Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กุมภาพันธ์ 2552
ASEAN STRATEGY             
โดย สมศักดิ์ ดำรงสุนทรชัย
 

   
related stories

CIMB รุกคืบอย่างมีเป้าหมาย

   
www resources

Association of Southeast Asian Nations Homepage

   
search resources

Economics
International
Association of Southeast Asian Nations




ขณะที่การประชุมสุดยอดของบรรดาผู้นำประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ASEAN Summit ครั้งที่ 14 กำลังถูกโหมประโคมและให้ความสำคัญในฐานะที่เป็นประหนึ่งหลักไมล์ในการฟื้นฟูความเชื่อมั่น ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับเกียรติภูมิของประเทศอย่างเอิกเกริก

แต่ประเด็นว่าด้วยมิติทางยุทธศาสตร์และทิศทางของแนวนโยบายที่จะต้องผลิตสร้าง เพื่อรองรับกับการเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญ ภายใต้บริบทใหม่หลังจากที่กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) จะมีผลใช้บังคับกลับไม่ได้รับการพิจารณาอย่างจริงจังเท่าที่ควร

ตลอดระยะเวลากว่า 42 ปีของประวัติความเป็นมาและการก่อตั้ง ASEAN กลไกรัฐของประเทศไทยมักหยิบยกความสำคัญและขยายภาพ ที่น่าภาคภูมิใจของไทยในฐานะที่เป็นศูนย์กลางของ ASEAN ในด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นอานิสงส์ที่เกิดขึ้นจากสภาพทางภูมิรัฐศาสตร์ที่กลไกรัฐไม่ต้องลงแรงใดๆ มากนัก

หากแต่ในความเป็นจริงของยุคสมัยปัจจุบัน กรณีดังกล่าวอาจไม่เพียงพอสำหรับการดำเนินไปข้างหน้า เพราะปัจจุบันความสามารถในมิติของเทคโนโลยีได้ก้าวข้ามขอบเขตของบริบททางภูมิศาสตร์ไปไกลแล้ว

ขณะเดียวกันศักยภาพในการแข่งขันด้วยการอาศัยข้อได้เปรียบ ในเรื่องแรงงานราคาต่ำที่เคยเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในอดีต กำลังถูกประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงใช้เป็นจุดขาย เพื่อเชื้อเชิญให้ผู้ประกอบการตัดสินใจย้ายฐานการผลิตไปสู่พื้นที่ใหม่

ประกอบกับข้อเท็จจริงที่ว่ากระบวน การผลิตสมัยใหม่ได้พัฒนาก้าวหน้าไปจาก เดิมมาก ควบคู่กับการแสวงหาบริการที่มีคุณภาพ ซึ่งย่อมมิได้เกิดขึ้นอย่างบังเอิญ หากเป็นผลจากกระบวนการที่ต้องอาศัยการวางแผนและเพิ่มพูนศักยภาพการแข่งขันในมิติของความสามารถในการผลิตอย่างจริงจังด้วย

ความแตกต่างในลำดับขั้นการพัฒนาของภาคีสมาชิกอาเซียน ซึ่งครั้งหนึ่ง อาจทำให้กลไกรัฐไทยเชื่อว่า ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่ก้าวหน้าและสามารถ รังสรรค์ประโยชน์ได้กว้างไกลกว่าสมาชิกบางประเทศที่ยังไม่มีความพรั่งพร้อมทั้งในเรื่องของระบบสังคม กฎหมาย และพัฒนาการด้านสาธารณูปโภค กำลังเป็นเพียงมายาภาพที่ตามหลอกหลอนและสั่นคลอนความเชื่อมั่นของผู้คนอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

เพราะในขณะที่เพื่อนสมาชิกในอาเซียนประเทศเร่งระดมเสริมสร้างพัฒนา การต่างๆ อย่างหนักแน่นจริงจัง ประเทศไทยกลับตกอยู่ในอาการหยุดนิ่งและในหลายกรณีกลายเป็นการพัฒนาย้อนกลับ ที่ส่งให้ตำแหน่งแห่งที่ของไทยในเวทีระดับนานาชาติ มีลักษณะถอยหลังอีกด้วย

สังคมไทยอาจจะเชื่อและเข้าใจมาตลอดว่า เรามีความเหนือกว่าประเทศเพื่อนบ้านทั้งหลายในกลุ่มอาเซียนด้วยกัน

พร้อมกับทัศนะที่ประเมินประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงทั้งหลายโดยเฉพาะประเทศในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง ทั้งพม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม เป็นเพียงแหล่ง ทรัพยากรที่รัฐและเอกชนไทยพร้อมจะเข้า ไปแสวงประโยชน์

ความด้อยประสิทธิภาพของกลไกรัฐไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งสะท้อนผ่านวิธีคิดที่จะผลักดันให้ธุรกิจการท่องเที่ยว เป็นจักรกลสำคัญในการแสวงหารายได้เข้า สู่ประเทศ ภายใต้มิติมุมมองที่ว่าธุรกิจดังกล่าว เป็นประหนึ่งกระบวนการเปลี่ยนผ่าน จากการรับจ้างแรงงานในสังคมเกษตร และอุตสาหกรรม ไปสู่สังคมภาคบริการได้ส่งผล ให้สังคมไทยขาดแคลนกระบวนทัศน์ของการพัฒนาเพื่อเพิ่มพูนผลผลิตไปโดยปริยาย

ความสำเร็จของการกระตุ้นเศรษฐกิจถูกประเมินด้วยตัวเลขจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี ควบคู่กับปริมาณของผู้คนที่หลั่งไหลเข้าสู่ภาคธุรกิจบริการและการท่องเที่ยว เพื่อรองรับการเติบโตดังกล่าว โดยละเลยที่จะระแวดระวังว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวนี้เป็นธุรกิจที่ต้องพึ่งพิงปัจจัยแวดล้อมที่ควบคุมไม่ได้อีกหลายประการ

แม้จะมีการกล่าวอ้างว่าการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในแต่ละพื้นที่ สามารถก่อให้เกิดโครงการพัฒนาด้านสาธารณูปโภคหลากหลายประการ ซึ่งย่อมส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์

หากแต่ในความเป็นจริง สาธารณูปโภคพื้นฐานเหล่านั้นถูกหยิบยื่นให้กับชุมชนในฐานะความทันสมัยที่เข้ารุกราน และอาจเบียดแทรกให้ชุมชนดั้งเดิมต้องพบกับความล่มสลายไปในที่สุด

ขณะเดียวกัน หากประเมินแหล่งท่องเที่ยวที่ประเทศไทยมีอยู่ โดยเทียบเคียงกับสิ่งที่ประเทศเพื่อนบ้านในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงสามารถหยิบยื่นให้กับนักท่องเที่ยวแล้ว ประเด็นที่น่าสนใจอยู่ที่แหล่งท่องเที่ยวของประเทศเพื่อนบ้านเหล่านี้มีความสดใหม่ และอุดมด้วยเรื่องราวที่น่าตื่นตาตื่นใจไม่น้อย

ข้อได้เปรียบเดียวที่ประเทศไทยมีอยู่ในมิติของการท่องเที่ยวในห้วงเวลาปัจจุบันนี้ ดูจะมีเพียงประเด็นว่าด้วยความสะดวกในเรื่องของการเดินทางเท่านั้น ที่อาจเป็นปัจจัยในการตัดสินใจเดินทางมาท่องเที่ยว

แต่เหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งมีจุดสนใจอยู่ที่การปิดล้อมสนามบินนานาชาติได้ฉุดให้สถานการณ์ความได้เปรียบดังกล่าวหดหายไปอย่างสิ้นเชิง

เพราะกรณีดังกล่าวไม่ได้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยแต่เพียงลำพังเท่านั้น หากยังส่งผลให้ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมอื่นๆ ของไทยได้รับผลกระทบด้วย

พร้อมกันนี้ กรณีดังกล่าวได้กลายเป็นประหนึ่งสัญญาณเตือนภัยที่ส่งผ่านไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงของไทย ซึ่งก่อนหน้านี้อาจหวังพึ่งพาประเทศไทยในฐานะที่เป็น gateway ของการท่องเที่ยวในภูมิภาคให้ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์และวางแผนเพื่อ รองรับกับปรากฏการณ์ไม่พึงประสงค์ในอนาคต

และทำให้ความพยายามของไทยที่จะผลักดันและประชาสัมพันธ์ว่าเป็นศูนย์กลาง ทางการบินในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เสื่อมความน่าเชื่อถือไปโดยปริยาย

กระนั้นก็ดี ประเทศเพื่อนบ้านในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงเหล่านี้มิได้จำกัดบริบทของการพัฒนาไว้ที่การท่องเที่ยวเท่านั้น หากยังมุ่งวางยุทธศาสตร์การพัฒนาที่พร้อมจะผูกพัน ระบบเศรษฐกิจเข้ากับกลไกความเป็นไปในระดับสากลอย่างต่อเนื่อง

ก่อนหน้านี้ประเทศในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงอาจพึ่งพาหรืออาศัยความช่วยเหลือสนับสนุนจากจีน ญี่ปุ่น รวมถึงเกาหลีใต้เป็นแรงขับเคลื่อนการพัฒนา หากแต่ในปัจจุบัน ประเทศในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงกำลังแสวงหาพันธมิตรทางยุทธศาสตร์สำหรับโอกาสใหม่ๆ อยู่เป็นระยะ

กรณีของกัมพูชา เป็นตัวอย่างที่น่าสนใจมากในมิติดังกล่าว

การกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกัมพูชากับประเทศในตะวันออกกลาง โดยเฉพาะ อย่างยิ่งกับคูเวตในช่วงที่ผ่านมา มิได้เป็นเพียงการเปิดช่องทางให้เงินทุนขนาดมหาศาลไหลเข้าสู่กัมพูชาเท่านั้น หากยังกำลังเป็นปัจจัยสำคัญที่จะผลักดันให้กัมพูชาสามารถยกระดับกระบวนการและคุณภาพการผลิตให้ก้าวหน้าทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ

ประเด็นที่น่าสนใจมากอยู่ที่กัมพูชามีแผนจะพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานขึ้นในพื้นที่เขตจังหวัดสีหนุวิลล์ (กัมปงโสม) ในลักษณะของ industrial complex ซึ่งผนวกการสร้างท่าเรือน้ำลึกไว้ในแผนด้วย หลังจากที่มีการสำรวจพบแหล่งน้ำมันดิบในบริเวณอ่าวไทย แต่กัมพูชายังติดขัดในเรื่องของเงิน ลงทุน

สิ่งที่กัมพูชาสามารถทำได้ในปัจจุบัน อาจเป็นเพียงข้อตกลงกับประเทศตะวันออก กลางในลักษณะของ "เงินจากน้ำมันแลกข้าว"ซึ่งกัมพูชาจะต้องเปิดพื้นที่นับล้านไร่ ให้มิตรประเทศจากตะวันออกกลางเหล่านี้เข้ามาเช่าทำประโยชน์ในการปลูกข้าว โดย มีชาวกัมพูชาเป็นผู้ผลิตและมีประเทศผู้เช่า รับซื้อผลผลิตทั้งหมด

กรณีดังกล่าวในด้านหนึ่งอาจถูกประเมินว่าเป็นการเสื่อมเสียเกียรติภูมิและเป็นกรณีที่หมิ่นเหม่ต่อประเด็นว่าด้วยบูรณภาพแห่งดินแดน

หากแต่ในอีกมิติหนึ่ง ปรากฏการณ์ ดังกล่าวเป็นภาพสะท้อนของความพยายาม และแนวนโยบายที่จะสร้างงานให้กับประชาชนชาวกัมพูชา และแสวงหาแหล่งสนับสนุนด้านงบประมาณสำหรับการพัฒนา ประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการก่อสร้างระบบชลประทานและสาธารณูปโภคจำเป็น อื่นๆ อย่างชัดเจน

ขณะเดียวกัน "เงินจากน้ำมันแลกข้าว"มิอาจประเมินในฐานะที่เป็นเพียงการ สร้างหลักประกันในมิติของราคาและแหล่ง ลูกค้าส่งออกเท่านั้น หากในความเป็นจริง ความเคลื่อนไหวของกัมพูชาดังกล่าว ถือเป็นการสร้างโอกาสในการรุกคืบเข้าสู่ตลาด ตะวันออกกลาง ซึ่งอุดมด้วยศักยภาพในการบริโภคอย่างมีองค์รวม

และเป็นการช่วงชิงโอกาสภายใต้สถานการณ์วิกฤติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของการเป็นแหล่งผลิตในอุตสาห-กรรมอาหารที่กำลังเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจในระดับนานาชาติ

ขณะที่ความมุ่งหมายของไทยที่จะเป็น Kitchen of the world ในช่วงก่อนหน้านี้ กลายเป็นเพียงยุทธศาสตร์ที่ถูกละเลยในการติดตามผลในทางปฏิบัติไปอย่างน่าเสียดาย

ยุทธศาสตร์การพัฒนาของประเทศ เพื่อนบ้านที่สะท้อนออกมาอย่างต่อเนื่องมิได้ จำกัดอยู่เฉพาะประเทศในกลุ่มอนุภูมิภาค แม่น้ำโขงที่กำลังเร่งสร้างความแข็งแกร่งให้ ใกล้เคียงหรือทัดเทียมกับประเทศสมาชิกอาเซียนรายอื่นๆ เท่านั้น

หากในความเป็นจริง ประเทศที่มีระดับความก้าวหน้า ทั้งสิงคโปร์ และมาเลเซียต่างก็พยายามกำหนดบทบาทและทิศทางการพัฒนา ซึ่งสามารถสังเกตได้จากคำขวัญ เชิญชวนและส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ปรากฏให้เห็นอยู่เป็นระยะก่อนหน้านี้

ไม่ว่าจะเป็น New Asia ของสิงคโปร์ หรือ Truly Asia ของมาเลเซีย ซึ่งต่างได้สะท้อนบริบททางยุทธศาสตร์ระดับชาติที่พัฒนาไปไกลกว่า Amazing Thailand และมิพักต้องกล่าวถึง "เที่ยวไทยครึกครื้น เศรษฐกิจไทยคึกคัก"ที่มีไว้สื่อสารกับประชาชนในประเทศ

เพราะแม้ว่า New Asia และ Truly Asia จะมีจุดเริ่มต้นจากความพยายามส่งเสริมการท่องเที่ยว หากแต่คำขวัญดังกล่าว กลับงอกเงยและสามารถขยายเนื้อหาสาระครอบคลุมให้เกิดเป็นสำนึกใหม่ของสังคมได้อย่างแยบคาย

โดย New Asia กลายเป็นคำขวัญที่สะท้อนให้เห็นความพยายามและการสร้างแรงกระตุ้นเตือนชาวสิงคโปร์ให้เป็นส่วนหนึ่งในพัฒนาการไปสู่การสร้างให้เกิด ศูนย์กลางใหม่ของเอเชีย-แปซิฟิก ขณะที่ในกรณีของ Truly Asia สามารถสอดรับและเติมเต็มช่องห่างจากความหลากหลายทางเชื้อชาติของชาวมาเลเซียไปในคราวเดียวกัน

นอกจากนี้กรณีการรุกคืบและขยาย บริบททางธุรกิจให้ครอบคลุมธุรกรรมในระดับภูมิภาคของสถาบันการเงินขนาดใหญ่ จากทั้งสิงคโปร์และมาเลเซียในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เป็นภาพสะท้อนที่บ่งชี้ให้เห็นการปรับตัวและกรอบโครงทางยุทธศาสตร์ที่ไม่อาจละเลย

แม้ว่าบทบาทของสถาบันการเงินจากสิงคโปร์และมาเลเซียในบริบทของสังคมไทย อาจไม่สามารถสรุปเป็นความสำเร็จหรือล้มเหลวได้ในห้วงเวลาปัจจุบัน แต่พวกเขาได้แสดง ให้เห็นถึงความสามารถในการรุกและขยายบทบาทในระดับนานาชาติได้อย่างชัดเจน

ขณะเดียวกัน กลไกร่วมในระดับรัฐและเอกชนของประเทศเหล่านี้ยังดำเนินกิจกรรม อย่างสอดประสานเข้าสู่ตลาดและแหล่งทรัพยากรใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรุกคืบเข้าสู่ตะวันออกกลางในห้วงเวลาปัจจุบัน

บทบาทของ Temasek Holdings บรรษัทที่ดูแลยุทธศาสตร์การลงทุนของรัฐบาลสิงคโปร์ หรือกรณีของ Khazanah Nasional หน่วยงานลักษณะเดียวกันของมาเลเซียเป็นตัวอย่างที่ชัดเจน ซึ่งสะท้อนให้เห็นความแข็งแกร่งและความสามารถในเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างดี

บรรษัทที่มี Temasek Holdings หรือ Khazanah Nasional ถือหุ้นหลักอยู่จำนวน ไม่น้อยได้ก้าวข้ามขอบเขตของการเป็นบรรษัทในสังกัดสัญชาติใดสัญชาติหนึ่งไปสู่การเป็น บรรษัทข้ามชาติ (multinational corporation) อย่างสมบูรณ์ ซึ่งพร้อมส่งผ่านทั้งสินค้า บริการและเทคโนโลยีไปสู่ตลาดเป้าหมายได้อย่างไร้ขีดจำกัด

มิติการดำเนินไปของ Temasek Holdings และ Khazanah Nasional รวมถึงบรรษัทในเครือที่เป็นกลไกหนุนเสริมอีกจำนวนมาก กลายเป็นจักรกลที่พร้อมเปลี่ยนภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประชาคม ASEAN ให้เป็นทั้งตลาดและแหล่งผลิตสำหรับการรุกคืบเพื่อเชื่อมประสานเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจโลก

ที่สำคัญยิ่งกว่านั้น คือการเป็น ASEAN ที่พวกเขาพร้อมจะมีบทบาทนำ ทั้งในฐานะที่เป็นผู้ผลิตสร้าง ASEAN Product ASEAN Brand และ ASEAN Prosperity ซึ่งอาจมีความหมายแคบกว้างตามแต่ความสามารถของแต่ละประเทศภาคีสมาชิกจะกำหนด นิยาม

จริงอยู่ที่ว่าความเป็นไปของ ASEAN ภายใต้บริบทใหม่ ย่อมไม่ใช่ ASEAN ที่กำลัง คำนึงถึงการแข่งขันกันเองภายในประเทศสมาชิก

หากแต่เป็น ASEAN ที่พร้อมก้าวเดินไปข้างหน้า ภายใต้ความร่วมมือและพึ่งพาอาศัยกัน

กระนั้นก็ดี ประเทศไทยในฐานะสมาชิกก่อตั้งและมีบุคลากรชาวไทยดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการอาเซียน รวมถึงวาระที่เป็นประธานในโอกาสที่ ASEAN กำลังก้าวเดินไปสู่ยุคสมัยใหม่จะกำหนดบทบาทและตำแหน่งแห่งที่ในประชาคมแห่งนี้อย่างไร   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us