Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์26 มกราคม 2552
แบ่งเค้กสายสีม่วงลงตัว CK คว้าสัญญาแรก/ ITD-STEC จ่อเข้าวิน             
 


   
search resources

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
Construction




ช.การช่างคว้างานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงสัญญาแรก ราคา 16,724 ล้านบาท เฉือนจมูกซิโน-ไทยฯ แค่ 376 ล้านบาท แต่ทุกอย่างลงตัว เพราะแบ่งเค้กกันอย่างลงตัว อิตาเลียนไทยและซิโน-ไทยจ่อคิวเข้าวินคว้าสัญญา 2 และ 3 ตามลำดับ

เป็นที่แน่นอนแล้วสำหรับการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) ระยะทาง 23 กม. ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ผู้ที่ชนะการประมูลสัญญาที่ 1 หรือโครงสร้างทางยกระดับตะวันออกจากเตาปูน-สะพานพระนั่งเกล้า ระยะทาง 12 กม. ตกเป็นของกลุ่มซีเคทีซี จอยท์ เวนเจอร์ ซึ่งมีแกนนำ คือ บริษัท ช.การช่างของ ปลิว ตรีวิศวเวทย์ ด้วยราคา 16,724 ล้านบาท สูงกว่ากรอบวงเงินค่าก่อสร้างที่ รฟม. ตั้งไว้ 3,283 ล้านบาท หรือ 13,441 ล้านบาท ขณะที่ซิโน-ไทยฯ เสนอราคาที่ 17,100 ล้านบาท ต่ำกว่ากลุ่มซีเคทีซี 376 ล้านบาท ตามมาด้วยอิตาเลียนไทยฯ เสนอราคา 17,917 ล้านบาท

การคว้างานสัญญาที่ 1 มาครองของกลุ่ม ช.การช่าง บางฝ่ายอาจจะบอกพลิกโผ สัญญานี้น่าจะตกเป็นของกลุ่มซิโน-ไทย ของตระกูลชาญวีรกูล ซึ่งตอนนี้ชวรัตน์ ชาญวีรกูลได้นั่งเก้าอี้ตัวใหญ่อยู่กระทรวงมหาดไทย ที่มีลูกชายหัวแก้วหัวแหวนคือ เสี่ยหนู-อนุทิน ชาญวีรกูล แห่งบ้านเลขที่ 111 แต่กลับทรงอิทธิพลในรัฐบาลมาร์ค-อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และเป็นคู่ซี้กับพ่อมดเขมร- เนวิน ชิดชอบ ผู้อยู่เบื้องหลังคนสำคัญของการจัดตั้งรัฐบาลมาร์ค 1

ขณะที่บางค่ายบอกว่า การคว้างานสัญญาที่ 1 มาครองของกลุ่ม ช. การช่างไม่ได้เป็นการพลิกโผ แต่เป็นการคว้างานมาได้ตามโผ เพราะตระกูลตรีวิศวเวทย์เป็นกระเป๋าเงินใบใหญ่ให้พรรคประชาธิปัตย์มาช้านาน ดังนั้นการคว้างานชิ้นนี้มาครองเป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจ และแม้ว่าตระกูลชาญวีรกูลจะมีอิทธิพลในรัฐบาลมาร์ค แต่เป็นเพียงพรรคร่วมรัฐบาล ต่างจากตระกูลตรีวิศวเวทย์ที่อุดหนุนพรรคประชาธิปัตย์โดยตรง

อีกทั้งงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงที่มีมูลค่างานสูงถึง 36,000 ล้านบาท และมีการแบ่งย่อยออกเป็น 3 สัญญา จึงเชื่อว่าบริษัทรับเหมารายใหญ่ทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ ช. การช่าง, ซิโน-ไทย คอนสตรัคชั่น แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง และอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ ของตระกูลกรรณสูต น่าจะได้งานกันไปทั่วหน้า

แหล่งข่าวจาก รฟม. กล่าวว่า “เชื่อว่าทุกกลุ่มบริษัทรายใหญ่จะได้งานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงทุกราย ขึ้นอยู่กับว่าบริษัทใดจะได้งานในสัญญาไหน ซึ่งมีการแบ่งงานกันอย่างเหมาะสมตามความเชี่ยวชาญ รวมถึงความสามารถในการดำเนินงาน ซึ่งคาดว่าสัญญาที่ 2 จะเป็นของอิตาเลียนไทยฯ เพราะมีความถนัดงานโครงสร้างยกระดับและงานก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำ ส่วนสัญญาที่ 3 เป็นของซิโน-ไทยฯ เพราะมีความถนัดงานก่อสร้างอาคาร”

การซอยสัญญางานก่อสร้างดังกล่าว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) ต้องการให้มีการกระจายงานให้เล็กลง เพื่อให้ผู้รับเหมาทุกรายมีโอกาสเข้าร่วมแข่งประมูล หากไม่มีการซอยสัญญา ผู้รับเหมาบางรายอาจเสียโอกาส

ชูเกียรติ โพธยานุวัตร รองผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง กล่าวว่า ขั้นตอนต่อไป รฟม.จะให้บริษัทที่ปรึกษาตรวจสอบความถูกต้อง และรายละเอียดค่าก่อสร้างในแต่ละราย ก่อนจะเจรจาต่อรองกับบริษัทที่เสนอค่าก่อสร้างต่ำสุดเป็นรายแรก ใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ จากนั้นจะเสนอให้คณะกรรมการ รฟม.อนุมัติผลการประกวดราคา เพื่อเสนอให้ไจก้าเห็นชอบ ก่อนนำเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติต่อไป

สำหรับการเจรจาต่อรองราคานั้น คาดว่าผู้รับเหมาจะยอมลดค่าก่อสร้างต่ำกว่าที่เสนอมาหรือแต่หากสูงกว่า จะต้องไม่เกินกว่ากรอบวงเงิน 10% ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เพราะปัจจุบันราคาวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง และราคาน้ำมันมีการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในสัญญาที่ 1 จะเซ็นสัญญาว่าจ้างงานและตอกเสาเข็มได้ในเดือน เม.ย.นี้ ตามแผนงานใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปีครึ่ง ส่วนสัญญาที่ 2 จะเซ็นสัญญาว่าจ้างในเดือน พ.ย.2552 หลังจากนั้นจะเซ็นสัญญาว่าจ้างงานสัญญาที่ 3 ต่อไป

สำหรับสัญญาที่ 2 หรือโครงสร้างยกระดับตะวันตก จากสะพานพระนั่งเกล้า – สถานีคลองบางไผ่ และงานก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านทิศใต้ของสะพานพระนั่งเกล้า ระยะทางรวม 11 กม. วงเงิน 12,602 ล้านบาท มีผู้เข้าร่วมประกวดราคา 3 ราย ได้แก่ กิจการร่วมค้าซีเคทีซี กิจการร่วมค้าไอทีโอเอ็น และบริษัทซิโน-ไทย ทั้งนี้จะเปิดซองราคาได้ในช่วงกลางเดือน ก.พ.นี้ ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขการประกวดราคาของไจก้าที่ต้องการให้เปิดซองราคาตามลำดับ เพราะผู้รับเหมาบางรายเข้าร่วมการแข่งขันทั้ง 3 สัญญา แต่มีศักยภาพในการดำเนินงานไม่เหมือนกัน เช่น ซิโน-ไทยฯ สามารถดำเนินงานได้เพียงสัญญาเดียว ขณะที่อีก 2 บริษัทสามารถดำเนินงานได้ทั้ง 3 สัญญา ดังนั้นไจก้าจึงต้องการให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้เข้ารวมประกวดราคาทุกราย จึงเป็นสาเหตุที่ต้องเปิดซองสัญญาที่ 1ให้แล้วเสร็จ ก่อนที่จะเปิดซองราคาสัญญาที่ 2 หลังจากนั้นจึงจะเปิดซองราคาสัญญาที่ 3 ตามลำดับ

สัญญาที่ 3 งานก่อสร้างอาคารที่จอดรถและศูนย์ซ่อม วงเงิน 5,962 ล้านบาท มีผู้ยื่นซองประกวดราคามา 5 ราย เบื้องต้นยังอยู่ระหว่างการพิจารณาด้านเทคนิคของไจก้า

สำหรับความคืบหน้าการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินในพื้นที่ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ชูเกียรติกล่าวว่า ได้เวนคืนที่ดินในส่วนของโครงสร้างทางยกระดับด้านตะวันออกและตะวันตกไปแล้วประมาณ 70% และพื้นที่ก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงบริเวณบางไผ่คืบหน้าไปแล้ว 80% เชื่อว่าไม่มีปัญหาในการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างให้ผู้รับเหมา

ปรับลดวงเงินสายสีแดง

ส่วนการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) ระยะทาง 26 กม. ล่าสุดที่ประชุมบอร์ด ร.ฟ.ท. มีมติอนุมัติให้ปรับลดกรอบวงเงินลงทุนโครงการรถไฟสายสีแดงลงเหลือ 69,400 ล้านบาท จากเดิม 75,600 ล้านบาท งานโยธา 44,000 ล้านบาท จากเดิม 55,000 ล้านบาท งานระบบรถไฟฟ้า ลดลงเหลือ 13,400 ล้านบาท จากเดิม 15,300 ล้านบาท

ขณะที่งานรื้อย้ายเพิ่มขึ้นเป็น 100 ล้านบาท จากเดิม 50 ล้านบาท งานว่าจ้างที่ปรึกษาลดลงเหลือ 2,330 ล้านบาท จากเดิม 2,720 ล้านบาท และวงเงินสำหรับงานเผื่อเหลือเผื่อขาดยังเป็นกรอบเดิม คือ 1,380 ล้านบาท

สุพจน์ ทรัพย์ล้อม กรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า สาเหตุที่ปรับลดกรอบวงเงินค่าก่อสร้าง เพราะต้องการให้เป็นราคาที่สอดคล้องกับราคาน้ำมันและวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวลดลง โดยในภาพรวมสามารถลดวงเงินค่าก่อสร้างได้ 5,000-6,000 ล้านบาท หลังจากนี้จะเสนอให้กระทรวงคมนาคม และ ครม.พิจารณาอนุมัติดำเนินโครงการต่อไป   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us