|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
"ประชัย"ลุ้นคำสั่งศาลอุทธรณ์ ระงับสืบหาทรัพย์จ่ายค่าปรับคดีปั่นหุ้น 6.9 พันล้านวันนี้ นักวิชาการกฎหมาย มึนยืนอุทธรณ์ข้ามหัวศาลชั้นต้นผิดปกติ แถมอัยการยังไม่มีการคัดค้านแต่อย่างใด พร้อมจี้ทนายแผ่นดิน ทบทวนคำสั่งหากศาลอุทธรณ์งดไต่สวนสืบหาทรัพย์จริง เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศตามหน้าที่
ผู้สื่อข่าวรายว่า วันนี้(22 ม.ค.51) ในเวลาประมาณ 9.00 ศาลอาญาจะอ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ในคดีที่บริษัททีพีไอ โพลีน จำกัด(มหาชน) นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการบริษัท ทีพีไอ โพลีน บริษัทเสติร์น สจ๊วต ประเทศไทย จำกัด และนายเชียรช่วง กัลยาณมิตร ผู้เชี่ยวชาญการประเมินมูลค่าบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ของบริษัท สเติร์น สจ๊วต ประเทศไทย ภายหลังจำเลยได้ทำการยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลอุทธรณ์และนำมาเป็นข้ออ้างต่อศาลอาญาในการงดไต่สวนสืบหาทรัพย์ของบริษัทเพื่อนำมาเป็นค่าปรับจำนวน 6,900 ล้านบาท
สำหรับที่มาของคดีดังกล่าว สืบเนื่องมาจากอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 1 เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้ง 4 กระทำความผิดต่อ พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในลักษณะปั่นหุ้นทีพีไอจนทำให้เศรษฐกิจของประเทศเสียหาย ต่อมาศาลอาญาพิพากษาจำคุก นายประชัย และนายเชียรช่วง คนละ 3 ปีโดยไม่รอลงอาญาและปรับคนละ 3 แสนบาท และให้ปรับบริษัท ทีพีไอ และบริษัท สเติร์น บริษัทละ 6,900 ล้านบาท
ทั้งนี้ เมื่อครบกำหนด 1 เดือนตามระยะเวลาของกฎหมาย บริษัททีพีไอ โพลีน มิได้นำเงินมาชำระ และศาลอาญาจึงมีคำสั่งไต่สวนสืบหาทรัพย์สิน เพื่อนำมาชำระค่าปรับดังกล่าวทันทีโดยไม่ต้องรอให้คดีถึงที่สุด และเป็นที่มาของการยื่นอุทธรณ์ในครั้งนี้
อย่างไรก็ตาม นักวิชาการด้านกฎหมาย ได้ตั้งข้อสังเกตว่า การยื่นเรื่องอุทธรณ์ในนี้ผิดปกติจากขั้นตอนทีควรจะกระทำ โดยเป็นเสมือนการข้ามขั้นตอน เนื่องจากจำเลยทำการยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์โดยตรง เพื่อให้มีคำสั่ง ซึ่งตามปกติควรยื่นคำร้องในกรณีนี้ต่อศาลชั้นต้นก่อน และเมื่อมีการยื่นคำร้องดังกล่าว พนักงานอัยการโจทก์มีการคัดค้านไว้หรือไม่เพียงใด
นอกจากนี้ การบังคับโทษปรับด้วยวิธีการยึดทรัพย์สินออกทอดตลาด เพื่อนำเงินมาชำระเป็นค่าปรับ ตาม ป.อ.ม. 29,30 ไม่ใช่การบังคับคดีในทางแพ่ง จึงมิอาจนำหลักเกณฑ์เรื่องของการทุเลาบังคับคดีตามคำพิพากษา ใน ป.วิ.พ.ม. 231 มาบังคับใช้กับการบังคับโทษปรับได้ โดยจำเลยจะกระทำได้วิธีเดียวคือการขอผ่อนชำระค่าปรับเป็นรายงวดเท่านั้น หากมีการอ้างว่าค่าปรับมีจำนวนสูงมาก และไม่มีเงินเพียงพอ อีกทั้งคดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลสูงอีกด้วย
นักวิชาการท่านนี้ยังให้ความเห็นอีกว่า หากในวันนี้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ศาลอาญางดการไต่สวนสืบหาทรัพย์ของบริษัททีพีไอ โพลีน เพื่อนำมาเป็นค่าปรับ จะเป็นหน้าที่ของพนักงานอัยการในการรักษาผลประโยชน์ของชาติ
"พนักงานอัยการโจทก์ต้องทบทวนตรวจสอบคำสั่งศาลอุทธรณ์ว่าจะมีเหตุผลฟังขึ้นในทางกฎหมายหรือไม่ในการงดการไต่สวน เพราะพนักงานอัยการซึ่งเป็นทนายของแผ่นดินต้องรักษาผลประโยชน์ของประเทศเป็นที่ตั้งจึงจะถูกต้อง"
อนึ่ง นายสุรจิตร ศรีบุญมา ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน กล่าวถึงคดีนี้ไว้ว่า จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลอุทธรณ์เพื่อให้ศาลอุทธรณ์สั่งไม่ให้ศาลอาญาบังคับ บริษัท ทีพีไอ นำเงิน 6,900 ล้านบาทมาชำระค่าปรับตามคำพิพากษา ซึ่งจริงๆ แล้วการทำเช่นนั้นเป็นการข้ามขั้นตอนกฎหมายที่ต้องยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอาญาก่อน แต่เมื่อจำเลยเลือกใช้สิทธิเช่นนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับศาลอุทธรณ์ว่าจะใช้ดุลพินิจเช่นใด ถ้าศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ศาลอาญาระงับบริษัททีพีไอฯนำเงิน 6,900 ล้านบาท มาชำระค่าปรับไว้จนกว่าคดีปั่นหุ้นจะถึงที่สุด การไต่สวนเพื่อสืบหาทรัพย์สินทีพีไอมาชำระค่าปรับจำนวนนี้ก็ต้องยุติ แต่ถ้าศาลอุทธรณ์ไม่มีคำสั่งให้ศาลอาญาระงับ ศาลก็ต้องไต่สวนต่อไป
|
|
|
|
|