Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2531








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2531
"สอนเอ็มบีเอก็ต้องเดินสาย"             
 


   
search resources

พิชิต สุขเจริญพงษ์
MBA




จุดขายของโปรแกรมเอ็มบีเอที่ 9 สถาบัน ใน 14 โปรแกรมที่เปิดสอนในประเทศ คือ วิทยากรหรือที่เรียกกันว่าอาจารย์

หลายคนคงจะคิดว่าคนที่เดินสายสอนหลายแห่งคงจะเป็น อาจารย์พิเศษ เพราะว่ามีประสบการณ์มาก ๆ สถาบันต่าง ๆ อยากเชิญไปสอนเพื่อถ่ายทอดวิทยายุทธทางธุรกิจแก่นักศึกษาที่หลายคนพิสมัยอยากเป็นผู้ประกอบการ

แต่จริง ๆ แล้วอาจารย์ที่เป็น "ยอดนิยม" ของโครงการเอ็มบีเอทั้งหลายกลับไม่ใช่บรรดา "มืออาชีพ" กลับเป็นอาจารย์ประจำ และไม่ใช่อาจารย์บจุฬาฯ ธรรมศาสตร์ หรือนิด้าอย่างที่ควรจะเป็น ไม่ใช่อาจารย์จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีหรือเศรษฐศาสตร์ แต่กลับเป็นอาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ดร. พิชิต สุขเจริญพงษ์คืออาจารย์คนนั้น (นับจากจำนวนแห่งที่สอนมิใช่จำนวนชั่วโมงมาสอน)

พิชิต จบปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์ (เกียรตินิยม) จากจุฬาฯ และสำเร็จปริญญาโทและดอกเตอร์จากเอไอทีทางด้าน INDUSTRIAL MANAGEMENT ไม่เคยจบเมืองนอกด้วยซ้ำ แต่เขาเดินสายสอนถึง 8 แห่ง ตั้งแต่

เอ็มบีเอ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เอ็มบีเอ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

เอ็มบีเอ นิด้า

เอ็มบีเอ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

มินิเอ็มบีเอ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เอ็มเอ็มพี จุฬาฯ และมินิเอ็มบีเอ เกษตร มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตก็ทาบทามให้เขาไปสอน และหอการค้าก็ขอให้เขาไปเป็นอาจารย์พิเศษ

สิ่งที่น่าสนใจคือว่าทำไมเขาจึงเป็นที่นิยมเอามาก ๆ?

"ผมว่าอาจจะเป็นเพราะวิธีการสอนของผมก็ได้มั้งที่เป็นจุดเด่น" พิชิต สุขเจริญพงษ์พูดถึงจุดเด่นหรือ "จุดขาย" ของเขาตามแบบฉบับธุรกิจมิผิดเพี้ยนในวันที่เขาต้องอบรมเรื่องคอมพิวเตอร์ให้กับพนักงานกสิกรไทย

"ดร. พิชิต สอนเก่ง เข้าใจง่าย พูดง่าย แกสอนเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย ๆ ได้ และเด็ก ๆ ตามแกทัน" นักเรียนมินิเอ็มบีเอรุ่น 18 ของธรรมศาสตร์ให้ความเห็น

ดูวิชาที่เขาสอนก็พอจะบ่งบอกถึงความเป็นที่นิยมได้

วิชาเกี่ยวกับเอ็มบีเอโดยทั่วไปจะแบ่งเป็นวิชาทางด้านการเงิน การตลาด การบริหารงานบุคคล และการผลิต ที่สำคัญคือวิชาที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่กำลังทวีบทบาทอย่างสูงในปัจจุบัน

วิชาที่หาคนสอนได้ยากก็คือวิชาด้านการผลิตและคอมพิวเตอร์ "ที่จริงไม่ใช่ว่าหาคนสอนได้ยากหรอก แต่ว่าหาคนถ่ายทอดเก่ง ๆ ยาก" คนวงการศึกษาเล่า

พิชิตเข้ามาเสริมในช่องว่างตรงนี้ วิชาที่เขาสอนแบ่งออกเป็นสามกลุ่ม ด้านการผลิต คอมพิวเตอร์และวิทยาการจัดการ

นอกจากนี้เขายังเป็นที่ปรึกษาอีกสามบริษัทล็อกซเล่ย์ โตชิบ้า และบูติคนิวซิตี้ "ผมเป็นที่ปรึกษาทางด้านการวางระบบงาน" พิชิตบอกกับ "ผู้จัดการ"

วันนี้พิชิตต้องเดินสายสอนอย่างหนัก เพราะการขาดแคลนบุคลากรด้านนี้ และต้องต่อสู้กับการนินทาของคนนอกที่จับตาดูอยู่ว่าจะเป็นการผูกขาดการสอนและจะคงรักษาคุณภาพไว้ได้มากแค่ไหน

"ผมว่าคุณภาพมันก็ขึ้นอยู่กับคนที่มาเรียนด้วยนะ ผมสอนที่ มธ. เป็นหลักเลย RESOURCE เขาดี" พิชิตว่า

ภารกิจอันหนักหน่วงของเขาเป็นการพัฒนาบุคลากรทางธุรกิจ วันนี้เขายังคงไม่ย่อท้อต่อบทบาทด้านนี้ "ผมรักการเป็นครู เวลาสอนผมทุ่มเทมาก" เขาโฆษณาสรรพคุณตัวเอง

แปลว่าเขาจะเดินสายหนักยิ่งขึ้นหรือเปล่า??

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us