นนักบริหารหนุ่มที่นำหลักการบริหารแบบพุทธมาปรับใช้กับงานบริหารในยุคปัจจุบันได้อย่างลงตัว
"ผู้จัดการฯ" ใช้เวลาสัมภาษณ์วัชรมงคลกว่าหนึ่งชั่วโมงเกี่ยวกับธุรกิจของบริษัท บาธรูม เขาจะสอดแทรกหลักการบริหารงานที่ควบคู่ไปกับหลักของศาสนาพุทธได้อย่างกลมกลืนทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าเขาได้รับแรงบันดาลใจจากการบวชเรียนกับหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ แห่งวัดชลประทานฯ จังหวัดนนทบุรี
และเขายังเคยได้ไปปฏิบัติธรรมกับท่านพุทธทาสภิกขุเมื่อครั้งที่ยังมีชีวิตอยู่ ณ สวนโมกข์ จ.สุราษฎร์ธานี
เขาบอกว่าท่านพุทธทาสภิกขุใช้หลักศาสนาพระไตรปิฎกแนะให้ใช้ 3 หลักในการบริหาร 1. ผลิตให้มาก 2. ใช้แต่พอดี 3. เหลือช่วยผู้อื่น 3 หลักถ้าใครทำได้จะได้เป็นเศรษฐี ซึ่งไม่ได้หมายถึงความรวย แต่หมายถึงผู้ประเสริฐ
นอกจากนั้นยังได้นำหลักอิทธิบาทสี่มาปรับใช้ คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา
ฉันทะคือการทำงานด้วยความรัก วัชรมงคลบอกว่างานออกแบบเป็นสิ่งที่เขารัก วิริยะคือความพากเพียร จิตตะหมายถึงการเอาใจเข้าไปใส่จะทำให้สินค้ามีชีวิตขึ้นมาทันที สุดท้ายวิมังสา การหมั่นทบทวน
หลักการบริหารแบบพุทธของเขาไม่ได้นำมาใช้เพียงด้านเดียวแต่เขาได้นำหลักการบริหารรูปแบบสมัยใหม่เข้ามาผสมผสานเพื่อสร้างความสมดุล อาทิ การบริหารการเงิน ความพึงใจของลูกค้า
เป้าหมายของการบริหารงานสมัยใหม่ต้องการประสิทธิภาพ ในขณะที่การบริหารแนวพุทธจะบริหารแบบพอดี พอใจในสิ่งที่มี ทำธุรกิจในรูปแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่สร้างหนี้เกินความจำเป็น และนำเงินหมุนเวียนที่ได้จากกำไรมาขยายธุรกิจ
ข้อดีของการบริหารแบบพุทธมาปรับใช้กับธุรกิจทำให้ไม่มีหนี้สูญ เพราะบริษัทใช้หลักการบริหารการเงินหนี้สินต่อทุนต้องไม่เกินหนึ่ง
ยามเศรษฐกิจตกต่ำในปัจจุบัน วัชรมงคลไม่ได้เพิ่มรายได้ให้กับพนักงานมากนัก แต่เขาช่วยบริหารให้พนักงานมีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ต่ำลง มีข้าวและน้ำพริกให้รับประทานฟรีทุกวัน น้ำดื่มสมุนไพรจำหน่ายแก้วละ 2 บาท เปรียบเทียบจากร้านค้าภายนอกที่จำหน่ายแก้วละ 10-15 บาท มีอาหารถุงขายถุงละ 10 บาท
ด้านสวัสดิการบริษัทสนับสนุนให้พนักงานเรียนเพิ่มเติม โดยบริษัทจะออกค่าใช้จ่ายให้ ส่วนพนักงานที่มีบุตร บริษัทจะส่งให้เรียนจนจบปริญญาตรี กรณีที่ไม่มีบุตรและพนักงานเสียชีวิต บริษัทจะจ่ายเงินเดือนให้กับพ่อและแม่ เดือนละ 2 พันบาท
วัชรมงคลบอกว่าแม้บริษัทจะเป็นธุรกิจเอสเอ็มอีแต่เขาจะร่วมทำงานกับพนักงานเหมือนดั่งพี่กับน้อง
หลักการบริหารธุรกิจที่ผสมผสานระหว่างแบบพุทธและการจัดการที่ทันสมัยรวมไปถึงการปกครองลูกน้องของเขา ทำให้บริษัทที่ก่อตั้งด้วยคูหาเล็กๆ เพียง 1 ห้อง ได้ขยายเช่าคูหาเพิ่มเป็น 6 ห้อง
ปรัชญาในการใช้ชีวิตและการดำเนินงานของวัชรมงคลเขาจะมองคล้ายกัน การบริหารธุรกิจเป้าหมายเพื่อประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น
นอกจากการทำงานให้กับบริษัทของตัวเองแล้ว วัชรมงคลยังได้แบ่งปันเวลาของเขาส่วนหนึ่งไปร่วมเป็นคณะกรรมการให้กับมูลนิธิหลายแห่ง อาทิ มูลนิธิของสมเด็จย่า โครงการครูเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนาของพระพี่นาง เพื่อเชิดชูครูที่เสียสละอยู่ชายแดนตามรอยตะเข็บและภาคใต้
รวมถึงช่วยงานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร เพื่อช่วยจัดหาทุนเข้ามูลนิธิ และรับเป็นอาจารย์สอนพิเศษเอ็มบีเอให้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ภายใต้หลักสูตรการประยุกต์ธุรกิจบริหารในรูปแบบพอเพียง
วัชรมงคลบอกว่าเขาทำงานทุกวันและมีความสุข
การทำงานและการพักผ่อนเป็นเรื่องเดียวกันและเขาเชื่อว่าความสุขสามารถสร้างได้ทุกวัน
ทุกวันพุธของสัปดาห์ วัชรมงคลจะอนุญาตให้พนักงานจำนวนหนึ่งไปสร้างประโยชน์ให้กับสังคม อาทิไปสอนหนังสือเด็ก ตัดผม เลี้ยงอาหาร ติดตั้งห้องน้ำให้กับบ้านพักคนชรา ที่สำนักงานจะมีกล่องบริจาคเงิน พนักงานให้เท่าไหร่บริษัทจะจ่ายเพิ่มให้อีก 1 เท่า เช่น กล่องบริจาคมีเงิน 50 บาท บริษัทจะเพิ่มให้อีก 50 บาท หรือถ้าหากมีเงินบริจาค 2 หมื่นบาท บริษัทก็จะเพิ่มให้อีก 2 หมื่นบาท
"ผมกำลังมองว่ามุมมองความสุข ถ้าคนมองความสุก เป็น ก.ไก่ มองความสุขจากสิ่งของ วัตถุ เงินทอง หาเงินมากที่สุด ความสุขจะไปคนละทาง ยิ่งวิ่งหาความสุขๆ ก็ยิ่งวิ่งหนีเรา แต่จริงๆ แล้วความสุขอยู่ในใจเกิดจากความพอเพียง"
|
|
|
|
|