Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2531








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2531
"อุทธรณ์ เตชะไพบูลย์ จะลงเวทีแต่ยังไม่ได้ลง!"             
 


   
search resources

ธนาคารศรีนคร
อุทธรณ์ เตชะไพบูลย์
Banking




หลังจากอยู่บนเก้าอี้กรรมการผู้จัดการธนาคารศรีนครมาตั้งแต่ปี 2521 อุทธรณ์ เตชะไพบูลย์ น้องชายคนที่หกแห่งตระกูลเตชะไพบูลย์ก็ถึงคราวที่จะต้องลุกขึ้นจากเก้าอี้ตัวนี้ นับเป็นนายแบงก์คนล่าสุดที่อำลาวงการไป

อุทธรณ์ เตชะไพบูลย์ ลาออกจากการเป็นกรรมการผู้จัดการธนาคารศรีนคร เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน โดยให้เหตุผลว่าสุขภาพไม่ดี ต้องการพักผ่อน

ธนาคารศรีนครในรอบปีที่ผ่านมามีข่าววุ่นวายอยู่พอสมควร เหตุแห่งความวุ่นวายนี้ มาจากความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานจากภาพพจน์ของธนาคารที่บริหารในระบบครอบครัวไปสู่ความเป็นมืออาชีพ ด้วยการดึงเอาคนภายนอกเข้าไปดำรงตำแหน่งสำคัญในธนาคารคือ ดุษฎี สวัสดิ-ชูโต อดีตผู้อำนวยการธนาคารออมสินเป็นกรรมการบริหารและ สุวัฒน์ รัชไชยบุญ อดีตผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรองกรรมการผู้จัดการธนาคารเมื่อปลายปี 2529 ก่อนหน้านั้น สมพงษ์ ธนะโสภณ อดีตรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยได้เข้าไปเป็นประธานคณะกรรมการบริหารอยู่แล้ว

สามสิบกว่าปีของธนาคารศรีนครนั้นอยู่ภายใต้การบริหารของตระกูลเตชะไพบูลย์มาโดยตลอด และก็ไม่ต่างจากอีกหลาย ๆ แห่งที่บริหารงานกันในระบบครอบครัว กล่าวกันว่า มีการปล่อยเงินกู้ให้กับกิจการในเครือโดยไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันอย่างเพียงพอ ซึ่งต่อมา ดุษฎี สวัสดิ-ชูโต มาปฏิเสธว่าไม่จริง ธนาคารศรีนครอาจจะโชคดีอยู่บ้างที่ทางแบงก์ชาติเฝ้าดูอยู่และมีการร่วมมือแก้ไขปัญหากันอยู่ตลอดเวลา อุเทน เตชะไพบูลย์เองก็คงจะตระหนักดีว่าถ้าไม่มีการปรับปรุงแก้ไขชะตากรรมแบบเดียวกับธนาคารและบริษัทเงินทุนหลาย ๆ แห่งก็คงจะต้องเกิดขึ้นกับศรีนคร

การเปลี่ยนแปลงก้าวแรกของศรีนครภายหลังจากดึงเอามืออาชีพเข้ามาแล้วคือการปรับโครงสร้างการบริหารครั้งใหญ่เมื่อกลางเดือนมีนาคม 2530 การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เป็นการกระจายอำนาจให้มีอาชีพที่จ้างเข้ามามากขึ้น และลดอำนาจของคนในตระกูลลง ภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ก็มีใบปลิวคัดค้านออกมาแจกจ่ายในหมู่พนักงานคัดค้านออกมาแจกจ่ายในหมู่พนักงานคัดค้านบ้างก็ตาม โดยอ้างว่าเป็นแผนการฮุบอำนาจของมืออาชีพ จนอุเทนต้องออกโรงมายุติเรื่องนี้เอง

กรณีของอุทธรณ์เองก็ว่ากันว่าเป็นขั้นตอนหนึ่งของการปรับปรุงธนาคาร อุทธรณ์อยู่ในตำแหน่งนี้เกือบ 10 ปี ช่วงเวลาที่อุทธรณ์อยู่ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการมีการปล่อยกู้ให้กับกิจการต่าง ๆ มากที่สุด

แต่อุทธรณ์กลับได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองประธานธนาคารภายหลังการลาออกและลูกชายคนโตของอุเทน คือ วิเชียร เตชะไพบูลย์ เข้ารับตำแหน่งสืบแทน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us