Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กุมภาพันธ์ 2552
กลายเป็นพี่เลี้ยง             
 


   
www resources

โฮมเพจ หลักทรัพย์บัวหลวง, บมจ.

   
search resources

หลักทรัพย์ บัวหลวง, บมจ.
ญาณศักดิ์ มโนมัยพิบูลย์
Financing
พิเชษฐ สิทธิอำนวย




ข่าวการปรับแม่ทัพใหม่ของ บมจ.หลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) ทำให้ห้องแถลงข่าวภายในโรงแรมดุสิตธานีเมื่อกลางเดือนมกราคมอุ่นหนาฝาคั่งไปด้วยสื่อมวลชนและผู้บริหาร เพราะเป็นการเปลี่ยนตัวกรรมการผู้อำนวยการคนที่ 3 ในรอบ 7 ปี

งานแถลงข่าวที่ บมจ.หลักทรัพย์ บัวหลวง จัดขึ้นในวันนั้นมีผู้บริหาร 3 คนที่นั่งอยู่บนเวทีคือ สรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม ประธานกรรมการ ญาณศักดิ์ มโนมัยพิบูลย์ และพิเชษฐ สิทธิอำนวย

ผู้บริหารที่นั่งสังเกตการณ์อยู่ด้านล่างคือ ชอง โท ประธานคณะกรรมการบริหาร ซึ่งก่อนหน้านั้นเขาเคยดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการผู้อำนวยการคนแรกของ บมจ.หลักทรัพย์ บัวหลวงมาก่อน

การเปิดตัวพิเชษฐ สิทธิอำนวย วัย 43 ปี ในตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการของ บมจ.หลักทรัพย์ บัวหลวงที่มีผลตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ แสดงให้เห็นว่าองค์กรแห่งนี้ต้องการเปลี่ยนแปลงโดยให้พิเชษฐสานต่อธุรกิจ

โดยมีเป้าหมายหลักให้พิเชษฐนำพาบริษัทให้ติด 1 ใน 5 บริษัทหลักทรัพย์ในประเทศไทยจากปัจจุบันที่อยู่ในอันดับที่ 7

การเปลี่ยนตำแหน่งครั้งนี้ทำให้ญาณศักดิ์ มโนมัยพิบูลย์ กล่าวด้วยตนเองว่า เต็มใจลดบทบาทจากที่เคยนั่งในตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการมานาน 3 ปี

ส่วนบทบาทใหม่ของญาณศักดิ์จะกลายเป็นพี่เลี้ยงสนับสนุน การทำงานของพิเชษฐ และทีมงาน ส่วนตัวเขาจะมีตำแหน่งเป็นกรรมการบริหาร และมีหน้าที่ในการชักนำธุรกิจต่างๆ เข้ามาให้กับ บมจ.หลักทรัพย์ บัวหลวง และใช้เวลาส่วนหนึ่งทำกิจกรรมต่างๆ ภายนอกที่จะเป็นประโยชน์กับบริษัทและอุตสาหกรรม

บทบาทการทำงานของญาณศักดิ์จะเรียบง่ายและไม่ได้ตัดขาดจากบัวหลวง และที่สำคัญเขายังอยู่ในฐานะผู้ถือหุ้น 1.17% รวมถึงปรารถนา ภรรยาของเขาถือหุ้น 0.003%

ญาณศักดิ์ปฏิเสธไม่มีความขัดแย้งใดๆ และไม่มีการบีบหรือกดดันเขา หากมีความขัดแย้งเกิดขึ้นเชื่อว่าจะไม่มีภาพของเขา นั่งร่วมแถลงข่าวกับผู้บริหารของ บมจ.หลักทรัพย์ บัวหลวงที่เต็มไปด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะอย่างแน่นอน

สำหรับพิเชษฐไม่ได้เป็นผู้บริหารใหม่ของบัวหลวง เพราะเขาเป็นกรรมการตรวจสอบ กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบ แทนตั้งแต่ปี 2548 ที่ผ่านมา ทำให้เขาคุ้นเคยการทำงานและรู้แนวทางเป้าหมายของ บมจ.หลักทรัพย์ บัวหลวง

และก่อนหน้านี้เขามีประสบการณ์ทำงานร่วมกับญาณศักดิ์ที่ บล.เจ.เอฟ.ธนาคม ร่วม 6 ปี

การเปลี่ยนแปลงผู้บริหารไม่ได้เปลี่ยนตำแหน่งในส่วนของกรรมการผู้อำนวยการเพียงตำแหน่งเดียว แต่ได้เลื่อนตำแหน่งผู้บริหารอีก 3 ราย ได้แก่ กำธร ศิลาอ่อน และวรารัตน์ ชุติมิต ขึ้นเป็นรองกรรมการผู้อำนวยการสายงานวาณิชธนกิจ จากเดิมที่อยู่ในตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการสายงานวาณิชธนกิจ

และได้แต่งตั้งอรนุช วชิรัคศศวกุล เป็นรองกรรมการผู้จัดการ สายงานค้าหลักทรัพย์สถาบัน จากเดิมเป็นผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการสายงานค้าหลักทรัพย์สถาบัน

การปรับเปลี่ยนผู้บริหารใหม่ทำให้ทีมงานกล้าที่จะเปลี่ยน แปลงเป้าหมายแม้รู้ดีว่าธุรกิจหลักทรัพย์จะมีความผันผวนมากจากผลกระทบเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ

เป้าหมายของบริษัทจะเน้นการเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดในธุรกิจ นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์เพิ่มขึ้นจาก 4% ใน 2551 เป็น 5% ในปี 2552 เพิ่มส่วนแบ่งธุรกิจอนุพันธ์จาก 4.7% ใน 2551 เป็น 5.2% โดยเน้นกลยุทธ์เรื่อง Wealth Management สำหรับลูกค้าบุคคล

ส่วนธุรกิจวาณิชธนกิจจะเพิ่มรายได้จาก 90 ล้านบาท เป็น 120 ล้านบาท โดยเน้นในส่วนการเป็นที่ปรึกษาการควบรวมกิจการ และเพิ่มมูลค่าทรัพย์สินภายใต้การจัดการกองทุนส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น จากประมาณ 11,000 ล้านบาท ในปี 2551 เป็น 14,000 ล้านบาท ในปี 2552

รวมทั้งจะเริ่มดำเนินธุรกิจยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ในไตรมาส 2 เชื่อว่าจะมีศักยภาพที่ดีในอนาคต

การเปลี่ยนแปลง บมจ.หลักทรัพย์ บัวหลวง ครั้งนี้ไม่ใช่การเปลี่ยนผู้บริหารเพียงอย่างเดียวแต่เป็นการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่ให้มีหลายมิติมากขึ้นทั้งด้านธุรกิจและบุคลากร

การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะคุ้มค่าหรือไม่ คำตอบกำลังรออยู่แล้วเบื้องหน้า   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us