|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เปิดปมทุจริตคอร์รัปชั่นทั้งฝ่ายการเมืองและผู้บริหารทำการบินไทยเดินลงเหว ส่อล้มละลาย เผยคดีฟ้องร้องทั้งจากผู้ถือหุ้นและบริษัทเอกชน เต็มศาล ล่าสุดศาลอาญาไต่สวนมูลฟ้องคดีผู้ถือหุ้นฟ้อง 13 บิ๊กการบินไทยจัดซื้อเครื่องบิน A330-300 จำนวน 8 ลำขัดมติครม.จ่ายเงินจนกระทบต่อสถานะทางการเงินบริษัท บิดเบือนข้อเท็จจริงซื้อเครื่องยนต์ Roll Royceแพง กว่าที่ควร 200 ล้านบาท แถมกลางปีจะมีการตัดสินคดี ฮั้วค่าธรรมเนียมน้ำมัน ขณะที่ศาลแพ่งตัดสินให้บริษัทจ่าย27 ล้านบาทแพ้คดีจัดซื้อไวน์
แหล่งข่าวจากบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2552 ที่ผ่านมาศาลอาญาได้นัดไต่สวนมูลฟ้องดคีที่ผู้ถือหุ้นบริษัทการบินไทย ได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายชัยสวัสดิ์ กิตติพรไพบูลย์ อดีตปลัดกระทรวงคมนาคมและอดีตประธานคณะกรรมการบริษัทการบินไทย เป็นจำเลยที่ 1 และพวกรวม 12 คนในข้อหา พนักงานในองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และนัดส่งหลักฐานเพิ่มเติมในเดือนก.ค. 52 และเข้าสู่กระบวนการพิจารณาตัดสินต่อไป
แหล่งข่าวกล่าวว่า ผู้ถือหุ้นระบุเหตุการฟ้อง จำเลยทั้ง 12 คน ว่าเป็นผู้บริหารบริษัทการบินไทย แต่กลับร่วมกันกระทำความผิดหลายครั้ง ทำให้บริษัทได้รับความเสียหายและต้องจ่ายเงินโดยไม่จำเป็นมากกว่าหมื่นล้านบาท เช่น
1. พยายามบิดเบือนข้อเท็จจริงต่อบอร์ดเพื่อสั่งจ่ายเงินค่างวดล่วงหน้าให้แก่บริษัท แอร์บัส กว่า 4,000 ล้านบาท ในการจัดหาเครื่องบิน A330-300 จำนวน 8 ลำ ซึ่งถือเป็นการดำเนินงานของฝ่ายบริหารที่ไม่โปร่งใสและสร้างความเสียหายต่อบริษัทอย่างร้ายแรงเนื่องจาก คณะรัฐมนตรีมีมติไม่ให้บริษัทจัดซื้อเครื่องบินดังกล่าวแต่ให้ดำเนินการเช่าดำเนินงาน ซึ่งการฝืนจ่ายเงินออกไปยังกระทบต่อสถานะทางการเงินของบริษัท
2. บิดเบือนข้อเท็จจริงต่อบอร์ด ในการซื้อเครื่องยนต์เพื่อนำมาติดตั้งกับเครื่องบินของ A330-300 เพื่อให้เห็นว่า ราคาเครื่องยนต์ของ Roll Royce (RR)ดีที่สุด และเป็นการเร่งจัดหาเครื่องยนต์ทั้งที่ประเด็นการจัดหาเครื่องบิน A330-300 ยังไม่ตรงกับมติครม. ซึ่งการเลือกเครื่องยนต์ของ Roll- Royce ทำให้บริษัทต้องจ่ายเงินแพงขึ้นอีกกว่า 200 ล้านบาท
3. การบิดเบือนข้อเท็จจริงเสนอบอร์ด ในการคัดเลือกเครื่องยนต์ของ Roll Royce เพื่อติดตั้งในเครื่องบิน A 380-800 ทั้งที่ เครื่องยนต์ของ Roll Royce แพงกว่าบริษัทอื่นกว่า 10 ล้านบาท
4. บิดเบือนข้อเท็จจริงต่อบอร์ดเพื่อให้พิจารณาคัดเลือกโครงการซ่อมเครื่องยนต์แบบเบ็ดเสร็จ Total Care ของ Roll- Royce เพื่อซ่อมบำรุง A340-500/600 ว่าดีควบคุมค่าซ่อมได้ 10 ปี แต่บิดเบือนข้อเท็จจริงที่ Roll- Royce ได้เก็บเงินตามโครงการดังกล่าวตั้งแต่เริ่มเข้าประจำการปี 2548 มากกว่า 900 ล้านบาทแล้ว และเครื่องบิน A 340-500 เมื่อเข้าประจำการมีการรับประกันจาก Roll- Royce อยู่แล้วประมาณ 5000 EFH โดยหากเสียในระหว่างนี้ Roll- Royce จัดการซ่อมให้ แต่บิดเบือนว่าเป็นค่าเข้าโครงการ ทำให้บอร์ดอนุมัติให้เข้าโครงการ ทำให้นอกจากบริษัทจ่ายย้อนหลังกว่า 900 ล้านบาทแล้ว ยังต้องจ่ายค่าซ่อมบำรุง Total Care ต่อ EFH ในอัตราที่ปรับเปลี่ยนสูงขึ้นทุกปีอีกด้วย
5. บอร์ดและฝ่ายบริหาร ร่วมกันเพิกเฉย กรณีที่มีการจ่ายค่าเช่าที่พักลูกเรือต่างประเทศปีละ 1 ล้านยูโร ทั้งที่จริงแล้ว มีการพักของลูกเรือคิดเป็นค่าใช้จ่ายจริงเพียง 8แสนยูโร ทำให้บริษัทต้องจ่ายเงินโดยไม่จำเป็นปีละ 10 ล้านบาท โดยผู้ถือหุ้นเห็นว่า การบริหารงานของประธานบอร์ดและฝ่ายบริหารที่เกี่ยวข้องไม่โปร่งใส มีการเอื้อประโยชน์ให้พรรคพวก ทั้งที่สามารถดำเนินการอื่นให้บริษัทได้รับประโยชน์ได้ แต่ไม่ดำเนินการ ในขณะที่สถานะการเงินของบริษัท กำลังจะมีปัญหา
แหล่งข่าวกล่าวว่า ผลการขาดทุนของบริษัทที่เกิดขึ้นในขณะนี้ สาเหตุสำคัญมาจากการทุจริตคอร์รัปชั่นในการบริหารงานของทั้งฝ่ายการเมืองและฝ่ายบริหาร โดยเฉพาะการจัดซื้อจัดจ้าง การซื้อเครื่องบิน A330 ขัดมติครม.ที่ให้บริษัทเช่าดำเนินการ ส่วนปัญหาวิกฤติการเงินโลกและการปิดสนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินดอนเมืองนั้น เป็นเพียงข้ออ้างทีถูกหยิบขึ้นมาเป็นประเด็นหลักเพื่อกลบเกลื่อนปัญหาการบริหารที่ผิดพลาด
ส่วนกรณีการบริหารไม่โปร่งใสในการเช่าโรงแรมที่พักลูกเรือในต่างประเทศนั้นเมื่อวันที่ 19 ส.ค. 2551 บอร์ดได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงกรณีการจัดหาการเช่าโรงแรมที่พักลูกเรือในต่างประเทศ ผู้ดำเนินการอนุมัติวงเงินโดยไม่มีอำนาจตามข้อกำหนดของระเบียบบริษัทว่าด้วยการพัสดุ คณะกรรมการตรวจสอบการบินไทยจึงเสนอบอร์ดแต่งตั้งข้อเท็จจริงโดยให้รายงานบอร์ดทราบภายใน 30 วัน และ/หรือไม่เกิน 19 ก.ย. 51 แต่ยังไม่มีการรายงานผลที่เป็นทางการแต่อย่างใด โดยแต่ละปีการบินไทยใช้เงินค่าเช่าโรงแรมประมาณ 4,600 ล้านบาท/ปี
“การทุจริตที่เกิดขึ้นนำไปสู่การบริหารที่ผิดพลาด และทำให้บริษัทต้องประสบกับผลขาดทุนและมีความจำเป็นต้องกู้เงินเพื่อนำมาเสริมสภาพคล่องในปี 2552 อีก 1.9 หมื่นล้านบาท จากที่ก่อนหน้านี้บอร์ดได้อนุมัติให้กู้เงินระยะยาว จำนวน 1 หมื่นล้านบาทเพื่อนำมาชำระคืนหนี้เงินกู้ระยะสั้นที่ครบกำหนดในช่วงนี้แล้วส่วนหนึ่งรวมทั้งปี การบินไทยต้องกู้เงินมาเสริมสภาพคล่องเกือบ 3 หมื่นล้านบาทซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน”แหล่งข่าวกล่าว
สำหรับจำเลยทั้ง 12 คนประกอบด้วย นายชัยสวัสดิ์ กิตติพรไพบูลย์ อดีตปลัดกระทรวงคมนาคมและอดีตประธานคณะกรรมการบริษัทการบินไทยเป็นจำเลยที่ 1 อีก 11 คน ประกอบด้วย เรืออากาศโท อภินันทน์ สุมนะเศรณี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ เป็นจำเลยที่ 2 นางงามนิตย์ สมบัติพิบูลย์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายการเงินและการบัญชี และรักษาการบัญชีบริหารและงบประมาณ จำเลยที่ 3 นายธงชัย สิงห์กุล ผู้อำนวยการใหญ่ ฝ่ายบัญชีการเงิน จำเลยที่ 4 นายพิเชษฐ์ เรียงวัฒนสุข ผู้อำนวยการใหญ่ ฝ่ายการเงินองค์กร จำเลยที่ 5 นายธีรทัต พรพิบูลย์ ผู้อำนวยการใหญ่ ฝ่ายวางแผน จำเลยที่ 6 พล.อ.อ. ณรงค์ศักดิ์ สังขพงศ์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สำนักเลขานุการบริษัท จำเลยที่ 7
นายธรรมศักดิ์ ชุติวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายช่าง (ระดับรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่) เป็นจำเลยที่ 8 นาย ชัยพฤกษ์ ทิพยจันทร์ ผู้จัดการฝ่ายช่าง จำเลยที่ 9 เรืออากาศโทอภิชัย แสงศศิ ผู้อำนวยการใหญ่ ฝ่ายสนับสนุนการปฎิบัติการ จำเลยที่ 10 เรืออากาศเอก ประวิตร ชินวัตร รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายปฏิบัติการ จำเลยที่ 11 และ นายพรชัย เสรีพงศ์ ผู้อำนวยการใหญ่ ฝ่ายบริหารทั่วไป จำเลยที่ 12 ในข้อหา พนักงานในองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบโดยศาลนัดไต่สวนวันที่ 20 ต.ค. 2551
นอกจากนี้ ยังมีกรณีการฮั้วค่าธรรมเนียมน้ำมัน การขนส่งสินค้าทางอากาศ ทำให้สมาคมคุ้มครองผู้บริโภคของยุโรป (EU) ฟ้อง ซึ่งยังเป็นระเบิดเวลาสำหรับการบินไทยเพราะจะมีการตัดสินกันประมาณกลางปี 2552 นี้ และหากการบินไทยแพ้จะต้องจ่ายค่าปรับประมาณ 10,000 ล้านบาทจะยิ่งซ้ำเติมปัญหาทางการเงินของการบินไทยจนอาจถึงขั้นล้มละลายได้ และจะเกิดผลกระทบอย่างไรก็บริษัทและผู้ถือหุ้นแน่อน
โดย กรณีที่สหภาพยุโรปหรือ EC ได้เรียกค่าเสียหายการบินไทยกรณีและอีกหลายสายการบินในกรณีฮั้วค่าธรรมเนียมน้ำมัน การขนส่งสินค้าทางอากาศ เป็นเรื่องที่ใหญ่มากเพราะตัวเลขค่าปรับสูงมากแต่ฝ่ายบริหารกลับไม่ชี้แจงรายละเอียดต่อบอร์ดทำให้การตัดสินใจของบอร์ดในการให้การบินไทยสู้คดีผิดพลาด
ศาลแพ่งตัดสินบริษัทแพ้คดีจัดซื้อไวน์จ่ายค่าเสียหาย 27 ล้านบาท
แหล่งข่าวกล่าวว่า นอกจากนี้ การบินไทยและผู้บริหารยังถูกบริษัท Ming Yeung International Co.,Ltd ซึ่งได้ร่วมส่งไวน์และเสนอราคาผ่านตัวแทนบริษัทในไทยคือบริษัท โกลด์เด้น ดราก้อนซัพพลาย จำกัด (Golden Dragon Supply Co.,Ltd ) ฟ้องร้อง เพราะได้รับความเสียหายในการจัดซื้อไวน์ประจำปี 2549 (ต.ค.2549 – ธ.ค.2550 ) มีพฤติกรรมส่อไปในทางทุจริตไม่ได้รับความเป็นธรรมและมีการเลือกปฏิบัติ โดยในส่วนของคดีแพ่งที่ฟ้องบริษัทการบินไทยนั้นเมื่อเดือนธ.ค. 2551 ศาลได้ตัดสินให้บริษัทการบินไทยแพ้และจ่ายค่าเสียหายเป็นเงิน 27 ล้านบาท ส่วนคดีอาญาที่ฟ้องผู้บริหารการบินไทยนั้นอยู่ระหว่างการไต่สวนมูลฟ้องโดยจะมีการตัดสินประมาณปลายเดือนม.ค. 2552 นี้
|
|
|
|
|