|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย ออกโรงทวงความเป็นธรรมให้นักลงทุนรายย่อย ส่งหนังสือถึงกรรมการ “เอส.อี.ซี. ออโต้เซล แอนด์ เซอร์วิส” เร่งหาผู้บริหารที่ทุจริตจนก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ถือหุ้น “วิชัย” ลั่นขีดเส้นตายไม่คืนหน้าภายใน 15 วัน เตรียมส่งฟ้องศาลแพ่ง-อาญา เรียกค่าเสียบหายกว่า 1 พันล้านบาท พร้อมจี้ต่อมจริยธรรม “ท่าอากาศยานไทย” จ่ายโบนัสกรรมการ-ผู้บริหารเหมาะสมหรือไม่ ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจที่กำลังเกิดขึ้น
นายวิชัย พูลวรลักษณ์ นายกสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย เปิดเผยว่า วานนี้ (29 ม.ค.) สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทยได้ทำหนังสือถึงกรรมการของบริษัท เอส.อี.ซี. ออโต้เซล แอนด์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ SECC เพื่อเรียกร้องให้กรรมการบริษัทหาผู้กระทำผิดและก่อให้เกิดความความเสียหายจากมูลค่าสินทรัพย์ที่ลดลง การปล่อยกู้และราคาหุ้นที่ปรับตัวลดลง ซึ่งได้ส่งผลกระทบทำให้ผู้ถือหุ้นของบริษัทได้รับความเสียหาย เข้ามารับผิดชอบภายใน 15 วัน
ทั้งนี้ หากกรรมการ SECC ยังไม่ตอบรับและหาผู้กระทำผิดมารับผิดชอบภายในเวลาดังกล่าว ทางสมาคมฯ จะดำเนินการฟ้องต่อศาล หลังจากที่มอบหมายให้ทางสภาทนายความทำการศึกษาคดีดังกล่าวพบว่าผู้ถือหุ้นสามารถที่จะฟ้องได้ทั้งศาลแพ่ง และอาญา โดยจะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายให้แก่นักลงทุนรายย่อยประมาณ 1,000 ล้านบาท
“กฎหมายฉบับใหม่กำหนดไว้ การที่จะฟ้องร้องบริษัทได้จะต้องทำหนังสือแจ้งกรรมการบริษัทดังกล่าวก่อน เพื่อให้หาผู้กระทำผิดมารับผิดชอบก่อนภายใน 15 วัน ซึ่งเราจะไม่สามารถฟ้องร้องได้ทันที แต่หากหลังภายใน 15 วันไม่มีการดำเนินการ เราก็สามารถฟ้องร้องได้ทันที” นายวิชัย กล่าว
พร้อมกันนี้ สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทยยังได้ทำหนังสือถึงคณะกรรมการบรรษัทภิบาลแห่งชาติ ร้องเรียนกรณีที่บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT อนุมัติจ่ายโบนัสให้กับกรรมการ ผู้บริหาร ว่า ท่ามกลางสถานการณ์ปัจจุบัน มีความเหมาะสมทางด้านจริยธรรมและธรรมาภิบาลหรือไม่ เนื่องจากในที่ประชุมผู้ถือหุ้น มีผู้ถือหุ้นรายย่อยไม่เห็นด้วย แต่ไม่สามารถจะคัดค้านได้ เพราะคะแนนเสียงไม่มากพอจะคัดค้านเสียงผู้ถือหุ้นรายใหญ่ได้
“แม้ในแง่กฎหมายการดำเนินการดังกล่าวถือว่าไม่มีความผิด เพราะทำตามมติของผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ แต่จะต้องพิจารณาถึงด้านความเหมาะสมและจริยธรรมด้วย”
อย่างไรก็ตาม กรณีของ AOT นั้น ทางสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทยได้จัดทำสำเนาหนังสือส่งให้กับทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (ไอโอดี ) ด้วย
สำหรับแผนการดำเนินงานของสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทยในปี 2552 นั้น นายวิชัย กล่าวว่า สมาคมฯจะมีบทบาทมากขึ้นในด้านการปกป้องดูแล และคุ้มครองนักลงทุน เพราะช่วงภาวะเศรษฐกิจไม่ดี ทำให้เกิดมีการเอารัดเอาเปรียบแก่ผู้ถือหุ้นเกิดขึ้น ทางสมาคมฯจึงต้องทำหน้าที่ในการดูแลผู้ถือหุ้นรายย่อย ซึ่งในช่วงภาวะปกตินั้น สมาคมฯจะทำหน้าที่เป็นผู้ให้ความรู้ในการลงทุน และจากการที่กฎหมายธุรกิจหลักทรัพย์ เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นรายย่อย รวมตัวกัน 5% สามารถฟ้องร้องเมื่อถูกเอาเปรียบจากบริษัท ทำให้สมาคมมีความเข้มแข็งในการดูแลผู้ถือหุ้นรายย่อยมากขึ้น
นายประสงค์ วินัยแพทย์ รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า กรณีของการซื้อหุ้นบริษัท ซุปเปอร์บล็อก จำกัด (มหาชน)หรือ SUPERในบริษัท อิควิตี้ เรสซิเดนเชียล จำกัด หรือ EQUITY ว่า ช่วงที่ผ่านมา ทางงบล.ซิกโก้ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาการเงินอิสระและทำหน้าที่ประเมินมูลค่าการเข้าซื้อบริษัท อิควิตี้ เรสซิเดนเชียล ของ SUPER ได้ส่งข้อมูลการเข้าซื้อมายังก.ล.ต. ก่อนที่จะส่งข้อมูลเหล่านี้ในหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้น
ทั้งนี้ ทางก.ล.ต.พิจารณาแล้วและเห็นว่ายังมีหลายประเด็นยังมีความไม่ชัดเจนและให้ที่ปรึกษาทางการเงินกลับไปแก้ไขใหม่แล้วค่อยส่งกลับมาให้ก.ล.ต.พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง โดยต้องให้แล้วเสร็จ 14 วันก่อนจะมีการประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ นี้
|
|
|
|
|