|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ตลาดหลักทรัพย์ฯ ตั้งเป้าแก้เกณฑ์เอื้อบริษัทขนาดกลาง-เล็ก เข้าจดทะเบียนเร็วขึ้น โดย ก.ล.ต.ไม่ตรวจไฟลิ่งซ้ำให้แล็วเสร็จภายในปีนี้ หวังเปิดทางให้ระดมทุนได้สะดวกหากภาวะตลาดหุ้นกลับสู่ขาขึ้น ด้าน “วิเชฐ” ยันไม่ได้เป็นการเพิ่มภาระให้แก่ที่ปรึกษาทางการเงิน แต่ผลประโยชน์จะตกอยู่กับทุกฝ่าย ขณะที่สำนักงานก.ล.ต. ย้ำที่ปรึกษาฯ ต้องระมัดระวังเลือกบริษัทที่ดีเข้าเทรด ส่วนที่ปรึกษาทางการเงิน หวั่นต้องแบกรับภาระมากกว่าผ่อนปรน
นายวิเชฐ ตันติวานิช รองผู้จัดการ สายงานผู้ออกหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้หารือกับทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในการจัดทำแบบเสนอขายข้อมูลหลักทรัพย์ (ไฟลิ่ง) เพื่อเอื้อให้สามารถเสนอขายหุ้นได้รวดเร็วขึ้นสำหรับบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลาง ด้วยการเปิดทางให้ที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ โดยที่สำนักงาน ก.ล.ต.ไม่ต้องเข้าไปตรวจเช็คไฟลิ่งอีกครั้ง ซึ่งคาดว่าจะสามารถดำเนินการให้แล้วภายภายในปีนี้
ทั้งนี้ จากการหารือเบื้องต้นสำนักงานก.ล.ต.เห็นชอบในหลักการแล้ว แต่จะต้องเสนอให้กระทรวงการคลังมีความเห็นชอบเพื่อที่จะสามารถออกเกณฑ์เรื่องดังกล่าวได้เร็วมากขึ้น เพื่อจะสนับสนุนให้บริษัทขนาดกลางและเล็กสามารถเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ สามารถได้เร็วขึ้น เพราะบริษัทขนาดกลางและเล็กอาจจะประสบปัญหาด้านสภาพคล่องทางการเงิน หลังจากที่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินทำให้สถาบันการเงินเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น
“การที่แบงก์เข้มงวดปล่อยกู้ให้กับบริษัทขนาดกลางและเล็กยาก ส่งผลทำให้มีปัญหาในเรื่องเงินทุน ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงต้องการสนับสนุนให้บริษัทดังกล่าวเข้ามาระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ หรือ mai ได้เร็วขึ้น เพื่อนำเงินทุนไปดำเนินธุรกิจหรือขยายกิจการต่อไป เพราะปัจจุบันในประเทศไทยมีบริษัทขนาดกลางและเล็กในเมืองไทยเป็นแสนๆ บริษัท ส่วนบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังคงต้องยื่นไฟลิ่งต่อสำนักงานก.ล.ต.เหมือนเดิม”
นายวิเชฐ กล่าวเพิ่มเติมว่า การดำเนินการดังกล่าวจะไม่เป็นการเพิ่มภาระความรับผิดชอบให้กับทางบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน เพราะหลักเกณฑ์ที่จะออกมานั้นจะดูแลทั้งในส่วนของบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินเช่นกัน แต่บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินก็จะต้องมีการคัดเลือกบริษัทที่ดีและมีคุณสมบัติที่ครบถ้วน แม้ที่ปรึกษาทางการเงินจะทำหน้าที่มากขึ้นแต่ผลตอบแทนก็จะสูงขึ้นเช่น ซึ่งหากมีการดำเนินการดังกล่าวก็จะส่งผลดีกับทุกฝ่ายทั้งบจ.และที่ปรึกทางการเงิน
นายชนิตร ชาญชัยณรงค์ ผู้ช่วยผู้จัดการกลุ่มงานผู้ออกหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในปีนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีนโยบายที่จะสนับสนุนให้บริษัทเอกชนเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และตลาดเอ็มเอไอได้รวดเร็วขึ้น โดยจะนำแผนเดิมที่จะให้บริษัทเอกชนสามารถเข้าจดทะเบียนได้เร็ว โดยที่สำนักงานก.ล.ต.ไม่ต้องมาตรวจเช็คไฟลิ่งอีกครั้งมาใช้
ทั้งนี้ แม้ภาวะตลาดหุ้นไทยปีนี้ไม่เอื้อในการเข้าระดมทุนแต่หากสามารถผลักดันให้เรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นได้เพื่ออนาคตภาวะตลาดหุ้นไทยกลับมาปรับตัวดีขึ้น และเอื้อในการเข้าจดทะเบียนก็จะทำให้บริษัทจดทะเบียนใช้เวลาไม่นานที่จะระดมทุน
นางณัฐญา นิยมานุสร ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมบรรษัทภิบาล สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า การที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ และก.ล.ต.อยู่ระหว่างร่วมกันพิจารณาที่จะให้สามารถที่จะทำไฟลิ่งของบริษัทที่เตรียมตัวเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ทำได้เร็วขึ้น โดยที่ปรึกษาทางการเงินจะเป็นผู้ดูแลในเรื่องการเปิดเผยข้อมูล โดยที่ ก.ล.ต.จะไม่เข้าไปตรวจเช็คไฟลิ่งอีก
ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินจะต้องมีการเลือกบริษัทที่ดีและมีความระมัดระวังมากขึ้น เพื่อที่จะเข้ามาจดทะเบียน และเป็นการเพิ่มความรับผิดชอบของที่ปรึกษาทางการเงินเช่นกัน ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวนั้นถือว่าเป็นการเพิ่มช่องทางที่จะให้บริษัทเข้าจดทะเบียนได้เร็วขึ้น แต่ระบบการยื่นไฟลิ่งปัจจุบันยังคงมีอยู่เหมือนเดิม อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมีการประกาศใช้นั้นจะต้องมีการสำรวจความคิดเห็น (เฮียริ่ง) กับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน
ด้านแหล่งข่าวจากบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินแห่ง กล่าวว่า การดำเนินการดังกล่าวเหมือนกับเป็นการผลักภาระให้กับทางที่ปรึกษาทางการเงิน โดยที่ก.ล.ต.ไม่ต้องมาตรวจเช็ค และหากมีปัญหาเกิดขึ้น ก.ล.ต. จะไม่ต้องรับผิดชอบ เพราะก.ล.ต.ไม่ได้เข้าไปตรวจเช็คไฟลิ่ง ทำให้บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินต้องรับผิดชอบคนเดียว และเป็นการเพิ่มต้นทุนในการดำเนินการให้กับทางที่ปรึกษาทางการเงิน ในการให้บริษัทเข้ามาประเมินมูลค่า และสำนักกฎหมายเข้ามาดูในเรื่องความเสี่ยง ทำให้บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินมีความกังวลในการทำงานมากขึ้น มากกว่าการผ่อนปรนที่จะทำให้การเข้าจดทะเบียนของบจ.ทำได้เร็วขึ้น
“หากจะมีการดำเนินการดังกล่าว ต้องมีการประกาศเกณฑ์ออกมาในเรื่องการเปิดเผยข้อมูลที่จะอยู่ในไฟลิ่งว่าจะต้องมีอะไรบ้างที่เป็นมาตรฐาน เพื่อที่จะให้ที่ปรึกษาทางการเงินดำเนินการ เพราะหากไม่มีการทำดังกล่าวที่ปรึกษาทางการเงินบางรายอาจมีการเปิดเผยข้อมูลไม่ครบถ้วน หรือเปิดเผยข้อมูลมากเกินความจำเป็นได้”
|
|
 |
|
|