Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน27 มกราคม 2552
ข่าวร้ายลูกค้ากู้เงินต้องรอยาวถึงสิ้นปี             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
เกริก วณิกกุล
Loan




อนาคตมืดมน คนขอสินเชื่อแบงก์ต้องรอสิ้นปี บิ๊ก ธปท.ป้องแบงก์พาณิชย์ยังไม่ปล่อยกู้เพราะสถานการณ์ยังไม่เป็นใจ หวั่นเจอลูกค้าไม่ดี คุยต่อไปใช้หลักเกณฑ์บาเซิล 2 การปล่อยสินเชื่อจะเพิ่มขึ้น เหตุลดน้ำหนักความเสี่ยงที่ใช้คำนวณเงินกองทุน โดยเฉพาะปล่อยกู้สินเชื่อรายย่อยเหลือ 75% สินเชื่อบ้าน 35% เอื้อธุรกิจแบงก์เล็กที่มีพอร์ตด้านนี้มาก รวมถึงให้แบงก์กันสำรองลูกหนี้เอ็นพีแอลในสัดส่วนที่สูงสามารถลดน้ำหนักความเสี่ยงลงได้

นายเกริก วณิกกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในช่วงปลายปีนี้ธปท.เชื่อว่าระบบธนาคารพาณิชย์ไทยจะมีการปล่อยกู้มากขึ้น เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ต้องรักษาลูกค้าที่ดีไว้ ขณะเดียวกันการปล่อยสินเชื่อ ถือเป็นธุรกิจหลักของสถาบันการเงิน หากมีการปล่อยกู้ได้น้อยหรือได้ลูกค้าที่ไม่ดีจะทำให้ธุรกิจธนาคารพาณิชย์พังได้ ดังนั้นในช่วงนี้สถาบันการเงินจึงมีการรอดูสถานการณ์ต่างๆให้นิ่งเสียก่อน

“ตอนนี้ระบบแบงก์มีกำไรมาก แม้อยู่ภายใต้สถานการณ์ไม่ดีนัก เพราะได้มีการตั้งสำรองครบแล้วตามมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ (IAS39) ถึง 1.49 แสนล้านบาทและสะท้อนให้เห็นสิ่งที่แบงก์ชาติและแบงก์พาณิชย์ร่วมกันทำ ดังนั้นขณะนี้แบงก์จะเคร่งครัดปล่อยสินเชื่อบ้าง แต่เชื่อว่าไม่กระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริง เพราะไม่มีใครสามารถขยายสินเชื่อได้ในช่วงที่คำสั่งซื้อลดลง"

ปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ไทยมีเงินกองทุนส่วนเกินประมาณ 4.2 แสนล้านบาท ซึ่งมีฐานรองรับการขยายสินเชื่อเพิ่มขึ้นได้สูงสุดราว 5.1 ล้านล้านบาท คิดเป็น 76%จากยอดสินเชื่อทั้งหมด

โดยก่อนหน้านี้ นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธปท.กล่าวว่า ในปัจจุบันแม้ต้นทุนทางการเงินจะต่ำแต่ต้นทุนความเสี่ยงจากการปล่อยสินเชื่อก็สูงขึ้นเช่นกัน วิธีการที่จะแก้ปัญหานี้อย่างมีประสิทธิภาพก็คือการค้ำประกันสินเชื่อโอนผ่านบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เท่านั้น

หวังบาเซิล 2 ช่วยปล่อยกู้ฉลุย

สำหรับการนำหลักเกณฑ์การกำกับดูแลเงินกองทุนฉบับใหม่ (บาเซิล 2) มาใช้ตั้งแต่วันที่ 31 ธ.ค.51ที่ผ่านมา นายเกริกกล่าวว่า สถาบันการเงินในระบบทั้งสิ้น 34 แห่ง ส่วนใหญ่เลือกใช้วิธี SA และที่เหลืออีก 3 แห่งใช้วิธี IRB ซึ่งเป็นสถาบันการเงินต่างชาติขนาดเล็กที่เข้ามาทำธุรกิจในไทยและเป็นการใช้ตามบริษัทแม่ในต่างประเทศ และมั่นใจว่าจะสามารถเดินหน้าตามหลักเกณฑ์นี้ที่เหลือภายในสิ้นปีนี้ต่อไป

อย่างไรก็ตาม แม้เกิดวิกฤตการเงินโลก แต่ ธปท.ยังนำหลักเกณฑ์บาเซิล 2 มาใช้ เนื่องจากมองว่าสถาบันการเงินไทยยังมีความแข็งแกร่ง ซึ่งล่าสุดในสิ้นเดือนก.ย.สถาบันการเงินไทยมีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง(บีไอเอส เรโช) อยู่ที่ 15.7% แต่เมื่อใช้หลักเกณฑ์นี้เงินกองทุนลดลง 1.8% เหลือประมาณ 13.9% ประกอบสถาบันการเงินได้เตรียมการรองรับนำหลักเกณฑ์นี้มาใช้ตั้งแต่ปี 2548 จึงเชื่อว่าแม้จะนำหลักเกณฑ์นี้มาใช้ก็ไม่ได้กระทบต่อการปล่อยสินเชื่อให้น้อยลง และไม่จำเป็นต้องมีสถาบันการเงินในระบบเพิ่มทุน

ทั้งนี้ การนำหลักเกณฑ์บาเซิล 2 มาใช้กลับช่วยสนับสนุนการขยายตัวสินเชื่อมากขึ้นจากหลักเกณฑ์บาเซิล 1 โดยเฉพาะลดน้ำหนักความเสี่ยงที่ใช้คำนวณเงินกองทุนสำหรับสินเชื่อรายย่อยจาก 100% เป็น 75% สินเชื่อที่อยู่อาศัยจาก 50% เป็น 35% ซึ่งส่วนใหญ่ธนาคารพาณิชย์ขนาดเล็กจะปล่อยสินเชื่อด้านนี้มาก อีกทั้งด้านหลักประกันการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ที่สามารถใช้ปรับลดความเสี่ยงและลดเงินกองทุนได้ก็ขยายประเภทมากขึ้นกว่าเดิม

นอกจากนี้ ในช่วงภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวอาจจะส่งผลให้สถาบันการเงินมีภาระหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) สูงขึ้น ประกอบกับหลักเกณฑ์นี้จะกำหนดให้สถาบันการเงินดำรงเงินกองทุนสูงขึ้นกว่าหลักเกณฑ์บาเซิล 1 คือ มีน้ำหนักความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจาก 100% มาเป็น 150% แต่ธปท.ได้กลับเปิดช่องให้ธนาคารพาณิชย์กันเงินสำรองสำหรับลูกหนี้เอ็นพีแอลในสัดส่วนสูงสามารถลดน้ำหนักความเสี่ยงลงได้

อีกทั้งเกณฑ์บาเซิล 2 ยังเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์ ถือว่าสอดคล้องกับความเสี่ยงที่แท้จริงมากขึ้น และแม้ไทยเริ่มใช้หลักเกณฑ์นี้ในปี 51-52 ซึ่งเป็นประเทศสุดท้ายในลุ่มอาเชีย แต่เชื่อว่าการนำเกณฑ์มาตรฐานสากลมาใช้ช่วยให้ความน่าเชื่อถือต่อสถาบันการเงินไทยมากขึ้น

“ในสถานการณ์ปัจจุบันการผ่อนคลายกฎเกณฑ์มากเกินไปหรือขันน็อตให้แน่นมากเกินไปไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด แต่แบงก์ชาติพยายามให้การเกณฑ์ต่างๆ ให้นิ่ง ซึ่งปัจจุบันระบบแบงก์พาณิชย์ไทยแข่งแกร่งมีเงินกองทุนเฉลี่ยทั้งระบบอยู่ที่ระดับ 13-14% ขณะที่ต่างชาติมีเงินกองทุนแค่ 8% เท่านั้น จึงไม่ได้ห่วงเรื่องการออกกฎเกณฑ์ใหม่ๆ มาบังคับสถาบันการเงินในระบบ”   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us