"นิพัทธ" ระบุโอนหนี้เน่าออกจากระบบแบงก์จะเน้นลูกหนี้เก่า มูลหนี้
1.5-2 ล้านบาท เพราะแบงก์ถ่วงไม่ยอมแฮร์คัตทำให้การแก้ไขหนี้อืด เผยต้องแก้กฎหมายขยายนิยามการ
รับโอนหนี้ หวังให้สถาบันเดิมสามารถรับโอนสินทรัพย์เน่าในระบบ พร้อมศึกษาถึงผู้รับผิดชอบต่อหนี้ที่รับโอน
ก่อนหน้านี้ ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีแนวคิดจะโอนหนี้
หรือโยกหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล-หนี้เน่า) และสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
(สินทรัพย์เน่า) ทั้งหมดของสถาบันการเงินประมาณ 7.7 แสนล้านบาท ออกไปไว้ในสถาบัน
หรือหน่วยงานหนึ่ง เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สถาบันการเงิน และทำให้สถาบันการแข็งแกร่งมาก
ขึ้น
ล้างแบงก์เหลือแต่หนี้ดี
"ตอนนี้ยังบอกไม่ได้ว่าโอนไปที่ไหน แต่ยังไม่ใช่ บสท. เพียงแต่ตอนนี้ เราอยากจะยกปัญหาหนี้ที่มีอยู่ในสถาบันการเงินออกมาให้หมดก่อน เพื่อให้สถาบันการเงินมีแต่หนี้ดี" ผู้ว่าการ ธปท. กล่าว
ด้านนางธาริษา วัฒนเกส รอง ผู้ว่าฝ่ายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
กล่าวว่า แนวคิดโอนหนี้-สินทรัพย์เน่าสถาบันการเงิน คาดว่าจะมีแนวทาง ภายในตุลาคมนี้
นิพัทธระบุเน้นลูกหนี้เดิม 1.5-2 ล. นายนิพัทธ พุกกะณะสุต ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
เปิดเผยถึงการโอนหนี้ในระบบสถาบันการเงินที่มีอยู่ประมาณ 770,000 ล้านบาทว่า คาดว่าจะมีการพิจารณาขอบเขตขององค์กร
เดิมที่มีอยู่ โดยจะนำไปซื้อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) และสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
(เอ็น พีเอ) โดยมุ่งเข้าไปซื้อหนี้รายย่อยเดิม ที่มีมูลหนี้ประมาณ 1,500,000 -
2,000,000 บาท เป็นหลัก ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในกระบวนการรวบรวมข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) และจะส่งข้อมูลต่อมายังกระทรวงการคลังต่อไป
"ไม่จำเป็นต้องเป็นองค์กรใหม่ แต่จะแก้กฎหมายให้สถาบันเดิมที่มีอยู่ขยายนิยามให้ครอบ
คลุมการดำเนินงานให้มากขึ้น ซึ่งขณะนี้หนี้เสียรายใหญ่ๆ ได้ขายไปหมดแล้ว ส่วนเอ็นพีแอลสุดท้ายที่ไม่ขยับเลย
คือหนี้รายย่อย 1.5-2 ล้านบาท และแบงก์ไม่ยอมแฮร์คัต บางแบงก์มีเคาร์เจอร์ก็ทำไม่ได้"
นายนิพัทธ กล่าว
นายนิพัทธ กล่าวว่า แนวคิดในการโอนหนี้เสีย ทั้งระบบไปให้องค์กรหนึ่งองค์กรใดดูแลนั้น
เป็นแนวคิดของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าฯธปท. ที่ผ่านมายังไม่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้
และยังมีหนี้คงค้างในธนาคารอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งในส่วนของกระทรวงการคลัง ต้องพิจารณาว่าจะมีการรับโอนหนี้อีกรอบเป็นจำนวนเท่าใด
ซึ่งต้องดูความเหมาะสมในการบริหารเอ็นพีแอล และเอ็นพีเอ และต้องดูว่าใครจะเป็นผู้รับความเสียหายที่เกิดขึ้น
โดยที่ผ่านมารัฐบาลเป็นผู้รับความเสียหายไปแล้วถึง 1,400,000 ล้านบาท ตั้งแต่มีการตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
(บสท.) ขึ้นมา
ทั้งนี้ ปริมาณเอ็นพีแอลที่เพิ่มขึ้นในระบบยังถือเป็นปกติ แต่ที่จะดำเนินการเป็นหนี้เสียที่มีอยู่ในระบบอยู่แล้ว
ซึ่งมีความจำเป็นที่ต้องดำเนินการ เนื่องจากปัจจุบันการปล่อยกู้ของธนาคารที่ยังไม่มีการปรับตัวดีขึ้น
เพราะธนาคารยังคงไม่ปล่อยกู้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ ดังนั้นหากมีการรับโอนเอ็นพีแอลและเอ็นพีเอดังกล่าว
จะทำให้หนี้เสียเหล่านี้ได้รับการดูแลโดยตรงมากขึ้น เช่นเดียวกับที่ดำเนินการอยู่ใน