Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน29 มกราคม 2552
ธาริษาอุ้มแบงก์ถ่างสเปรด อ้างROAแค่1.1%คลังชี้ประจานตัวเอง             

 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
ธาริษา วัฒนเกส
Banking and Finance




ผู้ว่าแบงก์ชาติใช้วาระการแถลงนโยบายประจำปีชี้แจงข้อกังขาสังคมให้แบงก์พาณิชย์ อ้างสเปรดดอกเบี้ยไทย 3.2% อยู่ระดับกลางในภูมิภาค ยกตัวเลขผลตอบแทนต่อทรัพย์สินบอกต่ำสุดที่ 1.1% พร้อมป้องตลาดหุ้นดัชนีตลาดหุ้นตกไม่ได้ทำให้รายได้ของแบงก์ลดลง เหตุแบงก์ลงทุนส่วนนี้น้อยแค่ 2 แสนล้านบาท เทียบสินทรัพย์ทั้งระบบ 8.8 แสนล้านบาท คลังจับโกหก ชี้สเปรดไทยสูงอันดับสองในอาเซียน ชี้ ธปท.ลูกไล่แบงก์ บิดเบือนแถมประจานตัวเอง

นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ชี้แจงระหว่างแถลงนโยบายประจำปี 2552 กรณีที่อัตราส่วนต่างดอกเบี้ยเงินกู้กับเงินฝาก (สเปรด) ของไทยอยู่ในระดับสูงว่า ขณะนี้ระบบธนาคารพาณิชย์ไทยมีอัตราดอกเบี้ยสุทธิ 3.2% ถือว่าอยู่ในระดับกลางเมื่อเทียบกับประเทศในอาเซียน 5 ประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ที่ 4-6% แต่เมื่อหักต้นทุนในการดำเนินงานต่างๆ ได้แก่ ค่าพนักงาน ค่าไอที เงินนำส่งกองทุนฟื้นฟู แล้ว ผลตอบแทนต่อทรัพย์สิน (ROA) จะเหลือแค่ 1.1% ถือว่าต่ำสุดในประเทศอาเซียน 5 ประเทศ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าธนาคารพาณิชย์สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพได้มากขึ้น เพื่อให้ใกล้เคียงกับประเทศอาเซียนอื่นๆ

“ต้นทุนของธนาคารพาณิชย์มีหลายประเภท ซึ่งหนึ่งมาจากการทำตามกฎเกณฑ์ของเรา แต่ขณะนี้กำลังปรับปรุงให้ดีขึ้นตามหลักเกณฑ์แผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินฉบับที่ 2 อีกทั้งยังมีต้นทุนด้านพนักงาน ไอที ภาระภาษีและต้นทุนกันสำรอง ถือเป็นต้นทุนตัวใหญ่ รวมถึงการนำเงินฝากส่งสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ดังนั้น การจะให้ต้นทุนลดลงภาครัฐสามารถทำได้ และอีกบางส่วนธนาคารพาณิชย์พยายามปรับปรุงอยู่ ซึ่งในช่วงสั้นสามารถลดต้นทุนบางอย่างได้ แต่ในระยะยาวต้องใช้เวลา”

อย่างไรก็ตาม แม้ดัชนีตลาดหุ้นจะลดลงมากก็ไม่ได้เกิดจากรายได้ของธนาคารพาณิชย์ในระบบเข้าไปลงทุนในส่วนนี้ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบมีการลงทุนในตราสารทุนประมาณ 2 แสนล้านบาท เทียบกับสินทรัพย์ที่มีอยู่ถึง 8.8 ล้านล้านบาท ถือว่าจำนวนเงินน้อย ซึ่งตามหลักเกณฑ์ธนาคารสามารถลงทุนตลาดทุนได้ไม่ไม่เกิน 20%ของเงินกองทุน อีกทั้งธปท.ได้ทำแบบทดสอบหากดัชนีตลาดหุ้นต่ำถึง 350 จุดก็ไม่กระทบต่อธนาคารพาณิชย์เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม การลงทุนส่วนใหญ่ของธนาคารพาณิชย์ไทยเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลกว่า 1 ล้านล้านบาท ถือว่ามีเม็ดเงินจำนวนมากกว่า และพันธบัตรรัฐบาลไม่มีความเสี่ยงด้านเครดิตและตลาดนัก จึงเชื่อว่าจะไม่มีปัญหาต่อสภาพคล่องในระบบในอนาคต

ทั้งนี้ ในปัจจุบัน การปล่อยสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่เกิดจากอุปสงค์ภายในประเทศเป็นหลัก ซึ่งสินเชื่ออุปโภคบริโภคยังขยายตัวดีอยู่ โดยลูกหนี้รายใหญ่ยังคงไม่มีปัญหา เพราะมีฐานะมั่นคงอยู่ แต่ที่มีปัญหา คือ ลูกค้าขนาดกลางและรายย่อย จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่รัฐบาลให้ความสำคัญในการลดความเสี่ยงด้วยการให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐค้ำประกันสินเชื่อให้แก่ผู้กู้ที่เป็นรายย่อยร่วมกับธนาคารพาณิชย์ในระบบด้วย รวมทั้งสามารถสร้างความเชื่อมั่นจากการที่ภาคธุรกิจมีสภาพคล่องดีขึ้น

ส่วนการเสนอให้ธนาคารพาณิชย์ผ่อนคลายค่าธรรมเนียมและอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบัตรเครดิตในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวนั้น ธปท.ได้มีหลักเกณฑ์ที่เป็นเพดานให้ธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามอยู่แล้ว แต่หากธนาคารพาณิชย์สามารถปรับลดอัตราต่างๆ ลงมาได้ช่วยให้ลดปัญหาหนี้เอ็นพีแอลได้ด้วย ซึ่งขณะนี้ธนาคารส่วนใหญ่มีแนวโน้มความเสี่ยงลดลง แต่มีต้นทุนสูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ ทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องมีการพิจารณาเรื่องความเสี่ยงและต้นทุน

อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งพยายามประคองลูกค้าให้ดีที่สุด เพื่อผลประโยชน์ของธนาคารเอง ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าธนาคารดูแลลูกค้าเป็นอย่างดี ทำให้ตัวเลขเอ็นพีแอลลดลงอย่างต่อเนื่อง แม้อัตราการผิดนัดชำระหนี้สูงขึ้น

อิดออดรับภาระดอกเบี้ยบอนด์รัฐ

กรณีที่มีบางฝ่ายเสนอให้ธปท.ช่วยรับภาระจ่ายดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลแทนกระทรวงการคลัง เพื่อช่วยให้กระทรวงการคลังมีงบประมาณเข้าไปกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้นนั้น ผู้ว่าการธปท. กล่าวว่า หากธปท.ดำเนินการดังกล่าวก็ต้องแก้ไขกฎหมายใหม่ และหากท้ายที่สุดแล้วกระทรวงการคลังต้องการให้เข้าไปช่วยเหลือก็ยินดีที่จะทำ แต่ต้องมีการพูดคุยกันก่อน เพื่อหารือร่วมกันและไม่ให้สร้างปัญหาหนี้ในระยะยาวต่อไป

“หากธปท.ชำระดอกเบี้ยแทนคลังก็ต้องดูภาพรวมทั้งหมดว่าควรนำเงินส่วนไหนมาใช้ และควรดำเนินการอย่างไร โดยการชำระหนี้แทนมีผลต่อรูปแบบดำเนินการ คือ หากชำระหนี้แทน 1 ปีจะมีการดำเนินการรูปแบบหนึ่ง หรือถ้าหลายปีจะมีอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับบัญชีธปท.และบัญชีทุนสำรองเงินตราด้วย”

ทั้งนี้ ล่าสุดงบการเงินของธปท.ประจำปี 2551 พบว่า ธปท.มีกำไรเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากการนำเงินตราต่างประเทศไปลงทุน ทำให้มีผลตอบแทนกลับคืนมาบ้าง เพราะเงินบาทอ่อนค่าลง หลังจากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเงินบาทแข็งค่ามาก ทำให้เมื่อตีราคาราคาจากเงินตราต่างประเทศมาเป็นเงินบาท ได้กำไรน้อยลง จึงมีข้อจำกัดในส่วนนี้ แต่ในปีนี้ธปท.มีกำไรจึงสามารถนำส่งเงินให้รัฐบาลเข้ากองทุนสะสมบ้าง เพื่อชำระคืนหนี้

ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า ธปท.มองว่าเศรษฐกิจไทยปี 2552 ขยายตัวได้อยู่ที่ระดับ 0-2% แต่เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้ยังคงเติบโตต่อไปได้และไม่ถึงขั้นถดถอยเหมือนหลายประเทศ ถือเป็นความท้าทายของภาครัฐและเอกชนอย่างมาก แม้ได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกและในประเทศมาระยะหนึ่งแล้ว แต่สามารถปรับตัวได้ดี ขณะที่นโยบายมหภาคทั้งนโยบายการเงินและการคลังมีเป้าหมายเดียวกันในการดูแลเศรษฐกิจให้เติบโต ซึ่งการดำเนินนโยบายการเงินก็ยังคงผ่อนคลายอย่างต่อเนื่อง ส่วนนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนก็จะดูแลให้เกาะกลุ่มกับประเทศภูมิภาค ซึ่งขณะนี้เงินบาทค่อนข้างนิ่งและอยู่ระดับกลางๆ ทำให้การทำธุรกิจต่างๆ ไม่ติดขัดนัก

คลังยันสเปรดสูงอันดับสอง

แหล่งข่าวกระทรวงการคลังเปิดเผยส่วนต่างดอกเบี้ยของไทยเทียบกับประเทศแถบอาเซียนว่า เป็นรองแค่อินโดนีเซียที่ส่วนต่างดอกเบี้ย 6% ส่วนประเทศอื่นๆ เฉลี่ย 2% ตนคิดว่า ธปท.กำลังเบี่ยงเบนประเด็นต่อสื่อมวลชน ด้วยการใช้ตัวเลขผลตอบแทนที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (Net Interest Margin: NIM) ว่ามีเพียง 3.2% หรืออ้างว่าเมื่อหักต้นทุนแล้วผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) จะเหลือเพียง 1.1% เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่าขณะนี้ผู้ฝากเงินได้รับดอกเบี้ยแค่ 1.75% แต่เมื่อไปกู้เงินจะสูงถึง 7% หักลบแล้วเท่ากับ 5.25% นี่คือส่วนต่างจริงที่ลูกค้าเจอ และ ธปท.ไม่ควรนำรายได้หรือรายจ่ายอื่นๆ เข้ามาบิดเบือน

"ประเด็นก็คือได้ส่วนต่างไปกว่า 5% แต่เหลือ ROA แค่ 1.1% แปลว่าแบงก์กำลังขูดรีดลูกค้าไปหักต้นของตัวเองถึง 4% กว่าๆ ความหมายก็คือนโยบายการเงินไทยล้มเหลวใช่หรือไม่ แบงก์ชาติด้อยประสิทธิภาพในการกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์ใช่หรือไม่"

แหล่งข่าวกล่าวและว่า ที่ผ่านมาอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริงของไทยติดลบ เพราะต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us