Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2531








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2531
"ณรงค์ มหานนท์ เดินสายหลังเกษียณ"             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงเทพ

   
search resources

ธนาคารกรุงเทพ, บมจ.
ไทยรุ่งเรือง กรุ๊ป
ณรงค์ มหานนท์




สมัยก่อนผู้ยิ่งใหญ่วงการเมืองมักจะมาดำรงตำแหน่งตามบริษัทใหญ่ ๆ อย่างประภาส จารุเสถียร มานั่งเป็นประธานกรรมการธนาคารกรุงเทพฯ หรือบรรดาจอมพลทั้งหลายมานั่งเป็นอธิการบดีหลาย ๆ มหาวิทยาลัย

แต่สังคมธุรกิจและการเมืองปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมาก

ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศเป็นอีกพวกหนึ่งที่ได้รับเชิญให้เป็นกรรมการบริษัทใหญ่ ๆ ในปัจจุบัน เช่น ม.ร.ว. เกษมสโมสร เกษมศรี ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เป็นกรรมการแบงก์กสิกรไทย หรือล่าสุดที่อาสา สารสิน ก็เป็นกรรมการแบงก์กรุงเทพ

สำหรับข้าราชการตำรวจก็เป็นกรรมการแบงก์เช่นกัน พล.ต.อ. เภา สารสิน เป็นกรรมการแบงก์กสิกรไทย เป็นที่น่าสังเกตว่าตระกูลสารสินจะเป็นกรรมการแบงก์มากเป็นพิเศษ ไม่ใช่ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่อย่างเช่นตระกูลอื่น ๆ แต่เป็นในลักษณะตัวแทนสาขาอาชีพ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นตระกูลแห่งสายสัมพันธ์ แยกย้ายกันเป็นกรรมการกันหลายแบงก์ รวมทั้งพจน์ สารสิน ที่เป็นประธานแบงก์ไทยทนุในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่รายหนึ่ง

แต่ลักษณะที่นิยมกันมากกันอย่างหนึ่งก็คือ เชิญข้าราชการเกษียณอายุมาดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษา นายพลบางคนที่ออกจากราชการมานานตอนนี้ยังเป็นที่ปรึกษาอยู่หลาย ๆ แห่ง บางคนทำงานหนักกว่าราชการอีก

ข้าราชการตำรวจเป็นสาขาอาชีพหนึ่งที่ได้รับเชิญให้มาดำรงตำแหน่งที่ว่านี้ "เพราะธุรกิจเมืองไทยต้องการความสะดวกสบายในหลาย ๆ เรื่อง" ผู้สันทัดกรณีให้ความเห็น ยิ่งถ้าเป็นตำรวจด้วยแล้วยิ่งไม่ต้องกลัวว่าจะเหงาหลังเกษียณ

พลตำรวจเอกณรงค์ มหานนท์ ก็ไม่พ้นจากวัฏจักรนี้ ณรงค์ก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจเมื่อปี 2525 ต่อจากพลตำรวจเอกสุรพล จุลพราหมณ์ ที่เป็น อ.ต.ร. ถัดจากพลตำรวจเอกมนต์ชัย พันธ์คงชื่น ที่ได้รับการแต่งตั้งในสมัยสมัคร สุนทรเวช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยที่ประกาศสั่งปลด พลตำรวจเอกศรีสุข มหินทรเทพ กลางอากาศ

ณรงค์เป็น อ.ต.ร. เป็นเวลาถึง 5 ปี เป็น อ.ต.ร. ที่ตงฉินมากที่สุดคนหนึ่ง ว่ากันว่าครั้งหนึ่งมีพ่อค้าคนหนึ่งขับรถเบนซ์ไปให้เป็นของขวัญวันเกิด "ท่านสั่งให้เอากลับคืนไปด่วน" คนที่อยู่ในเหตุการณ์เล่า

ชีวิตการเป็นตำรวจ 42 ปีของเขาไม่เคยมีข้อด่างพร้อย ตั้งแต่เป็นร้อยตำรวจตรีที่สถานีพญาไท จนเป็นใหญ่ในกรมตำรวจในตำแหน่ง อ.ต.ร.

จนถึงวันที่เขาเกษียณ (30 กันยายน 2530) เขาก็ลงจากตำแหน่งอย่างขาวสะอาด

ก่อนเกษียณมีข่าวว่าเขาจะไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์แต่ก็ไม่ได้ไป ข่าวบางกระแสออกมาว่าเป็นการสร้างสถานการณ์

หลังเกษียณณรงค์ได้รับเชิญเป็นที่ปรึกษา 2 แห่ง คือแบงก์กรุงเทพในตำแหน่ง "ที่ปรึกษาธนาคาร" และซุ่นหั่วเซ้ง หรือกลุ่มเกษตรรุ่งเรืองฯ บริษัทส่งออกข้างรายใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองไทยเชื้อเชิญณรงค์ไปเป็นที่ปรึกษา "เงินที่ได้มากกว่าสมัยเป็นอธิบดีกรมตำรวจเสียอีก" แหล่งข่าวในวงการบอก "ผู้จัดการ"

ยัง ๆ ไม่พอ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ก้าวลงจากตำแหน่งประธานกรรมการมหานครประกันชีวิตให้ณรงค์ขึ้นแทน

บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ศรีมิตร (ซีมิค) บริษัทในเครือธนาคารกสิกรไทยที่มีผลประกอบการที่รุ่งเรืองเอามาก ๆ บริษัทหนึ่ง มอบตำแหน่งรองประธานกรรมการให้เขา

และนี่คือบทบาทของพลตำรวจเอกณรงค์ มหานนท์ ภายหลังเกษียณ คงจะเป็นภาพสะท้อนสังคมไทยได้อีกแบบหนึ่งว่า สำหรับคนที่มากบารมี มีความสามารถและลูกน้องรัก ถึงจะเกษียณก็ยังต้องเดินสายเพื่อเป็นประโยชน์แก่เอกชน และจะได้ไม่เหงาอีกต่างหาก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us