Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน28 มกราคม 2552
แฉไส้ในทอท.กลบขาดทุนผู้ถือหุ้นฟ้องบอร์ดสูบเงิน             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ท่าอากาศยานไทย, บมจ.
Airport




ผู้ถือหุ้นรายย่อยทอท.ฟ้องศาลปกครองแล้ว ลั่นสู้ถึงที่สุดปกป้องผลประโยชน์ของบริษัทและชาติ หลังเห็นความไม่ชอบมาพากลของผู้ถือหุ้นใหญ่อย่างคลัง และ ผู้บริหาร ร่วมกันทำให้ทอท.เป็นแหล่งขุดทองใส่ตัว บริหารงานขาดทุนแต่ยังจ่ายปันผล และ โบนัส กันอู้ฟู้ แฉผลดำเนินจริงขาดทุนมาตั้งแต่ปี’50 มาถึง ปี’51 แต่เอารายได้อื่น,เงินประกันคิงเพาเวอร์ มาโป๊ะจนกำไรอู้ฟู้ มิหนำซ้ำปัดความรับผิดชอบกรณี “เสรีรัตน์” สั่งปิดสนามบินสุวรรณภูมิเองโดยไร้แผนสำรอง

จากกรณีกลุ่มผู้ถือหุ้นรายย่อยบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ทอท. นำโดยพล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน อดีตรองปลัดกระทรวงกลาโหม ในฐานะผู้ถือหุ้น ได้เข้าร่วมประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2551 เมื่อวันที่ 23 ม.ค.ที่ผ่านมา และพบความไม่ชอบมาพากลของการดำเนินงานของผู้ถือหุ้นใหญ่ คือ กระทรวงการคลังและผู้บริหาร โดยเฉพาะ เรื่องผลดำเนินงานของบริษัท โบนัสของกรรมการ และการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ ซึ่งเบื้องต้นได้เข้าร้องต่อศาลปกครองเพื่อขอให้คุ้มครองระงับการดำเนินการดังกล่าวไปแล้ววานนี้ (27ม.ค.)

จ่อฟ้องศาลอาญา หากดื้อจ่ายโบนัสบอร์ดทอท.

แหล่งข่าวจากผู้ถือหุ้นรายย่อย บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. กล่าวว่า ขณะนี้ผู้ถือหุ้นรายย่อยได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลางแล้วเพื่อขอคุ้มครองระงับการดำเนินการจ่ายเงินโบนัสกรรมการ ประจำปี 2551 ชุดที่มีนายวุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์ เป็นประธานกรรมการ โดยเห็นว่าการที่กรรมการทอท.เสนอขอขึ้นเงินโบนัสให้ตัวเอง ไม่มีเหตุผล เป็นการทำผิดกฎหมาย ทั้งพ.ร.บ.กรรมการรัฐวิสาหกิจ และมติคณะรัฐมนตรีที่กำหนดระเบียบในการจ่ายโบนัส ที่ระบุชัดเจนว่า หากบริษัทมีกำไรเกินกว่า 5,000 ล้านบาท จะต้องมีการบวกผลตอบแทนโบนัสคนละ 5 หมื่นบาท แต่ก็ได้มีการเสนอขอโบนัสเพิ่มคนละ 2.1 แสนบาท ซึ่งถือว่า เกินกว่าที่ระบุไว้ถึง 5 เท่า ถือเป็นการเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้อง เลือกปฏิบัติ ไม่มีธรรมาภิบาลของบริษัทมหาชน โดยกรรมการทอท.ส่วนใหญ่เป็นตัวแทนหน่วยงานของกระทรวงการคลังและคมนาคม

หากคณะกรรมการบริษัทฯดำเนินการจ่ายโบนัส โดยไม่รอคำสั่งศาลปกครองฯ ผู้ถือหุ้นรายย่อยก็จะเดินหน้าฟ้องร้องต่อศาลอาญาต่อไป โดยจะฟ้องนายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 70%

แฉตัวเลขกำไรแต่ในไส้เน่า

พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน เปิดเผย “ASTVผู้จัดการรายวัน” ว่า จริงๆแล้วได้พบข้อพิรุธก่อนนี้ เพราะก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้น ทอท.ได้จัดส่งเอกสารมาให้ผู้ถือหุ้นแต่ละรายได้ศึกษาวาระต่างๆที่จะประชุม ซึ่งก็มาสะดุดตรงวาระจ่ายเงินปันผลและผลการดำเนินงาน

ทั้งนี้ในเอกสารงบการเงินระบุว่า ในปี 2550 บริษัทมีกำไรสุทธิ 1,089.76 ล้านบาท อนุมัติให้จ่ายปันผล 571.43 ล้านบาท (ดูตารางประกอบ) ดูผิวเผินเหมือนไม่มีอะไร แต่เมื่อพิจารณาในรายละเอียดจะเห็นว่า กำไรสุทธิส่วนนี้ไม่ได้เกิดจากผลการดำเนินงานเลย เพราะมาจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการบันทึกเงินลงทุนในบริษัทย่อย และบริษัทร่วมในงบการเงินเฉพาะบริษัท จากวิธีส่วนได้ส่วนเสียเป็นวิธีราคาทุน

การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้ทอท.มีกำไรสุทธิสำหรับปี 2550 เพิ่มขึ้นทันที 100.09 ล้านบาทและเมื่อรวมกับกำไรที่เกิดจากอัตราแลกเปลี่ยนอีก 2,800 ล้านบาท หักค่าใช้จ่ายออกมาจึงเหลือตามตัวเลขที่ปรากฎ คือ 1,089.76 ล้านบาท โดยไม่มีเรื่องผลการดำเนินงานที่แท้จริงเลย แต่คณะกรรมการ และผู้ถือหุ้นใหญ่ก็อาศัยเสียงข้างมากขอมติให้มีการจ่ายเงินปันผล

“หากไม่มีกำไรในส่วนที่เปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชีและค่าเงินมา ทอท.จะขาดทุนแน่นอน” พล.ร.อ.บรรณวิทย์ กล่าว

ต่อมา งวดประจำปี 2551 ที่ผ่านพ้นไป บริษัทฯแจ้งว่ามีกำไรสุทธิ 7,321.05 ล้านบาท หรือมีผลประกอบการที่เพิ่มขึ้นกว่าปี 2550 ถึง 2.3 เท่า ขออนุมัติให้จ่ายเงินปันผลและผลตอบแทนแก่กรรมการรวมเป็นเงิน 3,685.71 ล้านบาท

ทว่า หากพิจารณาในรายละเอียดตามงบการเงินแล้วก็เข้าอีหรอบเดียวกันกับปี 2550 ในจำนวนกำไรสุทธิที่เห็นตัวเลขว่าสูงนั้นแท้ที่จริงหากดูแหล่งที่มาก็จะพบว่า เป็นเงินส่วนที่มาจาก รายได้อื่น คือ ค่าทดแทนตามคำสั่งศาลแพ่ง กรณีการไกล่เกลี่ยคดีระหว่างทอท.กับ บริษัทคิงส์เพาเวอร์ซึ่งบริษัทผู้รับสัมปทานดิวติ้ฟรีของสนามบินรายนี้ประกันไว้ เป็นเงิน 8,331.53 ล้านบาทมารวมทั้งๆที่อนาคตไม่มีใครกล้ารับรองได้ว่า ทอท.หรือ คิงส์เพาเวอร์ใครจะสู้คดีแล้วชนะหรือแพ้

“คำถามคือ หากตัดรายได้ส่วนนี้ออกไป ทอท.จะมีกำไรหรือไม่ ไม่ต้องเดาคำตอบก็รู้เลยว่า ขาดทุน” พล.ร.อ.บรรณวิทย์ กล่าว

ทั้งนี้จะเห็นว่า รายได้ของทอท.ในปี 2550-2551 ซึ่งรวมมาเป็นกำไรสุทธินั้นไม่ได้มาจากรายได้ประจำที่เกิดขึ้นเสมอไม่ใช่ผลประกอบการที่แท้จริง (Non-Recuring Item)

ถามหาจริยธรรมคลัง ดันแจกเงินบอร์ด

พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เล่าว่า ในวันประชุมสามัญผู้ถือหุ้นได้ลุกขึ้นอภิปรายถามถึงจริยธรรมของตัวแทนกระทรวงการคลังและคัดค้านต่อที่ประชุมว่า ไม่เห็นด้วยที่จะเอากำไรมาแบ่งเป็นโบนัสกรรมการคนละกว่า 1.3 ล้านบาท ปรากฎว่า นายวุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์ ประธานในที่ประชุม และ เป็นตัวแทนกระทรวงการคลังที่ถือหุ้นใหญ่ใช้สิทธิเสียงข้างมากโหวตให้ผ่านเรื่องนี้ ไม่สนใจข้อท้วงติงของรายย่อยจนที่ประชุมเริ่มปั่นป่วนขึ้นแล้ว

กระทั่งการประชุมดำเนินมาถึงวาระอื่นๆ ซึ่งกระทรวงการคลังเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาแต่งตั้งบอร์ดใหม่ โดยกระทรวงการคลังเสนอรายชื่อมาเอง 14 คนทั้งที่ผู้ถือหุ้นรายย่อยไม่เคยทราบเรื่องและศึกษามาก่อน การประชุมก็ปั่นป่วนขึ้นอีกครั้ง

“เหมือนกับการประชุมของอสมท.เมื่อปีที่แล้วซึ่งเคยเกิดเรื่องทำนองนี้ขึ้น ผู้ถือหุ้นใหญ่ผลักดันมาแต่ถูกรายย่อยคัดค้าน จนที่ประชุมต้องกลับไปทบทวนและดำเนินการไปตามขั้นตอนมาใหม่” พล.ร.อ.บรรณวิทย์กล่าว

ทว่า กระทรวงการคลังก็ยืนยันใช้สิทธิ์ถามมติที่ประชุมซึ่งตนเองเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 1,000ล้านเสียงเห็นด้วยแล้วบังคับ ขณะที่รายย่อยลุกขึ้นถามว่า คลังมีเจตนาอะไรเคลือบแคลงหรือไม่ที่ต้องเร่งผลักดัน ไม่สนใจผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นรายย่อยหรือปกป้องผลประโยชน์ของรัฐ ซึ่งรายย่อยจะสู้ถึงที่สุดด้วยการพึ่งศาลปกครองระงับการดำเนินการของผู้ถือหุ้นใหญ่และบอร์ดทอท. จากนั้นที่ประชุมก็ปั่นป่วนจนต้องยุติการประชุมเมื่อผู้ถือหุ้นวอล์กเอ้าท์ การประชุมถูกเลื่อนให้มีขึ้นใหม่ในวันที่ 17 ก.พ.นี้

“หากผู้ถือหุ้นใหญ่ กระทรวงการคลัง ยังทำงานแบบมีวาระซ่อนเร้น ผมจะร่วมกับผู้ถือหุ้นรายอื่นจะร่วมกันสู้ต่อไป โดยจะยื่นฟ้องศาล เพื่อแสดงให้เห็นว่า การแต่งตั้งบอร์ดมีใบสั่งมาทั้งหมด โดยทอท.ไม่ได้คำนึงถึงการบริหารเพื่อประโยชน์ขององค์กรและแก่รัฐ ดูได้จากการดันทุรังจ่ายเงินโบนัสกรรมการในอัตราที่สูงลิ่วทั้งที่ขาดทุน นี่น่าจะเป็นเหตุผลว่า ทำไมก่อนหน้านี้สถาบันการเงิน 5 รายใหญ่ของสหรัฐฯถึงขายหุ้นออกหมด เพราะการทำงานที่ไม่โปร่งใสของทอท.หรือไม่ ไม่ใช่เรื่องขาดความเชื่อมั่นจากการปิดสนามบินที่ทอท.ชอบอ้าง” พล.ร.อ.บรรณวิทย์ กล่าว

จากการตรวจสอบของ “ASTVผู้จัดการรายวัน” ถึงโครงสร้างผู้ถือหุ้นทอท. ณ ปัจจุบัน (4ม.ค.2552) พบว่า กระทรวงการคลังยังถือหุ้นใหญ่ 1,000 ล้านหุ้นคิดเป็น 70% ของทุนจดทะเบียน รองลงมาได้แก่ Nortrust nominees ltd. 4.97%, State street bank and trust company for Australia 4.80%, Chase nominees limited1 3.68% และ Nortrust nominees limited-Northern trust guernsey clients 1.47%

ขณะที่อันดับอื่นๆที่น่าสังเกต เมื่อเทียบกับปี 2551 (ก.พ.2551) ผู้ถือหุ้นใหญ่ อาทิ Goldman Sachs International The Bank of NY Nominees LTD หายไปโดยมีสำนักงานประกันสังคม เข้ามามีรายชื่อถือหุ้นใหญ่ที่ 0.61% แทน

แฉบอร์ด-ผู้บริหาร ปัดรับผิดชอบปิดสนามบิน

รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับกรณีการปิดสนามบินสุวรรณภูมิซึ่งเกิดขึ้นหลังจากประชาชนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเข้ายึดทางเข้า-ออกสนามบินบางส่วน เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน 2551 ซึ่งที่ประชุมผู้ถือหุ้นทอท.ได้มีผู้ถือหุ้นรายย่อยลุกขึ้นซักถามความรับผิดชอบของบอร์ดและผู้บริหาร 2-3 ครั้ง แต่ประธานคือนายวุฒิพันธุ์ ปฎิเสธที่จะตอบ โดยมอบหมายให้นายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ รักษาการผู้อำนวยการใหญ่และผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทอท.เป็นคนตอบ

ทั้งนี้นายเสรีรัตน์ ชี้แจงเพียงว่า ได้ดำเนินการทุกอย่างไปตามขั้นตอนแล้ว

แหล่งข่าวจากทอท.กล่าวในเรื่องนี้ว่า ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่าทอท.ดำเนินการตามขั้นตอนแล้ว เพราะการปิดสนามบินตามหลักการสากลสนามบินแต่ละแห่งจะต้องมีแผนสำรอง สนามบินสุวรรณภูมิก็เคยทำ เช่นการซ่อมรันเวย์ก็ให้ไปใช้ที่สนามบินดอนเมือง หรือ ในแผนสำรองก็ต้องมีว่า หากเกิดเหตุสุดวิสัยอื่นๆไม่สามารถใช้สุวรรณภูมิได้แล้วจะใช้ที่ไหนสำรอง เช่น ดอนเมือง,อู่ตะเภา ทุกอย่างต้องเคร่งครัดจะอ้างไม่ได้เลยว่า สนามบินเหล่านั้นไม่มีเครื่องมือสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างนายเสรีรัตน์ยกเป็นเหตุผลไม่ได้ และคนที่จะต้องร่วมรับผิดชอบด้วยก็คือบอร์ดในฐานะเป็นคนบริหาร

แหล่งข่าวกล่าวว่า การปิดสนามบินต้องถูกตรวจสอบ ในประเด็นแรกคือใครเป็นบุคคลที่มีอำนาจในการสั่งปิดสนานบิน 2.เมื่อมีการปิดสนามบินแล้วคณะกรรมการการท่าฯทำอะไรอยู่ ได้ทำตามแผนฉุกเฉินหรือไม่ 3.เมื่อการปิดสนามบินอันเนื่องมาจากการกระทำดังกล่าวแล้วชาติเสียหาย เอกชนเสียผลประโยชน์ นายเสรีรัตน์ และบอร์ด จะรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นทอท.ต่อประชาชนผู้เสียภาษี และ ประเทศอย่างไร?

“ผมเชื่อว่าอีกไม่นานจากนี้ กลุ่มผู้ถือหุ้นรายย่อยจะยื่นต่อศาลฟ้องในประเด็นเหล่านี้แน่” แหล่งข่าวกล่าว

ย้ำไม่ใช้เงินภาษีอุ้มบินไทย

ขณะเดียวกัน ปัญหาของการบินไทย หนึ่งในรัฐวิสาหกิจที่กำลังมีปัญหาในการดำเนินงานขณะนี้ นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงกระแสข่าวการนำกฎหมายล้มละลายมาใช้ฟื้นฟูการขาดสภาพคล่องของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ว่า แนวทางการแก้ไขปัญหาการบินไทยนั้น ยืนยันว่าจะไม่นำเงินภาษีของประชาชนไปช่วยเหลือหรืออุ้ม ซึ่งการบินไทยจะต้องทำแผนฟื้นฟูให้ชัดเจนและแจ้งมายังกระทรวงการคลัง เพื่อระบุว่าจะไม่มีเหตุการณ์ซ้ำรอยในอนาคต หลังจากนั้นกระทรวงการคลังจะพิจารณาหาแหล่งเงินทุนที่จะเข้ามาช่วยเหลือองค์กรต่อไป   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us