|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
เตรียมเสนอ ครม. ผ่านมติกำหนดกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อปี 52 ใหม่ เป็น 0.5-3% ขยับฐานจาก 0-3.5% "กนง.-รมว.คลัง" เห็นร่วมกันหวังสกัดปัญหา "เงินฝืด" ชี้การตั้งกรอบใหม่เลื่อนฐานขั้นต่ำขึ้นจาก 0% เป็น 0.5% ยังเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ประเทศ เผยมีข้อแม้หาก กนง.ทำเงินเฟ้อหลุดเป้า ต้องแจงผ่านหนังสือเปิดผนึกให้ รมว.คลัง และประชาชนรับทราบว่า เกิดขึ้นได้ย่างไร และเมื่อไรจะดึงเงินเฟ้อกลับเข้าเป้าได้
น.ส.ดวงมณี วงศ์ประทีป ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงการเปลี่ยนแปลงเป้าหมายเงินเฟ้อ ที่จะใช้เป็นเป้าหมายเงินเฟ้อของปี 2552 ว่า ตามกกฎหมาย ธปท.ฉบับปัจจุบันจะมีการกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะใช้เป็นเป้าหมายในการกำหนดนโยบายการเงิน และอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นรายปี ซึ่งดำเนินการภายในเดือน ธ.ค.ของทุกปี จะมีการหารือเป้าหมายเงินเฟ้อที่เหมาะสมที่จะใช้ในปีต่อไป กับ รมว.คลัง เพื่อกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อที่เหมาะสม
สำหรับปี 2552 นี้ กนง. และ รมว.คลังได้ หารือเพื่อทบทวนกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่เหมาะสมร่วมกันแล้ว ว่า ในการกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อในปี 2552 จะยังใช้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยรายไตรมาสเป็นเป้าหมายต่อไป เพื่อความต่อเนื่องของการดำเนินนโยบายการเงิน และเห็นว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะสะท้อนแรงกดดันที่มาจากด้านอุปสงค์ได้มากกว่า และมีความผันผวนน้อยกว่าเงินเฟ้อทั่วไป
อย่างไรก็ดี เพื่อลดโอกาสการเข้าสู่ภาวะเงินฝืดที่เป็นห่วงกัน กนง.และรมว.คลัง จึงเห็นชอบกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่จะใช้ในปี 2552 นี้ อยู่ที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน 0.5-3% จากเป้าหมายเดิมซึ่งอยู่ที่ 0-3.5% ซึ่งเป็นการแสดงเจตนารมณ์ของ กนง.ที่ไม่ต้องการให้ประเทศเข้าสู่ภาวะเงินฝืด นอกจากนั้น การกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อพื้นฐานที่ 0.5-3% ยังพิจารณาแล้วว่า เป็นอัตราเงินเฟ้อที่เหมาะสมกับประเทศคู่แข่ง และสามารถรักษาความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยได้
ทั้งนี้ เมื่อกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อใหม่แล้ว หาก กนง.ไม่สามารถรักษาให้เงินเฟ้ออยู่ในเป้าหมาย กนง.และต้องทำหนังสือเปิดผนึกถึง รมว.คลัง เพื่ออธิบายสาเหตุที่เงินเฟ้อหลุดจาดเป้าหมาย รวมถึงระบุถึงแนวนโยบายการเงินในระยะต่อไปว่าจะเปลี่ยนแปลงให้กลับมาสู่เป้าหมายได้อย่างไร รวมทั้งจะต้องบอกเวลาที่ชัดเจนว่า จะต้องใช้เวลาเท่าไรที่เงินเฟ้อจะกลับเข้าเป้า ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นมาตรฐานสากลเพื่อสร้างความรับผิดชอบให้กับคณะกรรมการนโยบายการเงินทั่วโลก
“ขณะนี้ ยังไม่ได้ใช้กรอบเงินเฟ้อใหม่ 0.5-3% เพราะตามกฎหมาย ธปท. หลังจากที่รมว.คลังเห็นชอบแล้ว จะต้องนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบด้วย โดยขณะนี้ทราบว่าอยู่ระหว่างการนำเสนอ ครม.เห็นชอบ หลังจากนั้น จึงจะนำมาประกาศเป็นกรอบเป้าหมายอย่างเป็นทางการต่อไป” ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธปท.กล่าวและว่า กรอบเงินเฟ้อเดิมที่ 0-3.5% นั้น ธปท.ใช้มาตั้งแต่ปี 2543
เมื่อวันที่ 26 ม.ค.ที่ผ่านมานายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวว่า กระทรวงการคลังได้เห็นชอบกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อปี 52 ตามที่ ธปท.เสนอมาที่ 0.5-3% ซึ่งจะได้นำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบต่อไป
|
|
 |
|
|