Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กุมภาพันธ์ 2552
น่งเต่า : หนองเตา หมู่บ้านที่ไทยน่าจะดูเป็นเยี่ยงอย่าง             
โดย เอกรัตน์ บรรเลง
 

   
related stories

"เต๋อหง" ช่องทางสินค้าจีนที่ไทยไม่อาจมองข้าม
ทับทิม-หยกพม่า! จากแม่สอด-แม่สาย-เชียงใหม่ วันนี้อยู่ที่เต๋อหง
"ตาก-เต๋อหง" Sister City

   
search resources

Commercial and business
International




บริเวณเมืองชายแดนของแต่ละประเทศ มักถูกใช้เป็น Buffer State เพื่อความมั่นคงของรัฐชาติมาหลายทศวรรษ แต่ที่พรมแดนจีน-พม่า พื้นที่ชายแดนระหว่างมูเซของพม่ากับรุ่ยลี่ เขตปกครองตนเองชนชาติไต-จิงโพ่แห่งเต๋อหง มณฑลหยุนหนัน สป.จีน กลับถูกนำมาใช้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เป็นพื้นที่พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ที่สามารถต่อยอดไปสู่การพัฒนาการค้า-การลงทุนระหว่างกันได้อย่างน่าสนใจ

โดยที่หมู่บ้านน่งเต่า ในสำเนียงชาวไต หรือไทลื้อ หรือ "หนองเตา" ของคนไทยทางภาคเหนือ (หมายถึงหนองน้ำที่มีสาหร่าย) เป็นชุมชนชายแดนจีน-พม่า ที่เส้นพรมแดนตัวกำหนดเขตแดนรัฐชาติของ 2 ประเทศไม่มีผลต่อวิถีชีวิตของผู้คนในชุมชน

เพราะตั้งแต่ปี 1960 ซึ่งจีนและพม่า บรรลุข้อตกลงในการปักปันเขตแดน ทำให้ หมู่บ้านแห่งนี้ถูกเส้นเขตแดนผ่าลงกลางหมู่บ้าน กลายเป็น "1 หมู่บ้าน 2 ประเทศ"นับแต่นั้นเป็นต้นมา

อย่างไรก็ตาม ความเป็นรัฐชาติที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศนั้นๆ กลับไม่มีผลสำหรับชุมชนน่งเต่า ที่มีกว่า 100 ครัวเรือนแห่งนี้

"หลักเขตแดน-ด่านตรวจคนเข้าเมือง พิธีการทางศุลกากรต่างๆ สำหรับที่นี่เป็นเพียงสัญลักษณ์เท่านั้น แต่มีผลต่อวิถีชีวิตคนในชุมชนที่ถูกแยกให้อยู่คนละประเทศ" Yang Guosheng ผู้อำนวยการ ฝ่ายกิจการต่างประเทศ รัฐบาลประชาชน เขตปกครองตนเองเต๋อหง อธิบาย

ชาวบ้านในหมู่บ้านน่งเต่าแห่งนี้ยังคงดำเนินวิถีชีวิตกันตามปกติ สามารถข้าม แดนไปมาภายในหมู่บ้านได้โดยไม่ต้องตรวจลงตราเอกสารผ่านแดนใดๆ หรือในกรณีที่หนุ่มสาวภายในหมู่บ้านที่ถูกเส้นเขตแดนแยกให้อยู่เป็น 2 ประเทศต้องการแต่งงานกัน ก็เพียงแต่ทำเรื่องขออนุญาตจากหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ก็สามารถเข้าพิธีได้

ซึ่งแสดงให้เห็นว่า "เขตแดน" เป็นเพียงองค์ประกอบในความเป็นรัฐชาติของทั้ง 2 ประเทศเท่านั้น

ไม่เพียงเท่านั้น ความที่เป็น 1 หมู่บ้าน 2 ประเทศ ทำให้ทางการทั้งของจีนและพม่า ได้จับจุดนี้ขึ้นมาเป็นจุดดึงดูด นักท่องเที่ยว

บริเวณริมเส้นเขตแดนมีบ่อน้ำบาดาลอยู่บ่อหนึ่ง ซึ่งคนในหมู่บ้านแห่งนี้ใช้บริโภคมาตั้งแต่รุ่นปู่ ย่า ตา ยาย จนถึงทุกวันนี้ หลังจากมีการปักปันเขตแดนได้มีการก่อสร้างบ่อน้ำให้มีความทันสมัยขึ้น มีการเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวก อาทิ หม้อ กรองน้ำดื่มที่สร้างขึ้นใหม่ทับเส้นเขตแดน โดยด้านหนึ่งเขียนไว้ว่าพม่า และอีกด้านหนึ่งระบุว่าอยู่ฝั่ง สป.จีน กลายเป็น "บ่อน้ำบาดาล 2 ชาติ" ไปโดยปริยาย

เช่นเดียวกับ "ชิงช้า" กลางหมู่บ้าน ที่ถูกสร้างขึ้นบนเส้นเขตแดนจีน-พม่าอีกเช่นกัน จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของสัญลักษณ์ความเป็น 1 หมู่บ้าน 2 ประเทศ แห่งนี้ เมื่อผู้นั่งโล้ชิงช้าไปด้านหลังก็จะเข้าไปอยู่ในเขตประเทศพม่า ถ้าโล้มาด้านหน้าก็จะอยู่ในเขต สป.จีน

ความเป็นรัฐชาติทั้งของพม่าและจีน ถูกยกไว้นอกหมู่บ้านน่งเต่า

นอกจากนั้นทางการจีนยังโปรโมต ให้หมู่บ้านแห่งนี้เป็น 1 ในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของรุ่ยลี่

แน่นอนว่าการบริหารความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศที่แม้ว่าจะมีพื้นที่ล่อแหลม เสี่ยงต่อการกระทบกระทั่งระหว่างกันในลักษณะนี้ สามารถนำมาต่อยอดเพื่อการพัฒนาความมั่งคั่งให้กับประชาชนทั้ง 2 ฝั่ง

แต่ดูเหมือนแนวทางการพัฒนาความสัมพันธ์ลักษณะนี้กลับไม่ปรากฏขึ้นในพื้นที่ชายแดนไทยกับเพื่อนบ้านตลอดแนว ไม่ว่าจะเป็นกับลาว กัมพูชา พม่า หรือแม้แต่มาเลเซีย

ทางการไทยน่าจะดูเป็นเยี่ยงอย่าง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us