Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน26 สิงหาคม 2546
บางจากออก"ดีอาร์"คลังการันตีเงินต้น             
 


   
search resources

บางจากปิโตรเลียม, บมจ.
เทิร์น อะราวด์
ณรงค์ บุญยสงวน
พิชัย ชุณหวชิร
ชัยวัฒน์ โควาวิสารัช




บางจากฯ (BCP) เตรียมระดมทุน 7,000 ล้านบาท โดยเสนอขายหุ้นดีอาร์ ตราสารการเงิน ชนิดใหม่ พ.ย.นี้ ที่จะจดทะเบียนในตลาดหุ้นด้วย แบ่งเป็นดีอาร์หุ้นสามัญ 3,000 ล้านบาท ที่เหลือเป็นดีอาร์ หุ้นกู้แปลงสภาพ โดยคลังการันตีเงินต้น หวังเรียกความเชื่อมั่นนักลงทุนคืน ควบคู่รีไฟแนนซ์หนี้เดิม โดยเจรจาแบงก์รัฐขอวงเงินกู้ระยะยาว 1.25 หมื่นล้าน บาท และล้างขาดทุนสะสมที่เหลืออีกกว่า 600 ล้านให้หมด มั่นใจภายใน 2 ปีจ่ายเงินปันผลได้

วานนี้ (25 ส.ค.) บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (BCP) เปิดแผนปรับโครงสร้างธุรกิจและการเงิน เพื่อเรียกความเชื่อมั่นผู้ถือหุ้น สถาบันการเงินและนักลงทุนทั่วไปคืน โดยจะเพิ่ม ทุนบริษัทฯ ก่อนที่จะจัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น 29 ส.ค.นี้ เพื่อไฟเขียว

นายพิชัย ชุณหวชิร กรรมการและประธานคณะกรรมการปรับโครงสร้างการเงิน บริษัท บาง จากปิโตรเลียม กล่าวว่าบางจากฯ จำเป็นต้องปรับโครงสร้างการเงินใหม่ เนื่องจากโครงสร้างหนี้เดิม เป็นเงินกู้ระยะสั้นและกลาง ไม่มีเงินกู้ระยะยาว ทำให้ภาระดอกเบี้ยจ่ายค่อนข้างสูง ขณะที่กำไรจากการดำเนินงานก่อนหักดอกเบี้ย ค่าเสื่อมและภาษี (EBITDA) เพียงพอจ่ายแค่ดอกเบี้ย แต่ไม่พอชำระหนี้เงินต้น

หาเงินกู้ใหม่-เพิ่มทุน

แนวทางปรับโครงสร้างการเงินใหม่ จะดำเนินการ 2 ส่วน คือ 1. ปรับโครงสร้างหนี้ บางจากฯ จะหาวงเงินกู้ใหม่ 12,500 ล้านบาท ทดแทนเงินกู้เดิม 19,500 ล้านบาท โดยจะเป็นเงินกู้ระยะยาว 10 ปี 8,500 ล้านบาท และหนี้ระยะสั้นที่ใช้เป็นเงินทุน หมุนเวียน 4,000 ล้านบาท

2. ปรับโครงสร้างทุน โดยเพิ่มทุน 7,000 ล้านบาท ออกหุ้นดีอาร์บางจากฯ ที่กระทรวงการคลังรับประกันเงินต้น ประกอบด้วย ดีอาร์หุ้นสามัญ (BCP-CSDR) 3,000 ล้านบาท และดีอาร์หุ้นกู้แปลงสภาพ (BCP-CDDR) 4,000 ล้านบาท อายุ 10 ปี

ออกดีอาร์รับประกันเงินต้น

ดีอาร์หุ้นสามัญมูลค่า 3,000 ล้านบาท จะเน้นจำหน่ายนักลงทุนรายย่อย ขณะที่ดีอาร์หุ้นกู้แปลงสภาพ จะเน้นจำหน่ายนักลงทุนสถาบัน โดยบางจากฯ จะโรดโชว์ให้นักลงทุนอีกครั้งช่วง ต.ค.-พ.ย.นี้ หุ้นดีอาร์ดังกล่าว จะขายผ่านบริษัท เอ็นวีดีอาร์ ของตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งหลังจดทะเบียนแล้ว สามารถซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ได้ อาจมีชื่อหลักทรัพย์ BCP-DR

ดีอาร์เป็นตราสารการเงินชนิดใหม่ในไทย ให้สิทธิผู้ถือหุ้นดีอาร์ สามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ทุกไตรมาส และมีสิทธิได้รับเงินปันผล และสิทธิออกเสียงหุ้นบางจากฯ รวมถึงสิทธิอื่นเท่าเทียมกับผู้ถือหุ้นสามัญบางจากฯ อื่น ๆ ปัจจุบัน

ลดพาร์ล้างตัวแดงสะสมหมดปีนี้

ขณะเดียวกัน บางจากฯ จะล้างขาดทุนสะสม 6,706 ล้านบาท ด้วยการลดส่วนเกินมูลค่าหุ้น 2,000 ล้านบาท และลดพาร์จาก 10 บาท เหลือ 1 บาท ทำให้ขาดทุนสะสมเหลือเพียง 692 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ อยู่ระหว่างหาแนวทางล้างขาดทุนสะสมให้หมดภายในปีนี้

"เราจะดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้และโครงสร้างทุน ให้เสร็จพร้อมๆ กัน ซึ่งวงเงินกู้ระยะยาว 8,500 ล้านบาท จะมีเงื่อนไขปลอดชำระเงินต้นในช่วง 1ปีแรก โดยบริษัทจะทยอยคืนเงินต้นไปเรื่อยๆ ไม่ต้องหมดจนปีที่ 10 เหลือหนี้ประมาณ 4,000 ล้าน แล้วค่อยรีไฟแนนซ์หนี้ก้อนนี้ใหม่อีกครั้ง"

กล่อมแบงก์รัฐอุ้มบางจากฯ

นายพิชัยกล่าวถึงช่องทางหาแหล่งเงินกู้ใหม่ 12,500 ล้านบาทว่า บางจากฯ จะจัดหาผ่าน Club Loan ซึ่งเป็นการเจรจากับสถาบันการเงินไม่กี่แห่ง ที่พร้อมเข้ามาปรับโครงสร้างหนี้ รวมแบงก์รัฐ

การจัดสรรเงินกู้ดังกล่าว จะจัดสรรให้ธุรกิจการตลาด 6,000 ล้านบาท และธุรกิจโรงกลั่น 2,500 ล้านบาท ถือเป็นการแยกบัญชีระหว่างธุรกิจการตลาดกับโรงกลั่น เพื่อดูความสามารถดำเนินธุรกิจ ส่วนเงินกู้อีก 4,000 ล้านบาท จะใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน คาดว่าจะมีดอกเบี้ยต่ำกว่าปัจจุบัน

หลังดำเนินการดังกล่าว บางจากฯ จะมีโครงสร้างการเงินสอดคล้องกระแสเงินสดบริษัทฯ ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินธุรกิจแข่งขันได้ต่อไปเต็มประสิทธิภาพ เพราะสภาพคล่องการเงินดีขึ้น โดยบริษัทจะมีภาระดอกเบี้ยจ่ายลดจากปัจจุบัน 1,300 ล้านบาท เหลือเพียง 630 ล้านบาท และกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 17 ล้านบาท เป็น 688 ล้านบาท

จ่ายปันผลได้ใน 2 ปี

สัดส่วนหนี้สินที่มีดอกเบี้ยต่อส่วนผู้ถือหุ้น จะลดจาก 4 เท่า เหลือ 1.1 เท่า สัดส่วนความสามารถ ชำระดอกเบี้ยดีขึ้นจาก 1 เท่า เป็น 2.1 เท่า

"ขณะนี้เรายังมีเวลาเหลืออีก 2 เดือนครึ่งในการปรับปรุงเงื่อนไขต่างๆ เชื่อว่า การปรับโครงสร้างการเงินครั้งนี้ จะทำให้บางจากฯ กลับมาจ่ายเงิน ปันผลให้ผู้ถือหุ้นได้ภายใน 2 ปีข้างหน้า"

ขายหุ้นเพิ่มทุน พ.ย.นี้

ทางด้านนายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทอร์นอะราวด์ ในฐานะที่ปรึกษาการ เงินบางจากฯ กล่าวว่าหากผู้ถือหุ้นอนุมัติแผนปรับโครงสร้างการเงินบางจากฯ ศุกร์นี้ บางจากฯ จะลดทุนจดทะเบียนภายใน 2 เดือน หลังจากนั้น จะเพิ่มทุนซึ่งคาดว่าจะขายหุ้นเพิ่มทุน 7 พันล้านบาทได้ภายในพ.ย.นี้

โดยหุ้นเพิ่มทุนจะเป็นลักษณะหุ้นดีอาร์ที่กระทรวงการคลังรับประกันเงินต้น โดยเป็นดีอาร์หุ้นสามัญไม่เกิน 560 ล้านหุ้น และดีอาร์หุ้นกู้แปลงสภาพไม่เกิน 600 ล้านหุ้น คาดว่าจะได้ราคาไม่ต่ำกว่า 5.60 บาท/หุ้น ราคาน่าจะสูงกว่าราคาตลาดฯ เนื่องจากหุ้นดีอาร์ รัฐค้ำประกันเงินต้นและผลตอบแทน

วานนี้ ราคาหุ้น BCP ปิดตลาดฯ 7.20 บาท เพิ่มขึ้น 10 สตางค์ เพิ่มขึ้น 1.41% มูลค่าซื้อขาย 205.87 ล้านบาท

"ราคาหุ้นสามัญและหุ้นกู้แปลงสภาพที่จะเปิดให้จองซื้อช่วง พ.ย.นี้ ยังไม่สามารถตอบได้ คงต้องรอให้ใกล้ช่วงดังกล่าว รวมทั้งพิจารณาสภาวะตลาดหุ้นในช่วงนั้นด้วย การระดมทุนในช่วงปลายปีนี้น่าจะดีกว่าต้นปีหน้า เนื่องจากช่วงต้นปีหน้า จะมีหุ้นขนาดใหญ่รัฐวิสาหกิจ เข้ามาระดมทุน" นายพิชัยกล่าว

ปรับโครงสร้างธุรกิจ 2 ระยะ

นายณรงค์ บุณยสงวน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม เปิดเผยถึงการปรับโครง สร้างธุรกิจบริษัท เพื่อสร้างความมั่นใจสร้างรายได้หลังปรับโครงสร้างการเงินว่า บริษัทฯ ปรับโครงสร้าง ธุรกิจ 2 ระยะ

คือ 1. แผน 3 ปี จะใช้กลยุทธ์เพิ่มผลตอบ แทนให้สูงสุด จากทรัพย์สินที่มีอยู่แล้ว โดยจะจัดโครงสร้างธุรกิจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารและวัดผล โดยแยกหน่วยธุรกิจและงบการเงินตลาด-โรงกลั่น ด้านธุรกิจโรงกลั่น จะเพิ่มผลตอบแทน โดยใช้กำลังกลั่นเพิ่มเป็น 100,000 บาร์เรล/วัน จากปัจจุบันกลั่น 80,000 บาร์เรล/วัน สร้างรายได้จากการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และร่วมมือกับพันธมิตรบริษัทน้ำมันอื่น ด้านธุรกิจการตลาด จะเพิ่มผลตอบ แทนจากการดำเนินงานสถานีบริการน้ำมันปัจจุบัน เพิ่มรายได้จากการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ฯลฯ

2.แผนระยะยาว บริษัทฯ เพิ่มกำลังกลั่นให้ได้ เต็มที่ 120,000 บาร์เรล/วัน พร้อมทั้งพัฒนาธุรกิจบริการที่มูลค่าเพิ่มสูง เพื่อสร้างมูลค่าจากเครือข่ายที่มีอยู่

ปัจจุบัน โรงกลั่นบางจากฯ ค่าการกลั่นเพิ่มขึ้น จากปีที่แล้ว 1.20 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เป็น 1.60 ดอลลาร์ เนื่องจากปริมาณการกลั่น และความต้องการใช้น้ำมันในเอเชีย ดีขึ้น คาดว่าปี 2550 น่าจะเป็นปีทองธุรกิจโรงกลั่นภูมิภาคนี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us