|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ไทยเบฟฯ จัดทัพลุยนอนแอลกอฮอล์ หวังเข็นรายได้เติบโตทดแทนตลาดน้ำเมาหดตัว เท 200 ล้านบาท ขยายกำลังผลิตน้ำดื่มช้าง ด้านกลุ่มเบียร์ ปัดฝุ่นโพซิชันนิง-เซกเมนต์ช้างดราฟท์-ไลท์ ตั้งป้อมทวงบัลลังก์ค่ายสิงห์ หลังเพลี่ยงพล้ำเสียแชร์ 1-2% ฮึดปั้นช้างดราฟท์เรือธง อัดกิจกรรมสร้างความต่างช้างไลท์ หวังโกยรายได้หลังช้างคลาสสิกแผ่ว ช้างไล่บี้สิงห์หวังทวงแชมป์คืน
นายสุรวุฒิ วัชราดิลกกุล ผู้จัดการสำนักงานบริหาร บริษัท คอสมอส บริวเวอรี่ (ประเทศไทย) จำกัด หรือบริษัทในเครือไทยเบฟเวอเรจ เปิดเผยว่า นโยบายของบริษัทมุ่งโฟกัสกลุ่มเครื่องดื่มนอนแอลกอฮอล์มากขึ้น ประกอบด้วย น้ำดื่มช้าง โซดา เครื่องดื่มชูกำลังแรงเยอร์ กาแฟพร้อมดื่มแบล็กอัพ และเครื่องดื่มในเครือโออิชิ กรุ๊ป ให้มีอัตราการเติบโตมากขึ้น จากปัจจุบันที่สร้างรายได้ยังคงเป็นกลุ่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นหลัก ได้แก่ กลุ่มเบียร์ เหล้าสี เหล้าขาว เป็นต้น
ล่าสุดใช้งบ 200 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมา ขยายกำลังการผลิตน้ำดื่มตราช้าง ขวดเพ็ท เพิ่มจาก 9 ล้านลิตร เป็น 50 ล้านลิตรต่อปี ที่โรงงานวังน้อย จ.อยุธยา โดยจะขยายบรรจุภัณฑ์ 600 ซีซี 750 ซีซี และ 1.5 ลิตร เพื่อขยายช่องทางจำหน่ายทางร้านค้า ร้านอาหาร จากที่ผ่านมาจำหน่ายผ่านทางโรงแรมในเครือทีซีซี อาทิ โรงแรมพลาซ่าแอทธินี โรงแรมอิมพีเรียล ควีนปาร์ค
หวังทวงแชมป์คืนจากสิงห์
นายชาลี จิตจรุงพร รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจมาร์เก็ตติ้ง จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเบียร์ช้าง ช้างดราฟท์ กล่าวเสริมว่า สภาพตลาดเบียร์ในปีที่ผ่านมาหดตัว 2-3% จากมูลค่า 1 แสนล้านบาท เพราะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ และคาดการณ์ว่าตลาดเบียร์ในช่วงไตรมาสแรก ไม่มีอัตราการเติบโต แต่คาดว่าไตรมาส 2-4 ภาวะตลาดน่าจะมีทิศทางดีขึ้น
สำหรับเป้าหมายของไทยเบฟฯปีนี้ ต้องมองการทำตลาดระยะยาว ด้วยการสร้างกระแสและสร้างตลาด เพื่อให้ตลาดฟื้นและขณะเดียวกันต้องการมีการเติบโตมากกว่าคู่แข่ง เพื่อขึ้นเป็นผู้นำตลาดเบียร์โดยรวม หลังจากปีที่ผ่านมาบริษัทสูญเสียตำแหน่งให้กับค่ายเบียร์สิงห์ ซึ่งมีส่วนแบ่ง 47-48% ขณะที่ไทยเบฟฯ 45-46%
"ที่ผ่านมาเราปรับระบบ หรือเป็นการหยุดเพื่อให้ก้าวเดินต่อไป ได้มีสินค้าในพอร์ตฯ เพิ่มขึ้น อาทิ ช้างดราฟท์ ไลท์ เฟดเดอร์บรอย ไม่ได้ทำผิด แต่เป็นการทำตลาดให้ครอบคลุมทุกเป้าหมายทุกกลุ่ม ก้าวต่อไปต้องพัฒนาให้ดีขึ้น ซึ่งในปีที่ผ่านมาเป็นปีแห่งการเตรียมพร้อม แต่ปีนี้นับว่าเป็นปีแห่งการทำตลาดอย่างจริงจัง"
แนวการตลาดปีนี้ ต้องเร่งสร้างการเติบโตจากเบียร์ตัวอื่นๆเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันยอดขายเบียร์โดยรวมมาจากช้าง คลาสสิก 90% ดังนั้นบริษัทจึงต้องวางตำแหน่งและเซกเมนต์สินค้าในพอร์ตโฟลิโอให้มีความชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเบียร์ช้าง หลังจากในปี 2549 บริษัทได้เปิดตัวช้างไลท์ ปริมาณแอลกอฮอล์ 4.2% ช้างดราฟท์ 5% ลงสู่ตลาด แต่พบว่าช้างไลท์และดราฟท์ยังไม่มีการวางตำแหน่งอย่างชัดเจน ล่าสุดดำเนินการตลาดเชิงรุกช้างดราฟท์ เพราะเป็นสินค้าที่มีศักยภาพในการเติบโต และมีบทบาทสำคัญในอนาคต โดยปีที่ผ่านช้างดราฟท์เติบโต 10%
สำหรับช้างดราฟท์ วางตำแหน่งเป็นเบียร์เซกเมนต์อีโคโนมี-สแตนดาร์ด ราคา 36-37 บาท เจาะกลุ่มเป้าหมายคนเมืองหรือวัยเริ่มทำงานอายุ 20-25 ปี จำหน่ายตามร้านค้าทั่วไป แตกต่างจากช้างไลท์ ด้านทั้งราคาจำหน่าย 37-38 บาท สูงกว่า 1-2 บาท เจาะช่องทางสถานบันเทิง ผับ บาร์ กลุ่มเป้าหมายคนรุ่นใหม่อายุ 20-25 ปี
นายชาลี กล่าวว่า การทำตลาดช้างดราฟท์ มุ่งการทำบีโลว์เดอะไลน์ เป็นหลัก ส่วนการทำตลาดช้างไลท์ กำลังพิจารณาถึงช่วงเวลาที่เหมาะสม ส่วนเฟดเดอร์บรอย เบียร์เซกเมนต์พรีเมียม มีกระแสตอบรับดีขึ้น โดยปัจจุบันมีส่วนแบ่ง 2-3% และสิ้นปีนี้ตั้งเป้าเพิ่มเป็น 3-4%
สำหรับด้านตลาดต่างประเทศ นายชาลี กล่าวว่า สภาพเศรษฐกิจที่ถดถอยทั่วโลก ส่งผลให้การทำตลาดต่างประเทศมีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งบริษัทเพิ่งส่งออกได้ 3 ปี เหมือนเป็นการชิมลางมากกว่า แต่การทำตลาดต้องทำเป็นโกลเบิ้ลแบรนด์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา ช่องทางจำหน่ายขณะนี้ยังเป็นร้านอาหารไทยเป็นหลัก อย่างไรก็ตามแนวทางการทำตลาดมี 2 รูปแบบคือการตั้งสาขาในประเทศภายใต้การดูแลของอินเตอร์เบฟฯ ซึ่งปัจจุบันมี 10 สาขา เช่น ในสิงคโปร์ มาเลเซีย แต่ในบางประเทศจะแต่งตั้งเอเยนต์ที่มีศักยภาพเข้ามาดูแลแทนเช่นในออสเตรเลีย
ทั้งนี้ปัจจุบันโรงงาน ที่อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา มีสัดส่วนกำลังการผลิตเบียร์เพื่อส่งออก 10% แต่หากรวมโรงงานที่ อ.บางบาน จ. พระนครศรีอยุธยา และ โรงงานผลิตที่ จ. กำแพงเพชร รวมกัน 3 โรงงานสัดส่วนการส่งออก 1% จากยอดการผลิตทั้งหมดที่ส่งออกไปจำหน่ายใน 31 ประเทศทั่วโลก อาทิ สหรัฐอเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย และประเทศในแถบเอเซีย ซึ่งสินค้าหลัก คือเบียร์ช้าง
|
|
|
|
|