|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |

จวบจนวันนี้ ดูเหมือนยังไม่มีใครไม่ยอมรับว่า "ทับทิมพม่า" เป็นทับทิมที่ดีที่สุดในโลก นอกจากนี้ยังมีอัญมณีอื่นๆ ทั้งไข่มุก หยก ที่กลายเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของพม่าจนถึงปัจจุบัน
ในอดีตช่วงปี 1960-1980 หยก-ทับทิมพม่าถูกส่งออกผ่านช่องทางต่างๆ ตามแนวชายแดนไทย โดยเฉพาะภาคเหนือ ที่ใกล้แหล่งสินแร่ที่มีราคาเหล่านี้ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเขตอิทธิพลชนกลุ่มน้อยในพม่า มี อ.แม่สาย จ.เชียงราย อ.แม่สอด จ.ตาก และ จ.เชียงใหม่ เป็นศูนย์กลางการซื้อขาย
ซึ่งในยุคนั้นพ่อค้าอัญมณีจากหลาก ประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะฮ่องกง-ไต้หวัน ต่างก็บินเข้ามาปักหลักเหมาโรงแรมพักกันเป็นเดือนๆ เพื่อรอเลือกซื้อหยกเนื้อดี-ทับทิมสีเลือดนก ที่ "กุลี" หรือ "แกลี" จะ ลักลอบนำผ่านชายแดนเข้ามาส่งให้กับพ่อค้าคนกลาง
โดยเฉพาะเชียงใหม่ที่โต้โผใหญ่ในกลุ่มค้าหยก-ทับทิมพม่ายุคนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นคนในกองพล 93 (ก๊กมินตั๋ง) ที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย พร้อมกับอาศัยสายสัมพันธ์ดั้งเดิมหันมาค้าขายหยก-อัญมณีจากพม่ากันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน
ว่ากันว่าแค่นามบัตรของพ่อค้าหยก สมาชิกกองพล 93 บางคนสามารถทำให้ "กุลี" ขนหยกจากพม่าเดินเล่นตามท้องที่ต่างๆ ของเชียงใหม่ได้โดยไม่ถูกตรวจจับจากเจ้าหน้าที่
"มูลค่าประเมินไม่ได้ เพราะเป็น การค้านอกระบบทั้งหมด แต่น่าจะเกินหมื่นล้านบาทต่อปีต่อจุด" ปณิธิ ตั้งผาติ ประธานประชาคมตาก, ที่ปรึกษาหอการค้าจังหวัดตาก ที่ในแวดวงพ่อค้าชายแดนพม่า ตั้งชื่อให้ว่า "อู ซานเมี๊ยะ" กล่าว และให้เหตุผลว่า เพราะทับทิม-หยกเนื้อดีบางชิ้นซื้อขายกันในราคาหลักสิบล้าน-ร้อยล้านบาท
ขณะที่รัฐบาลพม่าที่ผูกขาดการทำเหมืองแร่หยก-อัญมณีทั่วประเทศอยู่ในยุคนั้น ไม่สามารถควบคุมได้เบ็ดเสร็จ ทำให้มีการลักลอบนำออกมาขายผ่านช่องทางชายแดนภาคเหนือของไทยกันอย่างคึกคัก
กระทั่ง พ.ศ.2531 หรือ ค.ศ.1988 รัฐบาลพม่าเริ่มเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ ทำให้ อุตสาหกรรมอัญมณีของพม่าเติบโตอย่างรวดเร็ว มีการตั้งกระทรวงเหมืองแร่และวิสาหกิจอัญมณีพม่า เพื่อควบคุม ดูแลการผลิตและจำหน่ายอัญมณีจนถึง พ.ศ. 2543 หรือ ค.ศ.2000 รัฐบาลพม่าได้ร่วมทุนกับเอกชนกว่า 10 บริษัท ทำเหมืองอัญมณีในประเทศ
พร้อมๆ กับการสกัดกั้นไม่ให้มีการลักลอบนำหยก-ทับทิมและอัญมณีอื่นๆ ออกมาจำหน่ายในตลาดมืดผ่านชายแดนต่างๆ เช่นเคย โดยจัดงานแสดง-ประมูลอัญมณีขึ้นเป็นประจำปีละ 2 ครั้งที่กรุงร่างกุ้ง เพื่อดึงดูดลูกค้าต่างประเทศ โดยเฉพาะจากจีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น และไทย
ประกอบกับตั้งแต่ปี 1985 สป.จีน เริ่มเปิดชายแดน พัฒนาช่องทางการค้าตามแนวพรมแดนรอบด้าน โดยเฉพาะด้าน ตะวันตกเฉียงใต้ดังกล่าว ทำให้เส้นทาง การค้าหยก-ทับทิมจากพม่า ที่เคยผ่านพรมแดนไทยเข้ามา จนทำให้ "แม่สอด-แม่สาย-เชียงใหม่"ซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางการซื้อขายมานานหลายสิบปีเริ่มเปลี่ยนไป โดยเฉพาะตั้งแต่ปี 1995 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน หยก-ทับทิม อัญมณีอื่นๆ จากพม่า ส่วนใหญ่ล้วนแต่ถูกส่งผ่านตลาด สป.จีนแทบทั้งสิ้น
รวมถึงชายแดนด้านเขตเศรษฐกิจพิเศษเจียก้าว-มูเซ ที่ปัจจุบันนอกจากจะมีแหล่งจำหน่ายอัญมณีชั้นดีจากพม่าอยู่ตาม ถนนจีน-พม่าแล้ว บริเวณ "รุ่ยลี่"ก็มีถนนอัญมณีที่เป็นศูนย์รวมการซื้อขายหยก-ทับทิม-ไม้กลายเป็นหิน ตลอดจนอัญมณีอื่นๆ จากพม่า มีผู้ประกอบการน้อย-ใหญ่ หลายร้อยราย
ที่นี่มีธุรกรรมการซื้อขายเกิดขึ้นไม่หยุด ผู้ค้าอัญมณีรายใหญ่จากฮ่องกง ญี่ปุ่น ไต้หวัน ที่ก่อนหน้านี้เคยมุ่งหน้าเข้ามารอรับซื้อที่แม่สาย-แม่สอด-เชียงใหม่ ต่างก็มุ่งหน้าเข้า สป.จีน ที่รับซื้อเข้ามาแบบไม่อั้นแทบทั้งสิ้น
ซึ่งแม้ว่าสภาคองเกรสของสหรัฐ อเมริกาจะผ่านร่างกฎหมายห้ามนำเข้าอัญมณีจากพม่า แม้ว่าจะผ่านการเจียระไน จากประเทศที่ 3 แล้ว รวมถึง 17 ประเทศ กลุ่มสหภาพยุโรป ก็มีมติบอยคอตอัญมณี-ไม้จากพม่า หลังเหตุการณ์รัฐบาลทหารพม่าปราบประชาชนครั้งล่าสุดที่ผ่านมาก็ตาม
แต่ไม่ได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อธุรกรรมการซื้อ-ขายหยก ณ ชายแดนพม่า-จีนแห่งนี้แม้แต่น้อย
อย่างไรก็ตาม เพื่อฟื้นฟูภาพแห่งการเป็นศูนย์กลางการซื้อขายหยก-อัญมณีพม่าของแม่สอดในอดีต รวมถึงกระตุ้นเศรษฐกิจ-การท่องเที่ยวของชายแดนแม่สอด จ.ตาก พาณิชย์จังหวัดตาก-สภาอุตสาหกรรม จ.ตาก และหอการค้าจังหวัดตาก ได้ร่วมกันจัดงาน "เปิดตลาดพลอยและอัญมณีแม่สอด"ขึ้นระหว่างวันที่ 6-8 กุมภาพันธ์ 2552 ณ ย่านสยามเจมส์เซนเตอร์ ถนนประสาทวิถี เขตเทศบาลเมืองแม่สอด แหล่งค้าขายหยกพม่า แต่ดั้งเดิม
โดยระดมผู้ประกอบการที่มีอยู่ร่วมๆ 160-200 ราย ร่วมออกร้านจำหน่ายอัญมณี-เครื่องประดับ พร้อมกับกิจกรรมเดินแบบ ที่แต่งกายด้วยเครื่องประดับที่สวยงาม
พัชรี พงษ์พิทักษ์ พาณิชย์จังหวัดตาก คาคหวังว่าจะนำตลาดพลอย-อัญมณีแม่สอด กลับมาฟื้นคืนชีพอีกครั้งหนึ่ง
ขณะที่บรรพต ก่อเกียรติเจริญ ประธานหอการค้าจังหวัดตาก วาดหวังว่า งานนี้จะกระตุ้นเศรษฐกิจการค้าอัญมณีให้กลับคืนมาสู่แม่สอด หากนักท่องเที่ยวและผู้ที่ชอบซื้อสินค้าอัญมณีเครื่องประดับไม่มั่นใจหรือคิดว่าปลอม สามารถคืนได้ทุกชิ้น
โดยหอการค้าจังหวัดตาก รับเป็นสื่อกลางในการร่วมกับผู้ประกอบการ ออกใบรับรองมาตรฐานสินค้าจากสถาบันรับรองมาตรฐานสินค้าอัญมณี สินค้าทุกชิ้นจะซื้อ-ขายกันในราคาที่พึงพอใจระหว่างผู้ซื้อ-ผู้ขาย โดยการดูแลของพาณิชย์จังหวัด-หอการค้าจังหวัด และสภาอุตสาหกรรมจังหวัดตาก
|
|
 |
|
|