|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
สำนักงาน ก.ล.ต. เปิดรับฟังความเห็นการแก้ไขพ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เพื่อรองรับการแปลงสภาพตลาดหุ้นไทย เตรียมตั้งคณะกรรมการแปรสภาพทำแผนเข้าจดทะเบียน ด้านตลาดหลักทรัพย์ฯ เร่งเริ่มทำกำไรปีนี้หวังติดอันดับบริษัทน่าลงทุน ขณะที่ “ปกรณ์” ยอมรับอาจนำเข้าจดทะเบียนไม่ทันกำหนดปี 54 หากประกาศใช้กฎหมายไม่ทัน- ภาวะตลาดหุ้นไม่เอื้อ
นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยในงานสัมมนาเรื่อง “การแก้ไขกฎหมายหลักทรัพย์เพื่อรองรับการปรับโครงสร้างของตลาดทุนไทย” ที่จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) วานนี้ (29 ม.ค.) ว่า การแปรสภาพตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นบริษัท มหาชนจะต้องมีการแก้ไขพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 เพื่อปรับโครงสร้างให้ตลาดหลักทรัพย์ไทยมีความเป็นสากลมากขึ้น และพัฒนาให้เป็นแหล่งระดมทุน ที่สำคัญและมีประสิทธิภาพภารพมากขึ้น ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้เริ่มมีการปรับโครงสร้างองค์กรแล้วตั้งแต่ปีที่ผ่านมา
สำหรับขั้นตอนการดำเนินการแก้ไขกฎหมายนั้น อาจจะต้องใช้เวลาจากที่ก.ล.ต.ต้องรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานต่างๆ หลังจากส่งให้ทางกระทรวงการคลังเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา ก่อนจะส่งต่อให้สำนักงานกฤษฎีกาและประกาศบังคับใช้กฎหมายต่อไป
“ขณะนี้มีกฎหมายที่รอให้ครม.พิจารณาถึง 46 ฉบับ ทำให้พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ อาจจะพิจารณาไม่เสร็จภายในปีนี้ ซึ่งอาจจะเสร็จในปี 2553 หรือล่าช้ากว่านั้น ส่งผลให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่สามารถกระจายหุ้นได้ทันตามกำหนด”
อย่างไรก็ตาม แม้การแปรสภาพตลาดหลักทรัพย์ฯ เข้าจดทะเบียนไม่ทันในปี 2554 คงจะไม่ส่งผลกระทบแต่อย่างใด โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้มีการดำเนินการให้สาธารณชนทราบถึงความพร้อม รวมทั้งตลาดหลักทรัพย์ฯ จะต้องพิจารณาถึงภาวะตลาดหุ้นในช่วงนั้นๆ ด้วยว่ามีความเหมาะสมหรือไม่
ทั้งนี้ คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้มอบนโยบายว่า หากตลาดหลักทรัพย์ฯ เข้าจดทะเบียนจะต้องเป็นบริษัทโดดเด่น (Star Company) สร้างความน่าสนใจแก่นักลงทุน ดังนั้น ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะต้องเร่งสร้างรายได้ให้เติบโตมากขึ้นตั้งแต่ในปีนี้ โดยรายได้ที่จะเพิ่มขึ้นนั้นจะมาจากการออกสินค้าใหม่ และการนำบริษัทเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย
ร่างแก้กฎหมายหลักทรัพย์ฯ
นางพราวพร เสนาณรงค์ ผู้อำนวยการฝ่ายยุทธศาสตร์และการต่างประเทศ สำนักงาน ก.ล.ต. กล่าวว่า การแปรสภาพของตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นบริษัทมหาชน จะต้องมีการตั้งคณะกรรมการแปรสภาพ จำนวน 8 คน ประกอบด้วย บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งจากกระทรวงการคลังจำนวน 2 คน คณะกรรมการ ก.ล.ต. แต่งตั้ง 2 คน คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ แต่งตั้ง 3 คน และผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งจะทำหน้าที่ในการกำหนดกรอบในการดำเนินธุรกิจ สัดส่วนการถือหุ้น โครงสร้างบริหารงาน และกองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน (CMDF)ในการทำหน้าที่พัฒนาตลาดทุนไทย ซึ่งจะใช้เวลา 180 วัน
หลังจากนั้นเสนอให้ทางคณะกรรมการก.ล.ต.พิจารณาอีก 60 วัน ส่งต่อให้รัฐมนตรีพิจารณา 30 วัน ซึ่งหากเห็นชอบจะจัดตั้งคณะกรรมการ CMDF 60 วัน ชุดแรก ซึ่งมีผู้แต่งตั้งจากคลัง 2 คน ก.ล.ต. 2 คน ตลาดหลักทรัพย์ฯ 3 คน แต่หากไม่เห็นชอบต้องให้ทางคณะกรรมการแปรสภาพแก้ไขภายใน 90 วัน เมื่อตั้งคณะกรรมการ CMDF จะต้องมีการจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์ฯเป็น บริษัทมหาชนภายใน 30 วัน และโอนสินทรัพย์ฯโดยให้ CMDF ถือหุ้น 75%
สำหรับขั้นตอนการดำเนินการต่อไป การนำหุ้นเข้าไปซื้อขายในตลาดภายในเวลาที่คณะกรรมการ CMDF กำหนด และให้บอร์ด CMDF ลดสัดส่วนถือหุ้นในบริษัทหลักทรัพย์ไทย เหลือไม่เกิน 30% กระจายหุ้นแก่ผู้ถือหุ้นอื่นเช่น บล.หน่วยงานทางการอาจจะถือหุ้นในสัดส่วน 1 ใน 3 ของหุ้นทั้งหมด แต่ได้มีการจำกัดในการถือหุ้นตลาดหลักทรัพย์ฯโดยห้ามนักลงทุนต่างด้าวถือหุ้นรวมกันเกิน 49% เว้นแต่ รมว.คลังจะผ่อนผัน และห้ามตลาดหลักทรัพย์ฯ จ่ายเงินปันผลหรือผลประโยชน์อื่ใดหรือยอมห้ออกเสียงลงคะแนน สำหรับจำนวนหุ้นในส่วนที่มีผู้ใดถือเกิน 5% เว้นแต่ก.ล.ต.จะผ่อนผัน
นอกจากนี้ ได้มีการยกเลิกการห้ามผู้อื่นประกอบการเป็นตลาดหลักทรัพย์ฯ ยกเลิกห้ามสมาชิกซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนนอกตลาดหลักทรัพย์ ยกเลิกข้อกำหนดที่ให้การซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ต้องกระทำโดยบริษัทหลักทรัพย์สมาชิกเท่านั้น ด้านการกำกับตลาดหลักทรัพย์ภายใต้พ.ร.บ.ใหม่นั้น ให้อำนาจในการกำกับดูและแก่ก.ล.ต. เช่น สั่งห้ามซื้อขาย การเปิดเผยข้อมูลฯลฯ
นายสุทธิชัย จิตรวาณิชย์ รองผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์ฯ กล่าวว่า หากกฎหมาย ฯสามารถมีผลบังคับใช้ได้ในไตรมาส 4/52 ทำให้ในปี 2553 ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะมีการแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน ซึ่งจะต้องมีการจัดสรรเงินว่าจะใช้ในการดำเนินธุรกิจเท่าไร และจะอยู่ในส่วนกองทุน CMDF และการจัดสรรหุ้นบริษัทหลักทรัพย์ไทให้เหมาะสม ซึ่งการที่จะดึงดูดให้นักลงทุนเข้ามาสนใจเข้ามาลงทุนนั้นตลาดหลักทรัพย์ฯ จะต้องมีผลประกอบการที่ดีตั้งแต่ในปีนี้
นายบรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.)ภัทร จำกัด (มหาชน)หรือ PHATRA กล่าวว่า ส่วนตัวเห็นด้วยที่จะมีการแปรสภาพตลาดหลักทรัพย์ฯ นั้น มีความจำเป็น เพื่อที่จะแยกบทบาทการดำเนินงาน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน มีความยืดหยุ่นในอนาคตจากที่จะมีการเชื่อมโยงกับตลาดหุ้นอื่นๆ
“ผมมองว่าในเรื่องการจัดตั้งคณะกรรมการกองทุน CMDF นั้น ควรที่จะไม่มีผู้บริหารของตลาดหลักทรัพย์ฯ เข้าไปร่วมนั่ง เพื่อที่จะได้มุ่งเน้นในด้านการพัฒนาเต็มที่”
ด้านนายปกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ได้ยื่นหนังสือขอลากออกจากการเป็นคณะกรรมคัดเลือกบอร์ดคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในชุดที่ทางก.ล.ต.เป็นผู้แต่งตั้งต่อกระทรวงการคลังโดยขอให้มีผลตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม 2552 ซึ่งขณะนี้ทางกระทรวงการคลังได้รับเรื่องไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
|
|
|
|
|