Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน28 มกราคม 2552
บลจ.เชื่อสิงคโปร์อยู่ต่อ ไม่ถอนเงินลงทุนหนีกลับ             
 


   
search resources

วนา พูลผล
Funds




ผู้บริหารกองทุน เชื่อ สิงคโปร์ไม่ถอนเงินลงทุนจากไทยกลับบ้าน แม้เศรษฐกิจประเทศจะทรุดฮวบ เพราะไทยเป็นแหล่งการลงทุนในระยะยาว และมีแนวโน้มการเติบโตที่ดีในอนาคต อีกทั้งเมืองลอดช่องยังได้รับการกระตุ้นเศรษฐกิจจากทางภาครัฐเป็นอย่างดี ส่วนการปล่อยขายเป็นเพราะสภาพคล่องช่วงนี้มีน้อย

นายวนา พูลผล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ยูโอบี จำกัด เปิดเผยถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศสิงคโปร์ที่ทรุดตัวลงมาอย่างมากในขณะนี้ จนทำให้มองกันว่าสิงคโปร์อาจมีการขายหุ้นหรือสินทรัพย์ที่ลงทุนอยู่ในต่างประเทศรวมถึงประเทศไทยออกมาเพื่อดึงเงินลงทุนกลับประเทศตนเองว่า การลงทุนในตลาดหุ้นประเทศไทยของสิงคโปร์นั้น เป็นการลงทุนกลยุทธ์ที่เป็นลักษณะของการลงทุนในระยะยาว ซึ่งมีการลงทุนอยู่ในหุ้นกลุ่มธนาคาร กลุ่มสื่อสาร กลุ่มอสังหาริมทรัพย์เป็นต้น

โดยเป็นการลงทุนของภาครัฐบาลเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเชื่อว่าไม่น่าที่จะมีการถอนเงินลงทุนออกไป แม้ว่าจะประสบปัญหาทางเศรษฐกิจแต่ สิงคโปร์มีเงินทุนสำรองต่างประเทศอยู่มาก ซึ่งสามารถอัดฉีดเงินเข้าระบบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศได้ อีกทั้งจะทำให้สถาบันการเงินภายในประเทศไม่ประสบปัญหาทางการเงิน และไม่มีความจำเป็นที่จะต้องถอนเงินลงทุนจากต่างประเทศกลับไป

"ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศสิงคโปร์ที่เกิดขึ้นนั้น นักลงทุนภายในประเทศไม่ได้มีความวิตกแต่อย่างใดเพราะภาครัฐได้เข้าอัดฉีดเงินเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศแล้ว แต่ที่เรื่องที่กำลังเป็นที่วิตกกันอยู่ในขณะนี้คือในเรื่องของปัญหาการว่างงานมากกว่า" นายวนา กล่าว

ขณะที่นายอรุณศักดิ์ จรูญวงศ์สีนิลมล ผู้อำนวยการสายงานจัดการกองทุน บลจ. เอสซีบี ควอนท์ จำกัด กล่าวว่า ประเทศสิงคโปร์ได้เข้ามาลงทุนในประเทศไทยเป็นมูลค่าหลายแสนล้านบาท โดยเป็นการลงทุนในระยะยาว แต่ว่าจากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นนั้น ภาคสภาบันการเงินของประเทศสิงคโปร์ไม่ได้ประสบปัญหาทางการเงินแต่อย่างใด ขณะเดียวกันรัฐบาลของประเทศก็ทำการอีดฉีดเงินเข้าระบบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ จึงเชื่อว่าไม่จะมีการถอนเงินลงทุนจากประเทศไทยกลับไปที่สิงคโปร์แน่นอน

"เชื่อว่าในขณะนี้ไม่น่าจะมีการขายหุ้นทิ้งเพื่อดึงเงินลงทุนกลับไป แต่จากวิกฤตที่เกิดขึ้นมีการขายบ้างแต่ก็ไม่มากนัก ซึ่งหากมีการขายหุ้นคงเป็นเพราะขาดสภาพคล่องในระบบมากกว่า " นายอรุณศักดิ์ กล่าว

สอดคล้องกับทางด้าน นายกำพล อัศวกุลชัย รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายพัฒนาและสนับสนุนตัวแทนขาย บลจ. ทหารไทย จำกัด ที่ให้ความเห็นในทางเดียวกันว่า นักลงทุนสิงคโปร์ไม่น่าจะถอนเงินลงทุนออกจากไทยเพราะสถานการณ์ในตอนนี้ได้ผ่านจุดวิกฤตที่รุนแรงมาแล้ว เพียงแต่ในขณะนี้สถานการณ์การลงทุนยังไม่มีความแน่นอนจึงยังไม่มีเงินลงทุนกลับเข้ามาลงทุนในไทยมากนัก แต่อย่างไรก็ตามยังมีความเป็นไปได้ที่อาจจะมีการถอนเงินลงทุนกลับไปที่ประเทศตนเองเพื่อเพิ่มสภาพคล่องในระบบ และหากเป็นเช่นนั้นจะส่งผลต่อราคาของหุ้นในตลาดของไทยที่จะปรับตัวลดลง

"โดยประเทศสิงโปร์นั้นเป็นประเทศแรกในเอเชียที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตสถาบันการเงิน เพราะประสบปัญหาการส่งออก แต่รัฐบาลก็มีมาตรการที่เข้ามาช่วยเหลือในเรื่องนี้อยู่ ทำให้ไม่เกิดความกังวลในเรื่องนี้มากนัก จึงยังไม่คิดว่าจะเกิดการถอนเงินลงทุนกลับเข้าประเทศแต่อย่างใด"นายกำพล กล่าว

ด้าน นายธิติ ธาราสุข ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท เน็กซ์วิว (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ในขณะนี้จากวิกฤตที่เกิดขึ้นส่งผลให้หลายบริษัทในสิงคโปร์ปรับลดเงินเดือนพนักงานลงเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้เพราะธุรกิจในสิงคโปร์ส่วนใหญ่ทำหน้าทึ่เป็นตัวกลางในการติดต่อซื้อขายจึงมีรายได้หลักมาจากค่านายหน้า ดังนั้นเมื่อเศรษฐกิจเกิดการชะลอตัวคำสั่ง หรือออเดอร์การซื้อขายต้องปรับลดลงตาม นอกจากนี้ เนื่องจากสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติจำกัด จึงนิยมขยายฐานหรือจัดตั้งสาขาในต่างประเทศเพื่อช่วยสร้างรายได้ และผลกำไร กลับมาสู่บริษัทแม่ในสิงคโปร์มากกว่า แต่จากวิกฤตซับไพร์มที่เกิดขึ้น ทำให้สำนักงานสาขาหลายแห่งไม่สามรถส่งรายได้กลับสู่สำหนักงานใหญ่ได้

ส่วนความวิตกกังวลเรื่องการถอนเงินลงทุนกลับสู่ประเทศ โดยเฉพาะในประเทศไทยนั้น เป็นไปได้ยาก แต่อาจเป็นไปในแง่ของลดต้นทุนการใช้จ่ายออกไปมากกว่า ขณะที่ในบางประเทศอาจมีการปิดสาขา หากไม่สามารถสร้างผลกำไรและประสบปัญหาขาดทุนหนัก อย่างไรก็ตามต้องเข้าใจพฤติกรรมการลงทุนของนักลงทุนสิงคโปร์ด้วยว่า ส่วนใหญ่จะเน้นการลงทุนในระยะยาวโดยเฉพาะในสินทรัพย์ขนาดใหญ่ เช่นอสังหาริมทรัพย์ ขณะที่การลงทุนในหุ้นจะเน้นในกลุ่มพลังงาน กลุ่มธนาคารพาณิชย์ และกลุ่มที่ไม่มีความหวือหวา

" นักลงทุนสิงคโปร์มองว่าภาพรวมเศรษฐกิจไทยยังมีความน่าเชื่อถือ และยังมีโอกาสในการเติบโตอีกเยอะ มิฉะนั้นเขาคงจะไม่เข้ามาลงทุน ขณะที่กลุ่มอสังหาริมทรัพย์เชื่อว่าที่อาจจะมีการถอนการลงทุนกลับไปบ้าง โดยน่าจะเป็นในกลุ่มธุรกิจบริหารจัดการสินทรัพย์มากกว่าการลงทุนในสินทรัพย์โดยตรง อย่างเช่น ที่ดิน อาคาร โรงแรมต่างๆ นอกจากนี้อีกธุรกิจหนึ่งที่จะได้รับผลกระทบด้วยคาดว่าจะเป็นกลุ่มธุรกิจประกันภัยเพราะเมื่อเศรษฐกิจแย่ลง รายได้และค่าครองชีพจะลดลงตามไปด้วย ซึ่งจะส่งผลต่อความสามารถในการชำระเบี้ยประกันของลูกค้า"

ทั้งนี้สถาบันวิจัยนครหลวงไทย ประเมิณแนวโน้มทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ว่า รัฐบาลประกาศแผนกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ โดยใช้วงเงิน 20,500 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์หรือประมาณ 13,740 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งวงเงินกระตุ้นเศรษฐกิจของสิงคโปร์เทียบเท่ากับ 8 % ของ GDP สิงคโปร์ โดยวงเงินของแผนกระตุ้นเศรษฐกิจสิงคโปร์จะเน้นไปที่การจ้างงานและรักษาตำแหน่งงานโดยมีวงเงิน 5,100 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ วงเงินในกระตุ้นการปล่อยสินเชื่อของภาคธนาคาร 5,800 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์และวงเงินในการลงทุนสาธารณูปโภคพื้นฐาน การศึกษาและสาธารณสุขที่วงเงิน 4,400 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์

ทำให้ประเมินว่าแผนกระตุ้นสิงคโปร์นั้นไม่น่าจะส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจสิงคโปร์จนถึงระดับที่พลิกฟื้นเศรษฐกิจให้ขยายตัวเป็นบวกได้ เนื่องจากเศรษฐกิจสิงคโปร์เชื่อมโยงกับต่างประเทศในระดับสูงและสิงคโปร์นั้นมีข้อจำกัดทางพื้นที่ทางกายภาพส่งผลให้การใช้นโยบายการคลังในการสร้างสาธารณูปโภคขนาดใหญ่เพื่อเน้นการจ้างงานจำนวนมากนั้นอาจจะไม่ได้ผล นอกจากนี้ พลเมืองสิงคโปร์นั้นมีความชำนาญในธุรกิจการเงิน การบริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งโดยลักษณะธุรกิจดังกล่าวนี้เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกในระดับสูง การฟื้นตัวของสิงคโปร์ยังต้องรอการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกหรืออีกนัยหนึ่งคือการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ G-3 ซึ่งได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศภาคพื้นยุโรป (Euro Area)

ขณะเดียวกัน รัฐบาลสิงคโปร์ประกาศว่ายังไม่มีแนวโน้มที่จะใช้โยบายด้านอัตราแลกเปลี่ยนอ่อนค่าเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นเศรษฐกิจ รัฐบาลสิงคโปร์ยังคงยืนยันช่วงของอัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์สิงคโปร์ต่อดอลลาร์สหรัฐฯในปัจจุบันว่ายังเป็นช่วงของอัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสม

อย่างไรก็ตามสถาบันวิจัยนครหลวงไทยประเมินว่าจุดยืนด้านอัตราแลกเปลี่ยนของสิงคโปร์นั้นมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนได้ในอนาคตอันใกล้ ซึ่งคาดว่าในอนาคตอันใกล้ สิงคโปร์เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนอ่อนค่าเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะเศรษฐกิจสิงคโปร์นั้นเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกในระดับสูง การใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนอ่อนค่าจะช่วยเพิ่มศักยภาพการส่งออกสินค้าและบริการของสิงโปร์ในตลาดโลก

นอกจากนี้ในภาพรวมประเมินว่าประสิทธิผลของนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนอ่อนค้านี้มีจำกัดประเทศคู่แข่งทางการค้าอื่นๆมีแนวโน้มที่จะลดค่าเงินตามในอนาคต อาทิ จีน ประเทศแถบอาเซียนและประเทศอื่นๆจะเน้นยุทธศาสตร์การขยายตัวทางเศรษฐกิจด้วยการส่งออก (Export led growth) ดังนั้น การใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนอ่อนค่าของสิงคโปร์จะได้ประสิทธิผลที่น้อยลงส่วนตัวเลขผลผลิตสินค้าและการส่งออกที่ซบเซา รวมถึงการควบรวมกิจการในภาคธุรกิจและสถาบันการเงินอาจทำให้เกิดการปลดพนักงานขนานใหญ่ และคาดว่าในปี 2553 ยอดคนตกงานในสิงคโปร์จะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 300,000 คน โดย 2 ใน 3 ของจำนวนนี้ล้วนเป็นชาวต่างชาติ ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้จะทำให้จำนวนประชากรในสิงคโปร์ลดลง 3.3% เหลือ 4.68 ล้านคน จึงคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์อาจหดตัว 2.8% ในปีนี้ ขณะที่รัฐบาลคาดว่าตัวเลขจีดีพีจะลดลงอย่างมากแค่ 2% ขณะที่อัตราว่างงานในปี 2553 อาจเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 20 ปีที่ 5.6%   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us