|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ระหว่างการเดินทางไปร่วมงานแสดงสินค้าพม่า-จีน ที่เขตเศรษฐกิจพิเศษมูเซ ประเทศพม่า คณะตัวแทนจากภาครัฐ-เอกชนจังหวัดตาก นำโดยสาโรช แสงอรุณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตากได้ร่วมหารือกับ Meng Biguang ผู้ว่าการเขตปกครองตนเองชนชาติไต-จิงโพ่ แห่งเต๋อหง พร้อมคณะ ในประเด็นการสถาปนาความสัมพันธ์เมืองพี่เมืองน้องระหว่างตาก-เต๋อหง
หลังจากวันที่ 14 มิถุนายน 2548 จังหวัดตาก โดยสุวัฒน์ ตันประวัติ ผู้ว่าราชการจังหวัดในขณะนั้นได้ลงนามในบันทึกแสดงเจตจำนงเพื่อสถาปนาความสัมพันธ์เมืองพี่เมืองน้องกับหวังเชา รองผู้ว่าการเขตปกครองตนเองฯ ณ ห้องประชุมศาลากลาง จ.ตาก แต่จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีการลงนามอย่างเป็นทางการ
โดยทั้ง 2 ฝ่ายตกลงร่วมกันว่า ระหว่างวันที่ 9-16 กุมภาพันธ์ 2552 นี้ เมิ้ง ตี้กวง ผู้ว่าฯ เต๋อหง พร้อมคณะจะเดินทางมาเยือนจังหวัดตาก เพื่อร่วมพิธีสถาปนาลงนามความร่วมมือ (MOU) แบบถาวร เมืองคู่แฝดทางเศรษฐกิจการค้า-วัฒนธรรม "ตาก-เต๋อหง"
ซึ่งการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างจังหวัดตาก (ประเทศไทย) กับจังหวัดเต๋อหง (ประเทศจีน) จะเป็นการสร้างรูปแบบการค้า การลงทุน และศึกษา ศิลปวัฒนธรรมไทย-จีนและพม่า
พิธีการสถาปนาแบบถาวรเมืองคู่แฝด ตาก-เต๋อหง อย่างเป็นทางการ ระหว่างผู้ว่าราชการของทั้ง 2 จังหวัดจะเป็นการเปิดเส้นทางเพื่อพัฒนาการค้า-การลงทุน การเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศ และยังเป็นการเปิดตลาดการค้าอัญมณีแห่งใหม่ระหว่าง 2 จังหวัด
บรรพต ก่อเกียรติเจริญ ประธานหอการค้าจังหวัดตาก ให้ความเห็นในประเด็นที่ว่า ทำไมจังหวัดตากเลือกที่จะสร้างสัมพันธ์กับเต๋อหง ที่ในทางภูมิศาสตร์ ไม่ได้เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับจังหวัดตากแม้แต่น้อยว่า เนื่องจากทั้ง 2 จังหวัดคือตากกับเต๋อหง มีลักษณะจังหวัดที่ใกล้เคียงคล้ายกัน คือเป็นจังหวัดที่มีชายแดน ติดต่อกับพม่า มีการค้าชายแดน มีการค้าหยกอัญมณี และมีศิลปวัฒนธรรมระหว่างประเทศที่สอดคล้องกัน
นอกจากนี้ เขาหวังว่าการพัฒนาความสัมพันธ์กับเต๋อหง จะทำให้จังหวัดตากสามารถนำรูปแบบการพัฒนาเมืองชายแดนจีน-พม่า มาปรับใช้กับพื้นที่ชายแดนตาก โดยเฉพาะแนวทางการพัฒนาเขตเศรษฐกิจร่วมเจียก้าว-มูเซน่าจะนำมาปรับใช้กับพื้นที่แม่สอด-เมียวดี ได้ หลังจากที่จังหวัดตากมีการผลักดันให้รัฐบาลประกาศจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดนมาอย่างยาวนานแต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีผลเป็นรูปธรรมใดๆ ออกมา
ขณะที่เต๋อหงสามารถใช้เขตเศรษฐกิจพิเศษเจียก้าวเป็นตัวเปิดต่อยอด ความสัมพันธ์กับพม่าที่มีอยู่เดิมมาช่วยพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ชายแดนอย่างได้ผล
"เรามองการเติบโตของเต๋อหง ในฐานะที่เป็นเมืองชายแดนเหมือนกันมานานกว่า 10 ปีแล้ว ซึ่ง 10 กว่าปีที่แล้ว คณะหอการค้าตาก เคยเดินทางไปดูงานที่เต๋อหง-รุ่ยลี่ รวมถึงชายแดนเจียก้าว ตอนนั้นแทบจะไม่มีอะไรเลย แต่วันนี้ทุกอย่างเปลี่ยนหมด" บรรพตกล่าว
ปณิธิ ตั้งผาติ ประธานประชาคมตาก หรือเฉิน ฮั่นจั่น ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ปลุกปั้นความสัมพันธ์ระหว่างตาก-เต๋อหง มาตั้งแต่ต้น บอกว่าหลังจากสถาปนาความสัมพันธ์บ้านพี่เมืองน้องกันอย่างถาวรแล้ว ก็จะมีกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ข้อตกลงระหว่างกันมีผลในทางปฏิบัติ
เนื่องจากตลอดระยะที่ผ่านมาการลงนามในลักษณะบ้านพี่เมืองน้องระหว่างจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ กับต่างประเทศเกิดขึ้นหลายคู่ แต่ส่วนใหญ่ไม่มีผลในทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมตามมา จนกลายเป็นประเด็นปัญหาต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศขึ้น ซึ่งเมื่อคราวการประชุมร่วมระหว่างกงสุลไทยทั่วโลก กับผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดน เมื่อเดือนพฤษภาคม 2550 ที่ผ่านมา ได้หยิบยกประเด็นปัญหานี้ขึ้นหารือ เพราะเห็นว่า MOU บ้านพี่เมืองน้องต่างๆ ที่มีการลงนามกันมาระยะ 20-30 ปีที่ผ่านมา ไม่ได้มีการนำมาปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง หรือ เมื่อผู้บริหารหน่วยงาน-องค์กร (โดยเฉพาะฝ่ายไทย) มีการเปลี่ยนแปลง ข้อตกลงต่างๆ ที่มีอยู่ก็มักจะถูกเก็บเข้าลิ้นชัก ไม่ได้รับการสานต่อไปด้วย ทำให้กระทรวงการต่างประเทศ-กระทรวงมหาดไทย มีนโยบายที่จะทบทวน MOU ต่างๆ ที่ส่วนราชการของไทยเคยลงนามร่วมกับต่างประเทศในระยะเวลาที่ผ่านมาใหม่ทั้งหมด
|
|
|
|
|