Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน29 มกราคม 2552
เจโทรกระทุ้งรัฐ จี้แบงก์ปล่อยกู้ แก้SMEเลิกจ้าง             
 


   
search resources

Economics




เจโทรประเมินเศรษฐกิจไทยปีนี้แย่ เหตุได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกชัดเจน แต่ยืนยันไม่ถอนการลงทุน เผยยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อาการหนักสุด ทำบริษัทเอสเอ็มอีที่ผลิตชิ้นส่วน อะไหล่ ทั้งยานยนต์ เคมี เหล็ก โลหะ ป้อนโรงงานข้างต้น มีปัญหาต้องปลดคนงาน และจ้างออก ร้อง “มาร์ค” จี้แบงก์ปล่อยกู้เอสเอ็มอีง่ายขึ้น และประกันสินเชื่อยานยนต์กระตุ้นการซื้อ

นายมูเนโนริ ยามาดะ ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร กรุงเทพฯ) เปิดเผยว่า ในปีนี้เศรษฐกิจไทยจะแย่ลงกว่าปีที่ผ่านมา เพราะได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงิน และวิกฤตเศรษฐกิจโลกอย่างชัดเจน ส่วนจะฟื้นตัวเมื่อไร ยังไม่ทราบ แต่นักลงทุนญี่ปุ่นในไทย ยังเชื่อมั่นที่จะทำธุรกิจต่อไป หลังจากที่ไทยมีรัฐบาลชุดใหม่ และมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชัดเจน และยืนยันจะไม่ถอนการลงทุนออกไป แต่อาจจะย้ายฐานการผลิตจากประเทศอื่นมาแทน เพราะเศรษฐกิจโลกถดถอย บริษัทญี่ปุ่นต้องลดต้นทุน และประหยัดค่าใช้จ่าย จึงต้องย้ายฐานการผลิตในประเทศอื่นมารวมไว้ในประเทศที่ยังมีศักยภาพ ซึ่งไทยยังดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศได้ เพราะมีอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่สนับสนุนการผลิตที่สมบูรณ์ และรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศ

ส่วนการที่เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงิน และวิกฤติเศรษฐกิจโลกนั้น ส่งผลให้บริษัทญี่ปุ่นที่ลงทุนในไทยได้รับผลกระทบตามไปด้วย โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จึงได้เริ่มไม่ต่ออายุสัญญาจ้างพนักงานแบบเหมาจ่าย และให้พนักงานประจำออกจากงานก่อนกำหนด (เออร์ลี่ รีไทร์) บ้างแล้ว ในบริษัทขนาดกลางและเล็ก (เอสเอ็มอี) ในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนและอะไหล่รถยนต์ รวมถึงอุตสาหกรรมต้นน้ำ ทั้งอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เหล็ก โลหะ แม่พิมพ์งานโลหะและเหล็ก เป็นต้น

“เมื่อยอดการส่งออก และยอดขายลดลง บริษัทก็ต้องพยายามแก้ปัญหา อันดับแรก คือ ส่งพนักงานชาวญี่ปุ่นกลับประเทศ หากสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้นก็ต้องปรับลดการผลิต เช่น จาก 6 วันต่อสัปดาห์ เหลือ 5 วัน หรือ 3 วัน ไม่มีค่าทำงานล่วงเวลา ถ้ายังแก้ปัญหาไม่ได้ก็ต้องใช้มาตรการแรงงานต่อไป แต่ต้องทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย มีการจ่ายเงินชดเชย ซึ่งขณะนี้เริ่มเห็นบ้างแล้วในบริษัทเอสเอ็มอีของญี่ปุ่นที่ลงทุนในไทย” นายยามาดะกล่าว

นายยามาดะกล่าวอีกว่า สำหรับผลการสำรวจแนวโน้มทางเศรษฐกิจของบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นในไทยในช่วงครึ่งปีแรกปี 2551 ถึงปี 2552 ซึ่งสำรวจจาก 341 บริษัท ระหว่างวันที่ 30 ต.ค.-1 ธ.ค.2551 พบว่า ธุรกิจส่วนใหญ่ระบุธุรกิจแย่ลงในช่วงครึ่งปีหลัง 2551 ต่อเนื่องถึงครึ่งแรกปี 2552 เพราะเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินและเศรษฐกิจโลก ที่ทำให้กำลังซื้อลดลง รวมถึงผลกระทบจากการเมืองยังไม่นิ่ง โดยเฉพาะการปิดสนามบินสุวรรณภูมิ

ส่วนบริษัทที่ตอบแย่ลง ในครึ่งแรกปี 2552 มี 71% เพิ่มขึ้นจากครึ่งหลังปี 2551 ที่ตอบ 59% โดยอุตสาหกรรมที่แย่ลงอย่างชัดเจน ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ รองลงมาจะเป็นอุตสาหกรรมเคมี เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งแย่ลงทั้งในด้านยอดการส่งออกลดลง ยอดขายในประเทศลดลง ผลกำไรลดลง การแข่งขันกับบริษัทอื่นรุนแรงขึ้น เป็นต้น โดยเฉพาะการส่งออกไปจีน อาเซียน ยุโรปลดลงมาก นอกจากนี้ ผลกระทบจากวิกฤตการเงินโลกยังทำให้บริษัทต่างๆ เข้าถึงแหล่งเงินกู้ยากขึ้น เพราะสถาบันการเงินเข้มงวดปล่อยกู้มากขึ้น

อย่างไรก็ตาม บริษัทญี่ปุ่นคาดหวังให้รัฐบาลไทยมีนโยบายที่เหมาะสม และมีการบริหารจัดการที่มีความสอดคล้อง ต่อเนื่องกัน โดยเฉพาะในเรื่องการหารือกับภาคอุตสาหกรรมก่อนกำหนดนโยบายต่างๆ เช่น ด้านพลังงาน เป็นต้น รวมถึงต้องการให้แก้ไขกฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวให้เอื้อต่อการลงทุน คาดหวังให้ไทยเป็นผู้นำในอาเซียน เป็นต้น ส่วนมาตรการที่ต้องการให้รัฐบาลไทยดำเนินการ เช่น ให้เอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้มากขึ้น ผ่อนปรนการปล่อยสินเชื่อให้แต่ละอุตสาหกรรมได้มากกว่า 25% ประกันสินเชื่อภาคยานยนต์เหมือนภาคอสังหาริมทรัพย์เพื่อจูงใจให้ซื้อมากขึ้น เป็นต้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us