Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน22 สิงหาคม 2546
แก้NPL8แสนล.หมดปี47โอน"หนี้เน่า" ออกจากแบงก์ทั้งระบบ!             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย
โฮมเพจ ธนาคารนครหลวงไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
ธนาคารนครหลวงไทย, บมจ.
บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
ทักษิณ ชินวัตร
ปรีดิยาธร เทวกุล, ม.ร.ว.
นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
สมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ
ธาริษา วัฒนเกส
Banking and Finance




ผู้ว่าฯแบงก์ชาติเผยเตรียมออกกฎหมายโอนหนี้-ทรัพย์สินเน่าสถาบันการเงินทั้งระบบในไทย ที่เหลืออีกเกือบ 8 แสนล้านบาท คาดเสร็จกลางปีหน้า หวังแก้ปัญหาหนี้เสียออกจาก สถาบันการเงินเบ็ดเสร็จ เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งแบงก์-เศรษฐกิจไทย ให้แบงก์ในไทยเดินหน้าปล่อย สินเชื่อได้ตามปกติ หลังจาก"ทักษิณ" จี้ ส่วนจะโอนไปที่ไหนศึกษาก่อน ด้าน "สมเจตน์" เปิดทาง บสท. พร้อมสนองนโยบายรัฐบาล หากโอนหนี้เน่าให้ ชี้การโอนหนี้เอ็นพีแอลล็อตใหม่ ต้องแก้ กฎหมายก่อน เพราะกฎหมายปัจจุบันระบุ หนี้ที่โอนต้องไม่เกินยอด ณ ธ. ค. 2543 ขณะที่นายแบงก์ ขานรับ แต่ขอดูราคารับซื้อก่อน

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยวานนี้ (21 ส.ค.) ว่าขณะนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยมีแนวคิดจะโอนหนี้ หรือยกหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล-หนี้เน่า) และสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (สินทรัพย์เน่า) ทั้งหมดของสถาบันการเงินประมาณ 7.7 แสนล้านบาท ออกไปไว้ในสถาบัน หรือหน่วยงานหนึ่ง เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สถาบันการเงิน และทำให้สถาบันการแข็งแกร่งมากขึ้น

ส่วนจะโอนไว้ที่ใด ขณะนี้ยังไม่สามารถบอกได้ ขอศึกษารายละเอียดก่อน แต่คาดว่าจะออกเป็นกฎหมาย และดำเนินการให้เสร็จภายในกลางปีหน้า

ความเคลื่อนไหวของผู้ว่าการ ธปท. ครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังจากนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร กล่าวว่าธนาคารพาณิชย์เอกชนไม่ให้ความร่วมมือกับรัฐบาล โดยไม่ส่งรายชื่อผู้มีปัญหาเอ็นพีแอล ที่ล้มบนฟูก ให้รัฐบาลเพื่อจะจัดการปัญหานี้เบ็ดเสร็จ และมีประสิทธิภาพ

ล้างแบงก์เหลือแต่หนี้ดี

"ตอนนี้ยังบอกไม่ได้ว่าโอนไปที่ไหน แต่ยังไม่ใช่ บสท. เพียงแต่ตอนนี้ เราอยากจะยก ปัญหาหนี้ที่มีอยู่ในสถาบันการเงินออกมาให้หมดก่อน เพื่อให้สถาบันการเงินมีแต่หนี้ดี" ผู้ว่าการ ธปท. กล่าว

ด้านนางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าฝ่ายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่าแนวคิดโอนหนี้-สินทรัพย์เน่าสถาบันการเงิน คาดว่าจะมีแนวทางภายใน ต.ค. นี้

บสท.พร้อมรับโอนหนี้-สินทรัพย์เน่า

ด้านบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) พร้อมสนองนโยบายรัฐฯ หากโอนหนี้เอ็นพีแอลจากสถาบันการเงินให้บริหาร เพราะหากระดับนโยบายเห็นชอบ ก็พร้อมอยู่แล้ว แต่การดำเนินการต้องแก้กฎหมายก่อน เพราะกฎหมาย บสท.ระบุว่า จะบริหารเฉพาะหนี้ที่โอนมา ณ ธ.ค. 2543 เท่านั้น หลังจากนั้น ต้องผ่านกระบวนการแก้ไข และขอความเห็นจากสภา

นายสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ กรรมการผู้จัดการ บสท. เปิดเผยกรณี ธปท. มีแนวคิดจะโอนหนี้เน่าสถาบันการเงินทั้งหมดที่เหลือขณะนี้ประมาณ 8 แสนล้านบาท และสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีเอ-สินทรัพย์เน่า) ไว้สถาบันใดสถาบันหนึ่ง ซึ่งแม้อาจไม่เป็น บสท. ที่ถือเป็นหน่วยงานที่พร้อม และความชำนาญในการบริหารหนี้เสีย

แต่ บสท.พร้อมจะรับหนี้-สินทรัพย์เน่าที่จะโอนจากสถาบันการเงิน หากระดับนโยบายพิจารณาเห็นว่าเหมาะสม และถูกต้องแล้ว เพราะถือเป็นหน้าที่ที่ บสท. ต้องดำเนินตามนโยบายอยู่แล้ว

"บสท.มีหน้าที่ในการปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลอยู่แล้ว หากระดับนโยบายเห็นว่าดี ก็ไม่มีปัญหาอะไร เราสามารถทำได้ และถือเป็นหน้าที่อยู่แล้ว ให้เราบริหาร เราก็พร้อมที่จะบริหารให้" นายสมเจตน์กล่าว

อย่างไรก็ตาม กรรมการผู้จัดการ บสท. กล่าวว่า การดำเนินการดังกล่าว โดยเฉพาะหากเกี่ยวกับ บสท. ต้องแก้กฎหมายก่อน คงไม่สามารถดำเนินการได้เร็วนัก เนื่องจากตามกฎหมาย หนี้เอ็นพีแอลที่จะโอนให้ บสท.บริหาร ต้องเป็นหนี้เน่า ณ ธ.ค. 2543 หากเกินจากระยะเวลาที่ระบุในกฎหมาย ต้องผ่านกระบวนการแก้ไข โดยต้องเสนอเข้าสู่การพิจารณาสภาผู้แทนราษฎร

ปัจจุบัน บสท. มีมูลหนี้ที่ยังไม่มีข้อยุติ ที่ต้องบริหาร เหลือประมาณ 1.8 แสนล้านบาท จากที่รับโอน ก.ค. 2544 ประมาณ 7 แสนล้านบาท บสท. ยังเหลือเวลาดำเนินงานอีก 8 ปี

นายแบงก์ขานรับ

ด้านผู้บริหารแบงก์พาณิชย์เห็นด้วยกับแนวคิดแบงก์ชาติ ที่จะโอนหนี้เน่าทั้งหมดของสถาบันการ เงิน ชี้จะส่งผลดีต่อระบบ แต่ขอดูเงื่อนไขก่อน โดยเฉพาะราคาที่รับซื้อ ว่าจะเป็นอย่างไร

นายนิเวศน์ เหมวชิรวรากร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารนครหลวงไทย กล่าวถึงกรณี ธปท. มีแนวคิดจะโอนหนี้เน่าทั้งหมดของสถาบันการเงิน ไปไว้หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ว่าเรื่องดังกล่าว จะเป็นผลดีต่อธนาคารแต่ละแห่งที่โอนหนี้เน่าออก

แต่ต้องรอดูเงื่อนไข ธปท.ที่จะประกาศก่อนว่าเป็นอย่างไร โดยเฉพาะราคารับซื้อ ว่าจะเหมาะสมหรือไม่ รวมทั้งกฎเกณฑ์ และเงื่อนไขที่ออก ว่าคล่องตัวดำเนินการ หรือเปิดกว้างให้สถาบันการเงิน แค่ไหน เขากล่าวว่า การรับซื้อหนี้จากธนาคาร จะทำให้เกิดผลดีด้านความคล่องตัวดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะการขยายตัวสินเชื่อธนาคารน่าจะมีมากขึ้น จากเงินกองทุนที่เพิ่มขึ้น หลังจากขายหนี้เน่าแล้ว

"แนวทางการโอนหนี้เอ็นพีแอลครั้งนี้ของแบงก์ชาติ คงต้องมาดูในเรื่องของเงื่อนไขการรับซื้อหนี้ ว่าจะเป็นอย่างไร จะมีส่วนลดหรือเปล่า และถ้ามีจะคิดกี่เปอร์เซ็นต์ ในหลักการ ถือว่าเป็นเรื่อง ที่ดีต่อสถาบันการเงิน เพราะปัจจุบัน แบงก์บางแห่งอาจจะมีปัญหาไม่สามารถขายหนี้ออกไปได้ ทำให้การ ขยายธุรกิจเป็นไปได้ช้า แต่ปัจจุบัน ถือว่าสถาบันการเงินหลายแห่ง ก็สามารถดูแลหนี้ของตนเองได้อยู่แล้ว คงต้องขึ้นกับเงื่อนไขของทางการว่าจะจูงใจหรือเปล่า" นายนิเวศน์กล่าว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us