Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กุมภาพันธ์ 2552
Taiza Gani             
โดย ภก.ดร. ชุมพล ธีรลดานนท์
 





ชุมชนขนาดเล็กบนทำเลชายฝั่งของแหลม Tango ตอนเหนือสุดของเกียวโตทางฟากทะเลญี่ปุ่น (Japan Sea) ที่ชื่อ Taiza อาจจะเป็นเมืองในชนบทที่เคยห่างไกลการรับรู้ของคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ แต่ในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา ชื่อนี้กลายเป็น Big Name ที่ไม่อาจมองข้ามไปได้เนื่องจาก Taiza Gani กำลังเป็นที่กล่าวขานถึงในฐานะ "ปูหิมะรสเลิศที่สุดในญี่ปุ่น"

ด้วยขนาดตัวที่ใหญ่โตกว่าปูทั่วไปอีกทั้งรสที่ละเมียดลิ้นทำให้ปูหิมะเป็นประหนึ่งสัญลักษณ์ของอาหารญี่ปุ่นชั้นยอดประจำฤดูหนาวซึ่งบรรดาร้านอาหารและภัตตาคารหรูหราทั่วญี่ปุ่นต่างมีเมนูอาหารประเภทปูหิมะไว้ชูโรงกันอย่างพร้อมเพรียง ปูหิมะที่คนญี่ปุ่นเรียกว่า Zuwai Gani หรือที่รู้จักในภาษาอังกฤษว่า Snow Crab, Queen Crab ก็ตามนั้นล้วนเป็นปูในสปีชีส์เดียวกันที่จัดอยู่ในอนุกรมวิธานสัตว์มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chionoecetes opilio ซึ่งเป็นปูที่อาศัยอยู่ในเขตหนาวทางเหนือของมหาสมุทรแอต แลนติก, กรีนแลนด์, มหาสมุทรอาร์กติกเรื่อยมาจนถึงอลาสกาและทางเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก รวมไปถึงทะเลญี่ปุ่น

แม้ว่าคนญี่ปุ่นรู้จักปูชนิดนี้ในนาม Zuwai Gani แต่ผู้คนในแถบ San-in (หมายถึงพื้นที่ตอนเหนือของจังหวัด Shimane, Tottori, Hyogo ต่อเนื่องถึง Kyoto ที่อยู่ติดทะเลญี่ปุ่น) และคนที่อยู่ในเขต Kansai (Osaka และปริมณฑล) มักเรียกปูชนิดเดียวกันนี้ว่า Matsuba Gani

เศรษฐกิจของญี่ปุ่นซึ่งเติบโตแบบก้าวกระโดดในช่วงทศวรรษ 1960 เป็นปัจจัยสำคัญที่เร่งให้อุปสงค์ของการบริโภคปูหิมะเพิ่มสูงขึ้นเสริมด้วยการเปิดใช้เส้นทางรถไฟ Tokaido Shinkansen ผ่านวาระการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ในปี 1964 ยิ่งอำนวยความสะดวกในการขนส่งปูหิมะ จากท่าเรือสู่เมืองใหญ่ได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง

ข้อเท็จจริงดังกล่าวส่งผลให้จำนวนประชากร Zuwai Gani ในทะเลญี่ปุ่นลดลงอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 1975 พบว่าปริมาณของปูหิมะที่จับได้เหลือเพียง 10% เมื่อเทียบกับสถิติสูงสุดที่เคยบันทึกไว้

นับแต่นั้นเป็นต้นมาความพยายามในการอนุรักษ์ Zuwai Gani ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องผ่านโครงการต่างๆ ในหลายระดับนำโดยกลุ่มนักวิชาการ ภายใต้การสนับสนุนจากภาครัฐซึ่งสัมฤทธิผลตามเป้าประสงค์ได้ด้วยความร่วมมือของชาวประมงในพื้นที่ตลอดแนวของทะเลญี่ปุ่นต่อเนื่องขึ้นไปถึงเกาะฮอกไกโด

ผลสืบเนื่องอย่างเป็นรูปธรรมในปัจจุบันคือผู้บริโภคจะสามารถลิ้มรส Zuwai Gani สดๆ ได้เฉพาะช่วงระหว่าง 6 พฤศจิกายนไปจนถึง 20 มีนาคมของปีถัดไป ซึ่งหลังจากนั้นหากพอที่จะหามาได้ก็เป็นเพียงปูหิมะแช่แข็ง

ขณะเดียวกันกลุ่มชาวประมงมีข้อตกลงร่วมกันในการกำหนดเขตจับ Zuwai Gani ในน่านน้ำแต่ละแห่งซึ่งนำไปสู่ยุทธศาสตร์การสร้างแบรนด์ของ Zuwai Gani ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของประชาชนในพื้นที่ที่สามารถใช้ชื่อท้องถิ่นตั้งเป็นชื่อแบรนด์ขึ้นมาได้โดยมีแถบพลาสติกรูปแบบเฉพาะซึ่งเรียกกันว่า tag ผูกกำกับไว้ที่กล้ามปูหิมะแต่ละตัว

ตัวอย่างเช่น Matsuba Gani ของเขต San-in ที่จับได้ใน Oki (จังหวัด Shimane) ใช้ tag สีฟ้าเขียนกำกับด้วยอักษรสีขาว, ในจังหวัด Tottori ใช้ tag รูปปูสีขาวเขียนกำกับด้วยอักษรสีแดง, Tsuiyama (จังหวัด) Hyogo ใช้ tag สีน้ำเงิน, Shibayama (จังหวัด Hyogo) ใช้ tag สีชมพู, Taiza (จังหวัด Kyoto) ใช้ tag สีเขียว เป็นต้น

โดยทั่วไป Zuwai Gani ในแต่ละแบรนด์ถือว่าไม่มีความแตกต่างในเชิงกายภาพก็ตามแต่ในความเป็นจริงแล้วความพิถีพิถันในกระบวนการสร้างแบรนด์ที่ไม่เหมือนใครส่งผลให้ Taiza Gani ได้รับความนิยมในอันดับสูงสุด

ชาวประมงใน Taiza ยังคงยึดถือวิธีการจับปูหิมะแบบดั้งเดิมที่สืบทอดมาแต่ยุคเริ่มต้นสมัย Showa (ค.ศ. 1926) โดยใช้เรือเล็กลากอวนในฤดูหนาวบริเวณห่างจากท่าเรือ Taiza ออกไป 30 กิโลเมตรที่ระดับความลึก 200-300 เมตร, อุณหภูมิน้ำทะเล 1-3 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นแหล่งอาหารอันอุดมสมบูรณ์ของปูหิมะ

เนื่องเพราะรสชาติของปูหิมะแปรผันตามความสดใหม่ ซึ่งไม่เพียงแต่คุณภาพของรสปูจะเริ่ม ลดลงหลังจากปูหิมะ ตายเท่านั้นการกักขังไว้บนเรือเป็นเวลาหลายวันทำให้ปูหิมะผ่ายผอมและเป็นเหตุให้สูญเสียรสชาติได้เช่นกันซึ่งปัจจุบันเรือจับปูหิมะของกลุ่มประมงใน Taiza ซึ่งมีเพียง 5 ลำออกทะเลไปกลับภายในวันเดียวโดยจะเลือกเฉพาะปูหิมะอายุราว 10 ปีขึ้นไปที่หนักกว่า 1 กิโลกรัมมีขนาดความกว้างของกระดอง 12-15 เซนติเมตรและมีช่วงตัวยาว 80 เซนติเมตรโดยไม่ทำให้ปูบาดเจ็บในขณะเดียวกัน ปูหิมะขนาดเล็กที่ติดอวนขึ้นมาด้วยจะถูกปล่อยกลับลงทะเลไป

นอกจากนี้สภาพอากาศเป็นอีกตัวแปรสำคัญ ซึ่งหากวันไหนที่คลื่นลมแรงหรือหิมะตกจัดก็ไม่สามารถนำเรือออกทะเลได้ พลันที่นำปูหิมะตัวเป็นๆ กลับถึงท่าเรือ Taiza แล้วผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจะพิจารณาคุณลักษณ์ของ ขนาด รูปร่าง สีของเปลือกที่เป็นประกาย บาดแผล ฯลฯ ซึ่งมีรายละเอียดปลีกย่อยกว่า 50 ประการ ปูหิมะที่ผ่านการเลือกสรรเท่านั้นที่จะติด tag สีเขียว ขึ้นแบรนด์ Taiza Gani ได้

แม้ว่าจำนวนที่ผ่านการคัดเลือกอาจมีไม่มาก นักซึ่งแทนที่จะขายสู่ตลาดสด Taiza Gani กลับถูกส่งไปปรุงเป็นอาหารมื้อค่ำสำหรับบริการแขกของ Ryokan* ใน Taiza ด้วยเหตุนี้จึงยากที่จะซื้อหามารับประทานที่บ้านได้จนทำให้ Taiza Gani ถูกเรียก อีกนัยหนึ่งว่า "Phantom of Crab"

ในขณะเดียวกันกลไกการตลาดดังกล่าวมีศักยภาพในการสร้างแรงจูงใจดึงดูดผู้คนจากทั่วญี่ปุ่นให้หลั่งไหลไปพักที่ Ryokan ใน Taiza เพื่อลิ้มลอง Taiza Gani รสเลิศสักครั้งในชีวิต แม้ว่าการเดินทางสู่ Taiza อาจเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความมานะอยู่พอสมควร

หากเดินทางจากมหานครโตเกียวด้วย Tokaido Shinkansen ขบวน Nozomi จะใช้เวลา 2 ชั่วโมงถึงสถานีเกียวโตจากนั้นต่อรถไฟ JR สาย San-in อีก 2 ชั่วโมงจนถึงสถานี Toyooka แล้วเปลี่ยนรถไฟ Kitakinki Tango Railway (KTR) สาย Miyatsu ลงที่สถานี Amino ใช้เวลา 12 นาที สุดท้ายเดินทางต่อด้วยรถยนต์อีกราว 30 นาที

เสน่ห์อีกอย่างหนึ่งของ Taiza อยู่ที่คำอ่านแบบพิเศษซึ่งคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่เองก็อ่านไม่ได้เพราะตามตัวอักษรคันจิแล้ว " "ไม่ได้อ่านว่า Taiza แต่อย่างใด

ทั้งนี้สืบเนื่องจากในปี ค.ศ.587 จักรพรรดินี Hashiudo ( ) และเจ้าชาย Shotoku เสด็จมาพำนักในสถานที่แห่งนี้จนกระทั่งสงคราม Yamato-senken สงบลง ก่อนเสด็จกลับได้พระราชทานชื่อของพระองค์เป็นการขอบคุณประชาชนในท้องที่แต่ด้วยความที่เกรงว่าข้าศึกฝ่ายตรงข้ามอาจสืบทราบได้และเพื่อระลึกถึงการเสด็จกลับของพระองค์จึงอ่านคันจิ (Hashiudo) เป็นกรณียกเว้นว่า Taiza ซึ่งแปลว่าการจากไป

นอกจากนี้ออนเซนในละแวกใกล้เคียงซึ่งติดริมทะเลญี่ปุ่นและสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ของแหลม Tango อีกหลายแห่งมีส่วนเสริมให้ Taiza trip ได้อรรถรสครบถ้วนผ่านบริบทของการเกื้อกูลซึ่งกันและกันของสมาชิกในชุมชนเล็กๆแห่งนี้ที่สะท้อนวิสัยทัศน์การบริหารและจัดการทรัพยากรธรรมชาติของท้องถิ่นอย่างยั่งยืนและเกิดประโยชน์สูงสุด


หมายเหตุ Ryokan* คือโรงแรมแบบญี่ปุ่นที่มีมาตั้งแต่สมัย เอโดะ (ค.ศ.1603-1868) มักเป็นห้องพักที่ปูด้วยเสื่อ Tatami และมีห้องอาบน้ำรวม นอกจากนี้ส่วนใหญ่จะมีชุด Yukata ไว้บริการอีกด้วย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us