Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน30 มกราคม 2552
ขู่หากรัฐล้มเลิก"อีลิท"ต้องหาเงินชดเชย5พันล.             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด จำกัด (ทีพีซี)

   
search resources

ไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด (ทีพีซี), บจก.
Tourism




“สุรพงษ์” รอหารือผู้บริหารและผู้ถือหุ้น หลัง ครม.มีมติให้ศึกษาความเสียหายที่จะเกิดขึ้นหากต้องปิดอีลิทการ์ด ระบุต้องใช้เงินอย่างน้อย 2-5 พันล้านบาทเพื่อชดเชยค่าเสียหายแก่สมาชิก พร้อมเตรียมเสนอ 3 แนวทางให้ ครม.เลือก ขายกิจการ ยุบทิ้ง หรือดำเนินการต่อ ระบุแต่ทุกแนวทางต้องมีแผนการทำงานที่รับช่วงกันอย่างเหมาะสม พร้อมเตรียมเสนอ “ศศิธารา” ขยายเวลารับสมัครตำแหน่งผู้จัดการใหญ่เหตุยังไม่มีใครกล้าเข้ามาสมัคร ด้านททท.ระบุ ถ้าจำเป็นก็ต้องปิดกิจการแต่ทำแบบค่อยเป็นค่อยไปให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด

นายสุรพงษ์ เตรียมชาญชัย ประธานกรรมการบริหาร และรักษาการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด จำกัด(ทีพีซี) ผู้ดำเนินโครงการบัตรไทยแลนด์อีลิท เปิดเผยว่า บริษัทอยู่ระหว่างรอหารือร่วมกับผู้บริหารระดับสูงซึ่งขณะนี้ทั้งหมดอยู่ระหว่างการเดินทางไปปฎิบัติงานในต่างประเทศ ได้แก่ นายสรจักร เกษมสุวรรณ ประธานคณะกรรมการทีพีซี นางพรศิริ มโนหาญ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)ในฐานะเป็นองค์กรที่ถือหุ้นทั้งหมดของทีพีซี และ นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ประธานคณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(บอร์ดททท.) เพื่อขอความคิดเห็นถึงแนวทางการดำเนินงานนับจากนี้ไป

โดยจะนำข้อมูลผลการศึกษาที่ทีพีซีว่าจ้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในสมัย ร.ท.สุวิทย์ ยอดมณี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว ว่า หากต้องดำเนินกิจการอีลิทการ์ดต่อไปจะเป็นอย่างไร และหากปิดกิจการจะเป็นอย่างไร มูลค่าของความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ร่วมถึงวงเงินที่จะต้องจ่ายชดเชยรวมถึงค่าฟ้องร้องจากสมาชิกและตัวแทนจำหน่ายที่จะเกิดขึ้นภายหลังการปิดกิจการ เบื้องต้นคาดว่าถ้าปิดกิจการรัฐต้องใช้เงินไม่น้อยกว่า 2-5 พันล้านบาท สำหรับชดเชยแก่สมาชิก

“ทุกข้อมูลที่มีอยู่แล้ว จะนำมาปรับให้ทันสมัยขึ้นเพื่อนำออกมาเสนอ และอัพเดทตัวเลขต่างๆให้เป็นปัจจุบันที่สุด เช่น เรื่องขาดทุนเราจะนำผลการศึกษาที่ทำไว้แล้วมาปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันมากขึ้น เช่น ตัวเลขขาดทุนแบ่งเป็นรายปีว่าลดลงหรือเพิ่มขึ้นอย่างไร แผนการดำเนินงานและหารายได้เสริม เพราะที่ผ่านมาแม้บริษัทจะปรับปรุงแผนมาบ้างแล้ว แต่ก็ยังไม่เคยเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประกอบกับการเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ก็ต้องนำเสนอข้อมูลข้อเท็จจริงให้ได้รับทราบอีกครั้ง เพื่อให้ดำเนินการตัดสินใจ”

ชู3ทางเลือกก่อนส่งครม.ชี้ขาด

นายสุรพงษ์ กล่าวว่า ข้อมูลที่จะเสนอ ครม. จะแบ่งเป็น 3 แนวทางได้แก่ 1.เดินหน้าธุรกิจต่อ พร้อมแผนการทำงานที่เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมได้จริงและรวดเร็ว 2.ขายกิจการให้แก่เอกชนที่สนใจ และ 3.ปิดบริษัท พร้อมยื่นข้อเสนอให้แก่สมาชิกผู้ถือบัตรถึงค่าชดเชยที่จะได้รับ แต่ทั้งนี้รัฐบาลก็ต้องเตรียมงบประมาณจำนวนหนึ่ง สำหรับชดเฉยค่าเสียหายและค่าฟ้องร้องของสมาชิกที่จะเกิดขึ้น

เหตุการณ์ในครั้งนี้เป็นสิ่งที่ ทีพีซีต้องการอยู่แล้ว เพราะเราต้องการนำเสนอข้อมูลให้รัฐบาลและ ครม.ได้รับทราบ เพื่อช่วยหาแนวทางแก้ไข เช่นหากตัดสินใจว่าให้ดำเนินธุรกิจต่อ ก็ต้องมีแผนธุรกิจควบคู่ไปด้วย ว่าต้องทำอย่างไรให้บริษัทลดขาดทุนสะสมและเกิดกำไรภายในการทำงานช่วงกี่ปี ตรงนี้ให้ครม.สั่งการมาให้ชัดเจนตามแนวทางที่ทีพีซีวางไว้ โดยที่ผ่านมามีแต่มติให้ทำต่อแต่ไม่วางแนวทางว่าทำอย่างไร

หรือ หากต้องการขายกิจการก็ต้องออกเป็นเงื่อนไข ราคาสิทธิประโยชน์และการบริการที่จะได้รับเมื่อบริษัทตกไปอยู่ในการทำงานของภาคเอกชน ซึ่งทีพีซีก็ถือเป็นบริษัทจำกัดทั่วไป ด้วยรูปแบบการทำงาน การบริหารงาน แต่ผู้ถือหุ้นใหญ่ 100% เป็นหน่วยงานรัฐคือ ททท. จึงถูกมองว่าเป็นรัฐวิสาหกิจ ส่วนทางเลือกว่าจะหยุดขายสมาชิกใหม่แล้วบริหารแค่สมาชิกเก่าที่มีอยู่ตรงนี้มองว่าจะไม่ช่วยให้สถานะของบริษัทดีขึ้น เพราะ เราไม่มีรายได้จากการขายบัตรมาหมุนเวียน ส่วนรายได้เสริมก็คงไม่มากนัก

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลทั้งหมดจะนำเสนอต่อคณะผู้บริหารระดับสูงของ ทีพีซี ก่อนนำเสนอเข้าที่ประชุมบอร์ดอีลิทในวันที่ 10 ก.พ. 52 และเสนอที่ประชุมบอร์ดททท.วันที่ 18 ก.พ. 52 จากนั้นจึงเสนอผลการตัดสินใจและทางเลือกทั้งหมดต่อที่ประชุมครม.ให้เป็นผู้ตัดสินใจเด็ดขาดครั้งสุดท้าย

สำหรับตำแหน่งผู้จัดการใหญ่ ทีพีซี ที่อยู่ระหว่างการประกาศรับสมัครผู้สนใจอยู่ในขณะนี้ จากข่าวที่เกิดขึ้น อาจส่งผลให้ผู้ที่สนใจจะมาสมัครเกิดความไม่เชื่อมั่นในองค์กร อีกทั้ง หลักเกณฑ์การคัดเลือกคุณสมบัติผู้ที่จะมานั่งตำแหน่งนี้ ในฐานะเข้ามาเพื่อปรับโครงการการทำงานทั้งระบบของทีพีซี หรือ ผู้ที่จะเข้ามาเพื่อดำเนินการปิดกิจการ คุณสมบัติความรู้ความสามารถจะต้องต่างกัน

จึงเป็นไปได้ที่จะเสนอต่อ นางสาวศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวฯในฐานะประธานคณะกรรมการสรรหา ผู้จัดการใหญ่ ทีพีซี ขอให้ขยายเวลาการรับสมัครออกไปตามที่เห็นสมควรจากขณะนี้กำหนดเดิมจะปิดรับสมัครในวันที่ 5 ก.พ.52 ซึ่งหาก ประธานคณะกรรมการสรรหาเห็นด้วยก็จะออกเป็นประกาศกระทรวงฯเพื่อปฎิบัติได้ทันที

ล่าสุด บริษัทได้จัดประชุมพนักงานและตัวแทนจำหน่าย เพื่อทำความเข้าใจมติ ครม.ให้ทุกต้องตรงกัน พร้อมเตรียมทำหนังสือชี้แจงสมาชิกในต่างประเทศ

ททท.ย้ำถ้าจำเป็นก็ต้องปิด

ด้านนายอักกพล พฤกษะวัน รองผู้ว่าการด้านสินค้าการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ถือหุ้น 100%ในบริษัทไทยแลนด์พริวิเลจ คาร์ด จำกัด(ทีพีซี) กล่าวว่า จะนำมติ ครม.ไปชี้แจงให้บอร์ด ททท.รับทราบในวันที่ 18 ก.พ.นี้ พร้อมหารือร่วมกันว่าจากนี้ไปจะดำเนินการอย่างไร หากต้องยกเลิกกิจการจริงจะเกิดความเสียงหายแค่ไหน แต่เบื้องต้น หากรัฐบาลมีมติยกเลิกอันดับแรกคือประเทศภาพลักษณ์ประเทศจะได้รับความเสียหายแต่หากต้องทำจริงก็ต้องเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป

“ทีพีซีเคยเสนอแผนธุรกิจต่อที่ประชุมครม.ชุดก่อน โดยมีมติว่าให้ดำเนินโครงการต่อ เพราะเกี่ยวข้องกับความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ของประเทศไทย และยังเป็นช่วงเวลาที่ไม่เหมาะที่จะยกเลิกบริษัท “

ถ้าต้องยกเลิกบริษัททีพีซีจริงๆ ยอมรับว่า ททท.ก็ได้รับผลกระทบด้วย ว่าจะทำให้นักท่องเที่ยวหมดความเชื่อมั่น แต่หากมีความจำเป็นก็ต้องปิดบริษัท และ ยกเลิกโครงการแต่ทำแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้ผลกระทบและความเสียหายเกิดขึ้นน้อยที่สุด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ผ่านมา ทีพีซีได้เสนอแผนธุรกิจฉบับแก้ไขให้แก่บอร์ดทีพีซีและบอร์ด ททท.ได้เห็นแล้วแต่ถูกตีกลับ เพื่อให้ไปทำรายละเอียดในเชิงลึกมาเสนอ สำหรับแผนงานล่าสุด ที่ ทีพีซีเสนอ เช่น เพิ่มรายได้ลดรายจ่าย และ เพิ่มแผนงานบางอย่างที่จำเป็นเข้าไป จุดประสงค์เพื่อให้องค์กรและประเทศได้ประโยชน์สูงสุด เช่นกำหนดอายุบัตร 30 ปี จากของเดิมที่เป็นบัตรตลอดชีพ หรือแผนการปรับขึ้นราคาขายบัตรปีละ 20% เงื่อนไขการโอนสิทธิ์บัตรไปให้บุคคลอื่นๆ และ การใช้บริการ กอล์ฟ สปา และ ตรวจสุขภาพ ต้องเสียค่าใช้จ่ายเบื้องต้นครั้งละ 800 บาท จากเดิมที่ฟรีทั้งหมด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us