Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์2 กุมภาพันธ์ 2552
อิเล็กทรอนิกส์ครัวเรือน ยังชักแถวสู่กรีน มาร์เก็ต             

 


   
search resources

Electric




การตลาดของสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์ครัวเรือน (Home Appliance : HA) เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมยุคใหม่ที่ผันโครงสร้างทางธุรกิจสู่เทคโนโลยีสะอาด หรือ green technology ท่ามกลางสภาวะที่ต้นทุนด้านพลังงานยังอยู่ในระดับสูง และประชมคมโลกยังคงตระหนักถึงความร้ายกาจของมลพิษที่เกิดจากคาร์บอนที่มาจากสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์ ในขณะเดียวกันหลายประเทศก็เพิ่มเติมกฎหมายและข้อบังคับให้มีการวางระบบกำจัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างเหมาะสม พร้อมส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดและพลังงานทดแทนน้ำมันมากขึ้น

หลักฐานที่ยืนยันแนวโน้มดังกล่าวอย่างชัดเจน ก็คือ การที่มีผู้ประกอบการหลายสิบรายนำเทคโนโลยีกรีนมาแสดงกันอย่างคึกคักในงาน Consumer Electronics Show ที่นครลาสเวกัส เมื่อไม่นานมานี้ ไม่ว่าจะเป็นหีบห่อในคอนเซปต์กรีนแพกเกจ หรือสินค้าที่หันไปใช้แหล่งพลังงานทางเลือกมากขึ้น เครื่องมือที่เป็นอุปกรณ์รีชาร์จจากพลังงานแสงอาทิตย์ หรืออุปกรณ์กระจุกกระจิกที่ต้องใช้พลังงานเป็นตัวขับเคลื่อน

แถมบรรดาผู้ประกอบการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ๆ ยังเพิ่มพื้นที่ในแต่ละบูธเพื่อร่วมรณรงค์ลูกค้าให้ร่วมมือกันอนุรักษ์พลังงานของสินค้าครัวเรือน อย่างเช่น โทรทัศน์และเครื่องเล่นดีวีดี การใช้วัสดุรีโซเคิล ตลอดจนเปิดตัวโปรแกรมการรับซื้อคืนสินค้าเก่าเพื่อนำมาบริหารขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้อย่างเหมาะสม

แรงกดดันของผู้ประกอบการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ครัวเรือนนี้ได้ส่งทอดต่อไปยังซัปพลายเออร์ที่เกี่ยวข้องด้วย เพื่อให้เข้าใจว่าแพกเกจสินค้าก็ตามตัวสินค้าก็ตามจะต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง และต้องพัฒนาต่อไปในระยะยาว

องค์กรกรีนพีช (Greenpeace) ซึ่งแต่เดิมอาจไม่ค่อยได้รับความสนใจจากนักการตลาดมากนัก แต่แนวคิดนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้วในปัจจุบัน

ยกตัวอย่างเช่น กรณีของโตชิบ้าได้รับรางวัลที่เรียกว่า “kndos” ในรูปแบบของเรตติ้ง “กรีน” จากกลุ่มกรีนพีช ในฐานะผู้ผลิตแลปท็อปคอมพิวเตอร์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งแสดงความพอใจกับการที่ผู้ประกอบการใส่ใจกับการแสดงรับผิดชอบกับการรักษาสุขภาพแวดล้อมมากขึ้น

สินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับเรตติ้งว่า “Greenest” ในขณะนี้ คือ มอนิเตอร์ คอมพิวเตอร์ รุ่น L244OX ของโลโนโว แต่ก็ยังได้คะแนนเพียง 6.9 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ส่วนสินค้า R600 ของโตชิบ้า ได้คะแนน 5.57 เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังคงยึดมาตรฐานของสหรัฐฯที่มีชื่อเรียกว่า “Energy star Ratngs” มากกว่ามาตรฐานของกลุ่มกรีนพีช

อย่างกรณีของบริษัท แอลจี ของเกาหลี ที่วางตำแหน่งทางการตลาดในรูปแบบธุรกิจตามแนวคิด “กรีน” อย่างจริงจัง ด้วยการมุ่นมั่นผลิตสินค้าที่ประหยัดการใช้พลังงานและชิ้นส่วนรีไซเคิลเพิ่มขึ้น และออกคำขวัญที่เกี่ยวข้องว่า “Life is Good, when it’s green”

เช่นเดียวกับบริษัทพานาโซนิคที่พยายามสร้างสรรค์สินค้าเครื่องไฟฟ้าที่ต้องการการสิ้นเปลืองพลังงานลดลงเรื่อยๆ ซึ่งทั้งพานาโซนิคและแอลจีต่างออกสินค้าประเภทเครื่องซักผ้าที่ประหยัดทั้งค่าไฟฟ้าและปริมาณน้ำที่ใช้ในการซักแต่ละครั้ง ออกมาแข่งกันแย่งลูกค้าในตลาด และเมื่อไม่นานมานี้ซัมซุงก็ออกสินค้าในโมเดลเดียวกันออกมากระตุ้นยอดขายในตลาดเช่นกัน

การดำเนินงานแบบนี้ได้ ผู้ประกอบการชั้นนำของโลกที่กล่าวถึงข้างต้นจะต้องแยกสายงานการผลิตออกมาต่างหากเป็น green section โดยเฉพาะ ซึ่งบริษัทที่หันเหโครงสร้างธุรกิจมาในแนวนี้ก็จะพัฒนาหน่วยผลิตออกมาในทำนองนี้เหมือนกัน

พร้อมกันนั้น การออกโปรแกรมหลังการขาย เช่น การรับซื้อคืนหรือรับกำจัดสินค้าที่หมดสภาพการใช้งานแล้ว เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการรีโซเคิลก็เป็นแคมเปญที่มีหลายบริษัทออกมาเปิดตัวในตลาด อย่างที่เห็นออกข่าวใหญ่โตก็คือกรณีของโซนี่ที่มีโปรแกรมที่เรียกว่า “Take Back Recycling” ประสบความสำเร็จในการรวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์มาแล้วเป็นน้ำหนักรวมกันกว่า 12 ล้านปอนด์ นับจากเปิดโครงการขึ้นเมื่อปี 2007 โดยมีทั้งตัวสินค้าของโซนี่เองและแบตเตอรี่หมดอายุแล้ว

อย่างไรก็ดี ในมุมมองของผู้บริโภคหรือผู้ใช้สินค้า การสำรวจพบว่าลูกค้ายังคงเน้นความสะดวกสบายของการใช้สินค้าเป็นหลัก แม้ว่าจะยอมรับว่าการที่สินค้าช่วยอนุรักษ์สภาพแวดล้อมจะเป็นเรื่องดีและน่าสนับสนุนก็ตาม

นั่นหมายความว่า ผุ้บริโภคยังอยากให้การพัฒนาสินค้าประเภท “กรีน” โปรดักส์ดำเนินการไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่เร่งรีบหรือล้ำหน้าเร็วมากจนเกินไป และคำนึงถึงปัจจัยด้านการออกแบบและการใช้งาน ผสมผสานให้เหมาะเจาะลงตัวในหลายๆ มิติ นอกเหนือไปจากการเน้น “กรีน” แล้ว

การสำรวจพบว่า กลุ่มลุกค้าที่มีความใส่ใจในสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือกรีนโปรดักส์ในระดับสูง และมีการไหวตัวกับเรื่องนี้มากกว่ากลุ่มลูกค้าอื่น ก็คือกลุ่มเด็ก ซึ่งส่วนหนึ่งได้กดดันและชี้นำให้ผู้ปกครองของพวกเขา หันมาซื้อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นรูปแบบของ “กรีน” มากกว่าสินค้านอกกลุ่ม “กรีน”

เรื่องนี้จึงขึ้นอยู่กับตัวของนักการตลาดเองว่า วางตำแหน่งทางการตลาดของสินค้าของตนไว้ที่จุดใดของตลาด และจะใช้ความเป็น “กรีน” เพื่อเพิ่มยอดขายสินค้าได้หรือไม่   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us