|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ธ.ก.ส.เตรียมงบตั้งยอดปล่อยกู้ปีนี้ 3.23 ล้าน รับแผนงานรัฐบาลอัดฉีดเงินลงสู่ท้องถิ่น กลไลขับเคลื่อนนโยบายการคลังตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดการหมุนเวียน ด้วยความเหมาะสม พ.ร.บ.เปิดทางให้ภาคนอกเกษตรกู้แล้ว แถมมีสาขาเยอะ พนักงานพร้อม ไม่หวั่นหนี้เสียเหตุมีการเข้าถึงท้องถิ่นรู้จักผู้คนในท้องถิ่นดี-มีการพัฒนาอาชีพก่อนอนุมัติเงินกู้ อีกทั้งยังนำร่องผ่องถ่ายงานให้กองทุนหมู่บ้านพัฒนาสู่ธนาคารหมู่บ้านในอนาคต
เป้าหมายหลักของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ออกมา คือการอัดฉีดเงินเข้าไปยังผู้มีรายได้น้อยหรือชนชั้นรากหญ้าเพื่อให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยผลักดันระบบเศรษฐกิจให้มีเงินหมุนเวียนต่อเนื่อง ส่งผลให้มีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเติบโตขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทั้ง การแจกเงิน2พันบาท การช่วยเหลือผู้ตกงาน รวมไปถึงมาตรการอื่นๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นการกระตุ้นโดยใช้นโยบายการคลังหลังจากก่อนหน้านี้ได้มีการใช้นโยบายด้านการเงินภายใต้การควบคุมของธนาคารแห่งประเทศไทยไปแล้วเช่นการลดดอกเบี้ยแต่ผลที่เห็นจะค่อยๆเกิดตามมาแบบค่อยเป็นค่อยไป
ส่วนนโยบายการคลังก็คือ การใช้กลไกต่างๆผ่านหน่วยงานต่างๆของกระทรวงการคลัง ซึ่งจะคลอบคลุมเป้าหมายใน 4 เรื่องใหญ่ของระบบการเงินมหภาคคือ ภาษี ,หนี้สิน ,งบประมาณ และ รัฐวิสาหกิจ
ประเด็นหนึ่งที่มีความสำคัญมากของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในครั้งนี้คือการช่วยเหลือผู้ตกงาน ที่คาดว่าจะมุ่งกลับภูมิลำเนาในชนบท ดังนั้นธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)ซึ่งเป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงการคลัง จึงได้รับการมอบหมายภาระกิจให้เป็นแกนหลักสำหรับงานนี้
ฐานิศร์ สุทธสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักสินเชื่อผู้ประกอบการ ธ.ก.ส.อธิบายว่า ด้วยความเหมาะสมจาก พ.ร.บ.ของ ธ.ก.ส.ที่ได้มีการแก้ไขเปิดกว้างให้ผู้ที่อยู่นอกภาคเกษตรสามารถกู้ยืมได้แล้ว ,การมีสาขาจำนวนมากที่เข้าถึงท้องถิ่นทั่วประเทศได้ดีกว่า และ จำนวนพนักงานถึง 1.6 หมื่นคนที่พร้อมในการปฎิบัติงาน จึงได้รับความไว้วางใจจากรัฐบาลในการรับผิดชอบงานนี้
ทั้งนี้การให้ผู้ที่อยู่นอกภาคเกษตรสามารถกู้ยืมเงินจาก ธ.ก.ส.ได้ จุดมุ่งหมายก็เพื่อบูรณาการให้ผู้มีส่วนเกี่ยวเนื่องต่างๆกับธุรกิจการเกษตรทั้งต้นน้ำและปลายน้ำมีเงินทุนหมุนเวียน ใช้หล่อเลี้ยงให้ระบบสามารถเดินหน้าได้อย่างต่อเนื่อง โดยสินเชื่อรายย่อยที่จะให้กู้นั้นจะให้วงเงินสูงสุดไม่เกิน 5 หมื่นบาทซึ่งจะให้ใช้บุคคลเป็นผู้ค้ำประกัน แต่ผู้ที่จะกู้นั้นก็ต้องเป็นผู้ตกงานที่ลงทะเบียนกับกระทรวงแรงงานและได้รับการอบรมฝึกวิชาชีพมาก่อนแล้วเท่านั้น ซึ่งขณะนี้ ธ.ก.ส.กำลังอยู่ระหว่างการเร่งพัฒนาระบบการทำงานที่สอดประสานกันกับกรมการจัดหางานและสำนักงานประกันสังคมอยู่เพื่อให้ทั้งหมดได้เสร็จทันกำหนด
ส่วนที่กลัวว่าการให้กู้ครั้งนี้จะทำให้เกิดปัญหาหนี้เสียจำนวนมากตามมาเหมือนกับในโครงการธนาคารประชาชนก่อนหน้านี้ ซึ่งรัฐบาลในขณะนั้นพยายามที่จะอัดฉีดเงินลงสู่ชุมชนผ่านธนาคารออมสิน ฐานิศร์ มั่นใจว่า ด้วยการที่ ธ.ก.ส.มีการเข้าถึงและรู้จักผู้นำและคนในท้องถิ่นนั้นๆได้ดี รวมถึงผู้กู้ก็ได้มีการพัฒนาทักษะก่อนจะกู้เงินมาลงทุนประกอบการแล้ว จึงทำให้โอกาสผิดนัดชำระหลังจากได้ปล่อยกู้แล้วไม่สูง
ขณะที่ เอ็นนู ซื่อสุวรรณ รองผู้จัดการรักษาการแทนผู้จัดการ ธ.ก.ส.กล่าวว่าปีนี้ได้ตั้งเป้าหมายที่จะกระจายสินเชื่อสู่ชนบทเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้นรวม 3.23 แสนล้านบาท ซึ่งจะแยกเป็น 4 ส่วนด้วยกันคือ ส่วนของสินเชื่อการเกษตรจำนวน 2.34 แสนล้านบาท, สินเชื่อสนับสนุนการสร้างงานในชนบท 4.1 หมื่นล้านบาท, สินเชื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน 2.3 หมื่นล้านบาท และสินเชื่อนโยบายรัฐ 2.5 หมื่นล้านบาท โดยสำหรับส่วนที่มาของเงินนั้น ธ.ก.ส.ได้มีการขอเพิ่มทุนจากรัฐบาลไป 6 พันล้านบาท ซึ่งถ้าไม่ได้รับการอนุมัติ ธ.ก.ส.ก็ยังมีเงินพอที่จะปล่อยกู้ได้ตามที่ตั้งเป้าไว้ แต่ถ้าได้รับการเพิ่มทุน ธ.ก.ส.ก็จะสามารถลดดอกเบี้ยลงอีกตามภาวะตลาดได้ง่ายขึ้น
ทั้งนี้ ธ.ก.ส.ก็ได้มีการเสนอรัฐบาลในการผ่องถ่ายงานบางส่วนให้กองทุนหมู่บ้านที่เข้มแข็งรับผิดชอบต่อไปด้วย เป็นโครงการนำร่องสำหรับเครือข่ายที่เชื่อมโยงกับ ธ.ก.ส.เพื่อที่จะได้พัฒนาเป็นธนาคารหมู่บ้านให้ลูกค้ารายย่อยในท้องถื่นนั้นๆที่ต้องการกู้ยืมในวงเงินไม่เกิน 5 หมื่นบาทสามารถกู้ยืมได้สะดวกขึ้น
เป้าหมายของแผนงานเหล่านี้ก็เพื่อให้เงินใหม่ได้ไหลเข้าสู่ท้องถิ่นมากขึ้น โดยส่งตรงเข้าสู่มือของประชาชนระดับรากหญ้าซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญผ่านกลไกของ ธ.ก.ส.และมุ่งหวังว่าเงินนั้นจะเกิดการหมุนเปลี่ยนมือรอบแล้วรอบเล่าในลักษณะของตัวทวีตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ เพื่อชะลอความเลวร้ายของภาวะเศรษฐกิจหดตัวซึ่งเป็นแรงกระแทกที่กระเพื่อมมาจากต่างประเทศให้ระบบเศรษฐกิจภายในของไทยยังคงขับเคลื่อนต่อไปได้
|
|
|
|
|