Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน27 มกราคม 2552
กองทุนอสังหาฯลุ้นภาษีที่ดินใหม่             
 


   
search resources

พิชิต อัคราทิตย์
Funds




บลจ.เชื่อภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่พุ่งเป้าอัดเจ้าสัว-กระตุ้นการลงทุนบนที่ดินทิ้งร้าง มากกว่ารายย่อยและกองทุนอสังหาริมทรัพย์"พิชิต"เล็งต่อรองขอยกเว้นสำหรับกองอสังหาฯที่มีรายย่อยเป็นหลัก หลังมีรายละเอียดชัดเจนมากขึ้น ด้านผู้จัดการกองทุนหวั่น พ.ร.บ.ฉบับใหม่ขาดความชัดเจน แยกประเภทประเมิณสิ่งปลูกสร้างไม่ตรงตามความเป็นจริง

นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) เอ็ม เอฟซี จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า กระแสการนำพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาใช้ทดแทน พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฉบับเดิม น่าจะเป็นความต้องการของรัฐบาลในการลดความเลื่อมล้ำของการกระจายได้ในประเทศ โดยมีเจตนาในการเก็บภาษีจากเจ้าของสิ่งปลูกสร้าง หรือเจ้าของที่ดินที่ไม่ได้ใช่ประโยชน์มากกว่า

อย่างไรก็ตาม พ.ร.บ.นี้นับเป็นเรื่องใหม่ของประเทศไทย ส่วนจะมีผลกระทบต่อกองทุนอสังหาริมทรัพย์หรือไม่คงต้องติดตามหลังจากนี้เพราะยังไม่แน่นอนว่าจะมีการบังคับใช้ หรือมีหลักเกณฑ์อย่างไรบ้าง โดยเชื่อว่าเบื้องต้นน่าจะมีเจตนาในการเก็บภาษีกับรายใหญ่มากว่า ส่วนการลงทุนรายย่อยเองก็ควรที่จะได้รับการยกเว้น

ทั้งนี้ หากในอนาคตมีความชัดเจนมากขึ้น อาจต้องมีการหารือกับทางรัฐบาลอีกครั้ง เพื่อลงรายละเอียดว่าสัดส่วนในการเสียภาษีจะเป็นในรูปใด เนื่องจากปัจจุบันกองทุนอสังหาริมทรัพย์เองต้องมีการเสียภาษีโรงเรือนอยู่แล้ว เนื่องจากเป็นผู้ให้เช่าที่จะต้องจ่ายภาษีในส่วนของรายได้จากการเช่า

ด้าน นายสุทธิพงศ์ พัวพันธ์ประเสริฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ-ฝ่ายจัดการกองทุนผู้จัดการกองทุนอสังหาริมทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) บัวหลวง จำกัด กล่าวว่า พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่คาดว่าจะนำมาใช้แทน พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ซึ่งกำลังมีการผลักดันอยู่ในขณะนี้ นับเป็นแนวทางที่ดีและจะทำให้การจัดเก็บภาษีของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นไปอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น หลังจากที่เดิมที่จะต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของผู้ประเมินแต่ละรายเป็นหลัก

“เดิมแล้วภาษีโรงเรียนที่คิดอัตรามันจะแพงมากคือประมาณ 12.5% ต่อปี แบบนี้ค่าใช้จ่ายมันสูงจนอยู่กันไม่ได้ ซึ่งที่ผ่านมาต้องมีการทำสัญญา2-3ตัวเพื่อให้ภาษีน้อยลง และอีกอย่างพ.ร.บ.ฉบับเดิมก็เก่ามากเป็นเวลาหลายสิบปีแล้วเพราะออกมาตั้งแต่ 2475”นายสุทธิพงศ์กล่าว

อย่างไรก็ตาม การออกพ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวในช่วงเวลานี้ มองว่ายังไม่เหมาะสมเท่าไร เพราะเท่ากับเป็นการซ้ำเติมเศรษฐกิจไทยที่กำลังเข้าสู่ภาวะทดถอย โดยจะส่งผลต่อความรูสึกของนักลงทุนและผู้ประกอบการในด้านลบจากการจัดเก็บภาษีในรูปแบบใหม่

นอกจากนี้ การออกพ.ร.บ.ฉบับนี้อาจส่งผลกระทบต่อชาวบ้านได้เช่นกัน โดยตามหลักการที่ทราบถือว่าเป็นเรื่องดี แต่ถ้าจะนำมาเสริมรายได้ในส่วนที่ขาดไปหลังจากออกจากมาตรการภาษีเพื่อช่วยเหลือธุรกิจขายบ้านแล้วคงจะไม่เหมาะสมเท่าไรนัก

นายสุทธิพงศ์ กล่าวอีกว่า ปัญหาที่จะเกิดขึ้นหลังจากการออกพ.ร.บ.ฉบับนี้คือ การประเมินมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งหากไม่มีความชัดเจนแล้วจะทำให้เกิดปัญหาได้ในภายหลัง โดยในส่วนของเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ และคอนโดมิเนียมยังมีความแตกต่างกันในเรื่องของรายละเอียดทั้ง เฟอร์นเจอร์และสิ่งตกแต่งรวมถึงเครื่องอำนวยความสะดวก หากจะนำมาพิจารณาบนพื้นฐานเดียวกันคงจะไม่เหมาะสม

นอกจากนี้ หากเป็นอาคารหรือศูนย์การค้าที่มีการให้เช่าพื้นที่แบบรายปีแล้ว จะทำให้ภาษีมีความไม่สมดุ หรือผู้ประกอบการมีต้นทุนเพิ่มขึ้นได้ จาการเสียภาษีที่มีการประเมินแบบรายปี

“ถ้าเป็นการเช่าแบบรายปี จะได้รับผลกระทบค่อนข้างเยอะ เพราถ้าเป็นพื้นที่ศูยน์การค้าเมื่อมีการปรับผู้เช่า หรือเพิ่มราคาในกรณีที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนแผนการใช้พื้นที่ภายในให้ได้ผลประโยชน์มากที่สุด ก็อาจทำให้ราคาที่ปรับขึ้น ต้องนำมาประเมินเป็นรายปีอีกครั้งในส่วนของมูลค่า”นายสุทธิพงศ์กล่าว

นายสุทธิพงศ์ กล่าวอีกว่า การออกกองทุนอสังหาริมทรัพย์ หากมีการบังคับใช้พ.ร.บ.ฉบับนี้จริง คงจะไม่มีผลกระทบ แต่น่าจะกระทบต่อผลตอบแทนมากว่า ซึ่งอัตราภาษีเดิมแต่ละปีจะเสียไม่เกิน 10% แต่เมื่อมีพ.ร.บ.ฉบับนี้อาจต้องมีภาระเพิ่มมากขึ้น โดยทางผู้จัดการกองทุนเองชอบความชัดเจนในการจัดเก็บภาษีอยู่แล้ว แต่เกณฑ์ที่จะนำมาประเมินต้องชัดเจนด้วยถึงจะเป็นผลดี

ขณะที่ นายนกุล ไชยนิล ผู้จัดการกองทุนอสังหาริมทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) บีที จำกัด กล่าวว่า กองทุนอสังหาริมทรัพย์ที่ผ่านมาต้องเสียภาษีโรงเรียนอยู่แล้ว และการออกพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างคงจะไม่กระทบต่อกองทุนประเภทนี้ เนื่องจากกองทุนจะลงทุนในที่ดินเปล่าไม่ได้ แต่จะต้องลงทุนเพื่อให้เกิดผลตอบแทนตามที่ก.ล.ต.กำหนด

นอกจากนี้ การออกพ.ร.บ.ฉบับนี้น่าจะมีจุดประสงค์ในการกระตุ้นการลงทุนและมีผลกระทบต่อคนรวยมากกว่า เพราะปัจจุบันที่ว่างเปล่านั้นมีมากโดยเฉพาะในแถบชายทะเล

อย่างไรก็ตาม ในอนาคตจะต้องดูรายละเอียดในการจัดเก็บภาษีอีกครั้งว่าจะมีผลกระทบหรือไม่ เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนในส่วนนี้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us