Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2531








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2531
"ยุทธจักรเอเยนซี่ 2530 แยกวง ย้ายค่ายและถอนยวง!"             
โดย สุดจิตร์ ไชยตระกูลชัย
 


   
search resources

ซาทชิ แอนด์ ซาทชิ, บจก
เทดเบทส์
Advertising and Public Relations
ไมเคิล ไรอัน




ก่อนถึงปีมังกรทอง ยุทธจักรเอเยนซี่ในบ้านเราเกิดความปั่นป่วน จอมยุทธระดับยอดฝีมือ ชีพจรลงเท้าย้ายสำนักกันเป็นว่าเล่น มีบ้างไปตังสำนักใหม่ บ้างก็อำลาวงการไปเลย อะไรเป็นสาเหตุของมรสุมครั้งนี้

ปี 2530 เศรษฐกิจดีขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงหลายประการ ธุรกิจหลาย ๆ ประเภทฟื้นตัวเห็นได้ชัด แต่วงการเอเยนซี่แล้ว มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดในรอบหลายปี

คือการโยกย้ายของคนโฆษณาอย่างไม่หยุดนิ่ง เหมือนความคิดสร้างสรรค์ของเขานั่นเอง!

ดูจากตารางการโยกย้ายคนโฆษณาในปีนี้ เห็นได้ชัดว่ามีการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่ต้นปี เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมมีพนักงานลาออกในสองเอเยนซี่ใหญ่ ๆ โดยเฉพาะแห่งหลัง (เทดเบทส์) ไมเคิล ไรอัน กรรมการผู้จัดการเทดเบทส์และลูกน้องตบเท้าลาออกจนสำนักงานเกือบร้าง

จากนั้นว่างเว้นไป 3 เดือน จนถึงเดือนพฤษภาคมเริ่มมีการโยกย้ายอีกครั้งหนึ่ง 3 เดือนที่ว่างเว้นไปนั้นเปรียบเสมือนความสงบก่อนเกิดพายุใหญ่

รูดิเก้ ไรนิเก้ กรรมการผู้จัดการ ดีดีบี นีดแฮม เวิลด์ไวด์ สูญมือดีติด ๆ กันสองคนในเดือนมิถุนายน หลังจากเสียสุวิทย์ วิมุตตานนท์ไปแล้วเมื่อเดือนพฤษภาคม และการสูญเสียคนระดับกรรมการผู้จัดการของลินตาสรวมทั้งครีเอทีฟไดเร็คเตอร์ และครีเอทีฟ กรุ๊ปเฮด ทั้งสามคนในเวลาเดียวกัน ไม่ใช่เรื่องน่ายินดีเลยแม้ว่าจะเป็นเอเยนซี่ที่มียอดบิลลิ่งอันดับหนึ่งของเมืองไทยก็ตามที

เดือนมิถุนายนอีกเช่นกัน ไทยอิมเมจ แอดเวอร์ไทซิ่ง ต้องสูญเสียสายัณห์ สุธรรมสมัย ครีเอทีฟ ไดเร็คเตอร์มือดีและเป็นกรรมการบริหารผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทมาตั้งแต่ต้น และในเดือนถัดไป อุทัย ลิมลาวัณย์ ก็ลาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายบริการลูกค้า ล่าสุด ดนัย เยาหะรี ก็จากไทยอิมเมจไปอีกคน นับเป็นการสูญเสียที่ยุพน ธรรมศรี กรรมการผู้จัดการต้องคิดหนักกับทิศทางของเอเยนซี่ขนาดกลางแห่งนี้

สำหรับโอกิลวี่ แอนด์ เมเธอร์ ยักษ์ใหญ่อันดับสองรองจากลินตาสก็หลีกไม่พ้นกับวงจรนี้เช่นกัน สุนันทา ตุลยธัญ เริ่มประสบกับปัญหานี้เมื่อเดือนสิงหาคม เมื่อสุรพล ลีนิรนดรลาออกจากตำแหน่ง แอคเคาท์ ซุปเปอร์ไวเซอร์ สองเดือน ดลชัย บุญรัตเวช ก็ลาออกไปอีกคน ล่าสุดพลชาติ ไกรบุญ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารโฆษณาและหนึ่งในกรรมการบริหารก็อำลาบริษัทที่เขาเคยร่วมงานมาถึง 7 ปีไปอีกคน

และนี่คือภาพคร่าว ๆ ของการเปลี่ยนแปลงคนเอเยนซี่ในปี 2530

เทคโอเวอร์

ในสหรัฐอเมริกาการรวมกิจการหรือซื้อกิจการ (เทคโอเวอร์) เป็นเรื่องธรรมดาเอามาก ๆ เหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้เกิดขึ้นไม่เว้นแต่ละวัน บริษัทรับปรึกษาด้านนี้โดยเฉพาะมีออกมากมาย

อาจเป็นเพราะบางบริษัทคิดว่าการซื้อกิจการจะทำให้ผลกำไรเพิ่มมากขึ้น ลูกค้าจะมากขึ้น เพราะสามารถกำจัดคู่แข่งได้ ลูกค้าที่เคยเป็นคู่แข่งก็กลับมาเป็นของบริษัทที่ซื้อกิจการ ประสิทธิภาพสูงขึ้นเพราะเป็นการรวมกันระหว่างสองบริษัทที่มีการทำงานคล้าย ๆ ในธุรกิจประเภทเดียวกัน

แต่สำหรับการซื้อกิจการหรือการรวมกิจการ ในวงโฆษณาเหตุการณ์เช่นที่ว่า "ไม่ได้เป็นอย่างที่คิด" คนเอเยนซี่พูด กำไรอาจไม่เพิ่มขึ้นอย่างที่คาด ปัญหาต่าง ๆ อาจตามมามากมาย

กรณีซาทชิแอนด์ซาทชิ เทคโอเวอร์เทดเบทส์ เวิลด์ไวด์ เมื่อกลางปี 2529 ส่งผลกระทบกระเทือนอย่างใหญ่หลวงมาถึงประเทศไทย เพราะ "ซาทชิแอนด์ซาทชิ เขามีนโยบายดอมิเนทเอเยนซี่ที่เขาเทคโอเวอร์มา เห็นได้ชัดจากการปลดโรเบิร์ต จาโคบี้ ประธานเทดเบทส์ เวิลด์ไวด์เพราะปฏิเสธที่จะบอกแผนการกับผู้บริหาร" ผู้รู้บอก

ผลการเทคโอเวอร์เทดเบสท์ในครั้งนี้ ทำให้เทดเบทส์สูญแอคเคาท์ของคอลเกตที่เป็นเส้นเลือดใหญ่และสินค้าอีกหลายตัว

และผลกระทบจากการซื้อเทดเบทส์ของซาทชิแอนด์ซาทชิก็มาถึงเมืองไทย ไมเคิล ไรอัน กรรมการผู้จัดการเทดเบทส์ (ประเทศไทย) "ไม่พอใจมากที่ประธานโรเบิร์ตถูกปลด" คนเทดเบทส์บอกในครั้งนั้น "ถ้าซาทชิแอนด์ซาทชิเข้ามาความถูกต้องของเทดเบทส์ต้องมีปัญหาแน่ ๆ" คนใกล้ชิดไมเคิล ไรอัน กล่าวต่อ

เดวิด บีคร้อฟ ได้รับการแต่งตั้งจากซาทชิแอนด์ซาทชิ ให้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้จัดการภาคที่ฮ่องกงจากการตรวจสอบบัญชีเทดเบทส์ (ประเทศไทย) เขาพบว่ามีลักษณะ "ไม่ชอบมาพากล"

ไมเคิล ไรอัน ปฏิเสธข่าวนี้โดยสิ้นเชิง

นอกจากซาทชิแอนด์ซาทชิจะบีบไรอันในเรื่องบัญชีแล้ว ยัง "บีบให้เขาลดค่าใช้จ่าย ตัดพนักงานลง แต่ให้เพิ่มรายได้" คนวงในบอก

ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ การทำอย่างนี้เท่ากับเป็นการบีบบังคับไรอันโดยตรง เพราะการที่เทดเบทส์ถูกเทคโอเวอร์ก็ทำให้ เทดเบทส์เจ็บช้ำระกำทรวงมากพออยู่แล้ว ต้องสูญเสียแอคเคาท์จำนวนมหาศาลของคอลเกตปาล์มโอรีฟทันที เพราะ "ซาทชิแอนด์ซาทชิถือแอคเคาท์ของพร็อกเตอร์แอนดแกมเบิ้ลที่เป็นสินค้าคู่แข่งอยู่" เป็นเหตุผลที่ถูกยกขึ้นมาอ้าง

ในเมืองไทยการสูญเสียแอคเคาท์ของคอลเกตยิ่งเสมือนการ "บอนไซ" เทดเบทส์ (ประเทศไทย) ที่มีไมเคิล ไรอันเป็นกรรมการผู้จัดการโดยตรง เพราะยอดบิลลิ่ง 1 ใน 3 ของเทดเบทส์มาจากคอลเกต การสูญเสียคอลเกตไปเท่ากับการเสียเส้นเลือดใหญ่ไป ยิ่งกว่านั้น สินค้าต่าง ๆ ค่อยทยอยเปลี่ยนเอเยนซี่ โดยเฉพาะการที่ซาทชิแอนด์ซาทชิบีบให้เทดเบทส์ (ประเทศไทย) ให้ปล่อยแอคเคาท์ของสายการบินการูด้าที่ให้เทดเบทส์ (ประเทศไทย) เป็นผู้จัดสรรการซื้อมีเดียไป เพราะว่าซาทชิแอนด์ซาทชิมีลูกค้าที่เป็นสายการบินอยู่แล้ว

ถึงจุด ๆ นี้ไมเคิลก็ทนไม่ได้แล้ว เขาประกาศลาออกเมื่อวันที่ 16 มกราคม ด้วยความไม่พอใจ

ไมเคิล ไรอัน เดินแผนตอบโต้ด้วยการยกเลิกการจดทะเบียนเสียภาษีกับกรมทะเบียนการค้า ทำให้บริษัทเทดเบทส์ (ประเทศไทย) กลายเป็นบริษัทเถื่อนทันทีเพราะในฐานะของเทดเบทส์ไม่เหมือนกับบริษัททั่วไป

เทดเบทส์ (ประเทศไทย) ถือเป็นสาขาหนึ่งของเทดเบทส์ เวิลด์ไวด์ที่นิวยอร์ค รัฐบาลไทย-สหรัฐอเมริกา มีข้อตกลงให้บริษัทสหรัฐฯ มีสิทธิประกอบธุรกิจได้ในเมืองไทยเช่นเดียวกับบริษัทคนไทย (ตามสนธิสัญญาพิเศษระหว่างไทย-อเมริกา) และมีข้อยกเว้นในกฎหมายการจดทะเบียนการค้าว่าด้วยธุรกิจต่างด้าวบางประเภทที่ไม่ต้องจดทะเบียนการค้า ธุรกิจทำโฆษณาก็อยู่ในกฎนี้ด้วย

เทดเบทส์ก็ได้อภิสิทธิ์นี้ แต่สิทธิ์นี้หมดไปเมื่อซาทชิแอนด์ซาทชิเป็นเจ้าของใหม่ของเทดเบทส์ เพราะซาทชิแอนด์ซาทชิถือสัญชาติอังกฤษ เทดเบทส์ไม่ได้รับอภิสิทธิ์นี้ต่อไป

เมื่อไมเคิล ไรอัน ไปถอนการจดทะเบียนการเสียภาษีกับกรมทะเบียนการค้า เทดเบทส์ (ประเทศไทย) จึงกลายเป็นบริษัทเถื่อนทันที เท่านั้นยังไม่พอ ไมเคิล ไรอันได้ "แอบไปจดทะเบียนบริษัทเทดเบทส์ที่เป็นบริษัทของคนไทย เมื่อปี 2527" คนในกรมทะเบียนการค้าบอก

แต่จริง ๆ แล้ว "ไรอันตั้งใจจะโอนหุ้นให้บริษัทแม่ที่นิวยอร์ค เห็นได้จากเขาลงลายมือชื่อในตราสารการโอนหุ้นมอบให้บริษัทแม่ที่อเมริกา" คนใกล้ชิดไรอันบอก

เพราะไมเคิล ไรอัน ไม่พอใจนโยบายอันก้าวร้าวของซาทชิแอนด์ซาทชิตั้งแต่สั่งปลดโรเบิร์ต จาโคบี้ "23 ธันวาคม 2529 ไมเคิล ไรอันได้ยื่นคำร้องต่อศาลให้ตราสารโอนหุ้นบริษัทเทดเบทส์ที่ไรอันแอบจดทะเบียนไว้แล้วโอนลอยให้บริษัทแม่ที่นิวยอร์คเป็นโมฆะ และได้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนหุ้นบางส่วนของกรุงเทพฯ เพื่อไม่แสดงความประสงค์จะโอนหุ้นให้อีกต่อไป" ผู้รู้เบื้องหลังแฉ

หลังจากนั้นเขาก็ออกไปตั้งบริษัทใหม่เอเอ็มแอนด์อาร์

และหลังจากนั้นเทดเบทส์ของซาทชิแอนด์ซาทชิฟ้องไมเคิลเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ แต่ภายหลังก็ประนีประนอมกันได้ เรื่องยุติตรงที่เทดเบทส์ไม่ฟ้องไมเคิล ไรอัน ไม่ฟ้องพนักงานที่ออกจากเทดเบทส์และไม่ฟ้องลูกค้าที่ไปอยู่กับบริษัทใหม่ที่ไมเคิล ไรอันตั้งขึ้น ส่วนไมเคิล ไรอันจะคืนหุ้นที่มีอยู่เดิมให้เทดเบทส์ เวิลด์ไวด์ อิงค์ ส่วนเทดเบทส์ของซาทชิแอนด์ซาทชิเปลี่ยนชื่อเป็น ทีบีแอล มีปีเตอร์ คูลลิ่ง เป็นกรรมการผู้จัดการ มีคุณหญิงชัชนี จาติกวณิช เป็นประธานในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่

วันที่สิ้นสุดเรื่องราววุ่น ๆ คือวันที่ 23 เมษายน รวมแล้วเป็นเวลา 3 เดือน

ไมเคิล ไรอัน ซึ่งได้ออกไปตั้งเอเอ็มแอนด์อาร์นั้นภายหลังได้เข้าร่วมกับเอเยนซี่อันดับ 9 ของโลก ดีเอ็มบีแอนด์บี

และนี่เป็นผลลัพธ์จากการที่ซาทชิแอนด์ซาทชิเทคโอเวอร์เทดเบทส์ นั่นเพราะวัฒนธรรมองค์กรเข้ากันไม่ได้ประการหนึ่ง ผลเสียของการเทคโอเวอร์มีอีกหลายประการ การสร้างสรรค์ในด้านครีเอทีฟซึ่งเป็นจุดใหญ่ของเอเยนซี่ กลับต้องมายุ่งยากด้านการเงินเหมือนกับที่เดวิด โอกิลวี่ กล่าวไว้ว่า "การซื้อเอเยนซี่มันเป็นเกมของอันธพาล ปัญหาก็คือว่าต้องจัดการกับมรดกที่บกพร่องเสียก่อนจึงจะกำไรได้"

เดือนมิถุนายนปีนี้ 13 เดือนหลังจากเทดเบทส์ถูกเทคโอเวอร์ เจดับบลิวทีกรุ๊ป บริษัทแม่ของเอเยนซี่เจวอลเตอร์ทอมป์สัน เอเยนซี่อันดับ 4 ของโลกถูกดับบลิวพีพี บริษัทการตลาดสัญชาติเดียวกับซาทชิแอนด์ซาทชิ ที่มียอดขายเพียง 35 ล้านดอลลาร์ ซื้อด้วยราคาถึง 556 ล้านดอลลาร์

ผลกระทบจากการเทคโอเวอร์ครั้งนี้รุนแรงมากสำหรับเอเยนซี่อันดับ 4 ของโลก ลูกค้ารายใหญ่ ๆ ถอนแอคเคาท์อย่างมโหฬาร

เบอร์เกอร์ คิง คอร์ป ประกาศย้ายแอคเคาท์ 200 ล้านดอลลาร์ ไปอยู่เอ็นดับบลิว เอเยอร์ กู๊ดเยียร์ ไทร์ แอนด์ รับเบอร์ ก็ถอนแอคเคาท์ 25 ล้านดอลลาร์ เอส. ซี. จอห์นสันแอนด์ซัน ก็ถอนแอคเคาท์มูลค่า 15 ล้านดอลลาร์ด้วย จนล่าสุดเป๊ปซี่ สไลด์ถอนแอคเคาท์ "เหตุผลหนึ่งเป็นไปได้ว่าเพราะบริษัทอเมริกันไม่ชอบบริษัทโฆษณาอังกฤษ ที่มันเป็นการเสียศักดิ์ศรีที่จิ๋วมาฮุบยักษ์" กรรมการผู้จัดการบริษัทโฆษณาแห่งหนึ่งให้ความเห็น

ผลิตบุคลากรไม่ทัน

เศรษฐกิจไทยเติบโตมากในปีนี้ แต่เศรษฐกิจไทยเพิ่งจะเติบโตในช่วงเวลาไม่กี่สิบปีมานี้เอง โฆษณาที่เป็นเครื่องมือของบรรดาสินค้าต่าง ๆ ก็เติบโตในระยะเวลาอันสั้นเช่นกัน กล่าวได้ว่าวงการโฆษณาเมืองไทยเพิ่งจะบูมในเมืองไทยเมื่อไม่ถึงสิบปีมานี้

5 ปีที่ผ่านมางบโฆษณาเพิ่มมากขึ้นจาก 2,433 ล้านบาทในปี 2524 เป็น 2,712 ล้านในปี 2525 และ 3,535 ล้านบาทเมื่อปี 2526 ซึ่งเพิ่มมากถึง 30.35% ในปี 2527 ถีบตัวไปถึง 4,716 ล้าน ปี 2528 ยังสูงถึง 5,348 ล้าน แม้เศรษฐกิจตกต่ำ

ย่างเข้าปีนี้จึงเป็นปีที่เอเยนซี่กอบโกยกันอย่างเต็มที่ ทุกเอเยนซี่ต่างมุ่งสนองความต้องการของลูกค้า ประสิทธิภาพสูงสุดคือสิ่งที่เอเยนซี่นำเสนอแก่ลูกค้าในช่วงเวลานี้ บุคลากรใหม่ในวงการโฆษณามีไม่เพียงพอ คนใหม่ ๆ ที่สร้างก็ยังไม่มีบทบาทอย่างจริงจังคนที่ยังทรงบทบาทอยู่ก็คือบรรดามือเก่า ๆ ที่อยู่ในวงการมานาน

"คน" ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญที่สุดในวงการเอเยนซี่ จึงมีการเปลี่ยนแปลงไม่หยุด ซึ่งมากที่สุดในปีนี้

ตำแหน่งที่มีการโยกย้ายกันบ่อยมาก ที่มากที่สุดก็คือฝ่ายสร้างสรรค์ ใครสามารถมีฝ่ายสร้างสรรค์ฝีมือดี ๆ หมายถึงสามารถกุมลูกค้าได้ในระดับหนึ่ง ในปีนี้อีกเช่นกันที่ฝ่ายสร้างสรรค์ระดับผู้อำนวยการฝ่ายย้ายกันบ่อย สุชาติ วุฒิชัย จากเทดเบทส์ ไปดีเอ็มบีแอนด์บี ศราวุธ ไกรกรรดิ จากลินตาส ไปดามาสค์ หรือต่อ สันติศิริ จากลินตาสไปสปา จนถึงสายัณฆ์ สุธรรมสมัย จากไทยอิมเมจ ไปดีเอ็มบีแอนด์บี ดลชัย บุณยรัตเวช จากโอกิลวี่ไปดีวายอาร์ และดนัย เยาหะรี จากไทยอิมเมจ เช่นกัน รวมถึงรอล สปอลดิ้งซึ่งเป็นประธานกรรมการและผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ของฮิวจ์ ก็อำลาจากเอเยนซี่ที่เขาเป็นผู้ก่อตั้ง

นอกจากบรรดาครีเอทีฟระดับผู้อำนวยการฝ่ายจะย้ายงานกันมากแล้ว ระดับรอง ๆ ของฝ่ายนี้ก็ลาออกกันเป็นว่าเล่น บรรดาครีเอทีฟเหล่านี้มักจะเวียนว่ายอยู่ในวงการเอเยนซี่ ครีเอทีฟหลาย ๆ คนดูจากตารางมีอยู่หลายคนที่ย้ายไปแล้วได้ตำแหน่งสูงขึ้นกว่าเดิม เช่น ต่อ สันติศิริ จากครีเอทีฟกรุ๊ป เฮด ของลินตาส ไปสู่ครีเอทีฟ ไดเรคเตอร์ ของสปา แอดเวอร์ไทซิ่ง หรือกรณีดลชัย บุณยรัตเวช จากฝ่ายสร้างสรรค์ของโอกิลวี่ ไปเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ของดีวายอาร์

นอกจากฝ่ายสร้างสรรค์แล้ว ฝ่ายบริการลูกค้า ฝ่ายบริหารงานลูกค้า มีการย้ายบริษัทมากเป็นพิเศษเช่นกัน เป็นที่น่าสังเกตว่าฝ่ายเหล่านี้ทำงานด้านการตลาด ที่ไม่ค่อยมีความผูกพันกับวงการโฆษณาเหมือนกับบรรดาครีเอทีฟ มีอยู่หลายรายที่ออกจากตำแหน่งเหล่านี้ไปและออกไปทำงานด้านอื่นเลย ดังเช่นการลาออกของระดับผู้อำนวยการฝ่ายทั้งสามของดีดีบี นีดแฮม เวิลด์ไวด์ ไม่มีใครที่ย้ายไปอยู่บริษัทโฆษณาเลย สมชาย เตยะธิติ ไปอยู่บางกอกแอธเลติค ศรีธวัฒน์ อิทธิระวิวงศ์ไปเป็นผู้จัดการฝ่ายการตลาด นูทรี คอสเมติคส์ หรือสุวิทย์ วิมุตตานนท์ไปทำงานด้านอิมปอร์ต เอ็กซปอร์ตที่ฮ่องกงเลย อุทัย ลิมลาวัณย์ไปเป็นผู้จัดการฝ่ายธุรกิจทั่วไปบริษัทพารากอนเพ้นท์

อย่างไรก็ตามสาขาที่ไปทำงานส่วนมากก็จะไม่พ้นด้านการตลาด และส่วนใหญ่บรรดาผู้อำนวยการฝ่ายต่าง ๆ เหล่านี้ก็ยังคงเวียนว่ายและเกี่ยวข้องในวงการโฆษณาเช่นเดิม

สาเหตุของการย้ายฝ่ายบริการลูกค้านี้ สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะว่ามีการย้ายแอคเคาท์ของบริษัทโฆษณามาก บรรดาคนเหล่านี้ก็ถูกดึงตัวไปเพื่อดูแลแอคเคาท์ลูกค้าที่เคยดูแลในบริษัทเดิม

เส้นทางนักโฆษณารุ่นเก่าจาก "มืออาชีพ" สู่ "เถ้าแก่"

และผลจากการที่วงการโฆษณาเติบโตเอามาก ๆ ในปีนี้เช่นกัน ทำให้บรรดามืออาชีพรุ่นเก่า เริ่มออกมาทำธุรกิจของตนเอง สาเหตุอื่น ๆ อาจจะเป็นเพราะว่าอึดอัดในบริษัทเก่า หรืออยู่ไปก็ไม่ได้ขึ้นแน่ ๆ หรืออาจถูกแขวนให้ไม่มีงานทำ และถูกบีบเนื่องจากนโยบายของเจ้าของบริษัทใหม่ ประกอบกับบรรดานักโฆษณาที่เด่น ๆ ในเมืองไทยยังมีจำกัดชนิดนับตัวได้

ผลก็คือการพาเหรดกันออกมาตั้งบริษัทโฆษณาขายตัวเอง เพราะเชื่อมั่นว่าตลาดในเมืองไทยยังมีช่องทางให้เดินอีกมาก และชื่อเสียงของตนเองยังขายได้ ที่สำคัญระดับที่ออก ๆ มานี้มักจะเป็นระดับยักษ์ กรรมการผู้จัดการ ที่ติดต่อกับลูกค้าอยู่แล้ว เมื่อออกจากบริษัทเดิมมาแอคเคาท์ลูกค้ามักจะตามมา อย่างกรณีของเทดเบทส์เห็นได้ชัด

การลาออกของบรรดามืออาชีพเหล่านี้ส่วนมากมักจะชวนบรรดาลูกน้องเก่า ๆ ที่เคยร่วมงานกันตามมาด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาครีเอทีฟไดเรคเตอร์ทั้งหลายซึ่งถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในการดึงดูดลูกค้าให้มาใช้บริการ ที่ตามมาคือบรรดาฝ่ายบริการลูกค้า และฝ่ายบริหารงานลูกค้า เป็นลำดับ

อย่างไรก็ตามการลาออกของคนโฆษณายังคงมีอยู่ตลอดไป เป็นวงจรอันน่าเบื่อหน่ายอย่างนี้ เพราะ "คน" เป็นสินทรัพย์สำคัญที่สุดในวงการเอเยนซี่?

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us