Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน20 มกราคม 2552
วิจัยชี้4ปีประกันฟัน3พันล.ตั้งกก.โยกเงินพรบ.คุ้มครอง             
 


   
search resources

Insurance




“วิทยา” ไม่หวั่นแรงต้าน เดินหน้าตั้งคณะทำงานศึกษาข้อมูลคุ้มครองผู้ประสบภัยทางรถ หวังคนไทยเข้าถึงการรักษามากขึ้น สวรส.เผยผลวิจัย 4 ปี บริษัทประกันวินาศภัยฟันกำไรจากเบี้ยภาคบังคับกว่า 3 พันล้าน ชี้รื้อระบบใหม่ไม่กระทบธุรกิจ เสนอ 3 ทางเลือก ลดเบี้ยประกันฯ แก้ไขพ.ร.บ.ใหม่ หรือยกเลิก พ.ร.บ.ขยายสิทธิประโยชน์บัตรทองหรือเก็บภาษีน้ำมันเพิ่ม หมอชนบทเชียร์รัฐมนตรีเอาจริง

นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีที่มีแนวคิดในการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการเงินกองทุนคุ้มครองผู้ประสบภัยทางรถให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) หรือหน่วยงานอื่นที่มีความเหมาะสมเป็นผู้บริหารจัดการแทนบริษัทประกันภัยนั้นว่า ขณะนี้ได้สั่งการให้สธ.ตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อศึกษาและรวบรวมตัวเลขผู้ประสบภัยจากรถทั่วประเทศว่ามีจำนวนเท่าไร หากเกิดอุบัติเหตุจะมีขั้นตอนอุปสรรคปัญหาอย่างไร มีการเก็บเบี้ยประกันและค่ารักษาพยาบาลมากน้อยเท่าไหร่ รวมถึงเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียในระบบการให้บริการ โดยไม่ได้กำหนดกรอบระยะเวลา ซึ่งจะประสานข้อมูลจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.) ซึ่งได้ทำการวิจัยไว้แล้วมาประกอบการพิจารณา โดยหลังจากได้ข้อสรุป จะหารือร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต่อไป

“ที่ผ่านมาได้รับการร้องเรียนจากประชาชนบ่อยมาก โดยเฉพาะการรักษาพยาบาลที่ได้รับสิทธิคุ้มครองจากบริษัทประกันฯ ในช่วงแรกเมื่อรักษาหมดวงเงินประกันฯ ก็ต้องกลับเข้ามารักษาตามสิทธิของแต่ละบุคคลซึ่งถือว่าไม่ได้รับการดูแลจากพ.ร.บ.เต็มที่ ทั้งนี้ การเดินหน้าดำเนินการเรื่องนี้นั้น ไม่เป็นห่วงการต่อต้าน หรือคัดค้าน จากบริษัทประกันภัย หากได้ทำเรื่องที่เป็นประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนให้ได้เข้าถึงการรักษามากยิ่งขึ้น”นายวิทยากล่าว

4 ปี บ.ประกันฟาดกำไร 3.3 พันล.

ด้าน นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.) กล่าวว่า จากรายการศึกษา เรื่อง “พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถในบริบทของการประกันสุขภาพถ้วนหน้า”ของ นพ.ดร.วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียรและคณะเมื่อปี 2548 ภายใต้การสนับสนุนจาก สปสช.และสวรส. พบว่า จำนวนผู้ป่วยมารับการรักษาจากห้องฉุกเฉินที่สถานพยาบาลต่างๆ ประมาณ 12 ล้านครั้งต่อปี ประมาณการผู้ป่วยจากอุบัติเหตุการจราจร 1.2 ล้านครั้ง เป็นผู้ป่วยนอกจากอุบัติเหตุการจราจร 9 แสนครั้ง และผู้ป่วยในจากอุบัติเหตุการจราจร 3 แสนครั้ง

ทั้งนี้ ประมาณการค่าใช้จ่ายทั้งหมดเนื่องจากอุบัติเหตุจราจร ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ 7,158 ล้านบาท แบ่งเป็น 5 ประเภท ได้แก่ 1.ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกจากอุบัติเหตุการจราจร 369 ล้านบาท คิดเป็น 5 % 2.ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยในจากอุบัติเหตุ 4,518 ล้านบาท คิดเป็น 63 % 3.ค่าสินไหมทดแทนกรณีเสียชีวิต 1,050 ล้านบาท หรือ 15 % 4.ค่าสินไหมทดแทนกรณีทุพพลภาพ 105 ล้านบาท คิดเป็น 1 %และ5.ค่าใช้จ่ายก่อนนำส่งโรงพยาบาล 1,116 ล้านบาท หรือ 16 %

นพ.พงษ์พิสุทธิ์ กล่าวด้วยว่า ผลประกอบการตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถของบริษัทประกันวินาศภัยในปี 2545 พบ เบี้ยประกันภัยรับที่ถือเป็นรายได้ 7,003 ล้านบาท ค่าสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้นระหว่างปี 3,674 คิดเป็น 52 % ค่าใช้จ่ายต่างๆในการบริหารจัดการ 2,870 ล้านบาท หรือ 41 % กำไร 459 ล้านบาท คิดเป็น 7 % ส่วนผลกำไรสะสมในพ.ศ.2542-2545 มีจำนวน 3,300 ล้านบาท เมื่อวิเคราะห์ระบบประกันทั้งหมดในปี 2546 ซึ่งรวมเบี้ยประกันชีวิตและประกันวินาศภัย พบว่า เบี้ยรับทั้งหมด 204,514 ล้านบาท แบ่งเป็น เบี้ยประกันภัยรับจาก พ.ร.บ.นี้ คิดเป็นเพียง 4 % ประกันชีวิต 66 % ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ 16 % และประกันภัยอื่น 14 %

“งานวิจัยนี้ระบุว่าพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งเป็นการประกันภัยภาคบังคับมีหลักไม่กำไร ไม่ขาดทุน แต่ผลกำไรของบริษัทประกันวินาศภัยที่ได้จากประกันภัยประเภทนี้กลับมีสูงถึง 3.3 พันล้านบาทใน 4 ปี บวกกับปัจจุบันคนไทยมีหลักประกันสุขภาพทุกคน พ.ร.บ.นี้ไม่น่าจะมีความจำเป็นอีกต่อไป จึงต้องพิจารณาทางเลือกในการปรับปรุงระบบเพื่อให้คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถทุกคน ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีประกัน” นพ.พงษ์พิสุทธิ์กล่าว

สวรส.เสนอ 3 ทางเลือก

นพ.พงษ์พิสุทธิ์ กล่าวด้วยว่า ในการปรับระบบนี้มี 3 ทางเลือกหลักตามแหล่งเงินของการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ได้แก่ 1. เบี้ยประกันจากเจ้าของรถตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ระดับอนุรักษ์นิยม ทำได้โดยการปรับลดเบี้ยประกันให้มีความเหมาะสม ซึ่งเบี้ยประกันปัจจุบันสามารถลดลงได้ไม่น้อยกว่า 35 % รวมทั้งปรับประสิทธิภาพของการบริหารเพื่อให้การคุ้มครองรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ค่าใช้จ่ายการบริหารต้องไม่เกิน 10 % และปรับประสิทธิภาพการจ่ายสินไหมทดแทนแก่ผู้ประสบภัยที่เกิดจากรถที่ไม่มีประกันด้วย

“ระดับปฏิรูปเล็กน้อย โดยการแก้ไขพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถให้บริษัทประกันวินาศภัยจัดเก็บเบี้ยประกัน และระดับปฏิรูปใหญ่ แก้ไขพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ โดยมอบหมายให้กรมการขนส่งเป็นผู้จัดเก็บเบี้ยประกันพร้อมกับการต่อทะเบียนรถยนต์ โดยทั้ง 2 แบบ จะต้องส่งเบี้ยประกันที่จัดเก็บได้หลังหักค่าใช้จ่ายส่งให้สปสช.ดำเนินการจ่ายทดแทนผู้ประสบภัยทุกคน โดยให้สปสช.บริการรายจ่ายกรณีค่ารักษาพยาบาล ส่วนกรณีทุพพลภาพและตายอาจมอบหมายให้สำนักงานประกันสังคม(สปส.)ดำเนินการ” นพ.พงษ์พิสุทธิ์ กล่าว

นพ.พงษ์พิสุทธิ์ กล่าวอีกว่า 2.ใช้ภาษีทั่วไป โดยการยกเลิกพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ แล้วขยายอัตราเหมาจ่ายรายหัวในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทองให้ครอบคลุมรายจ่ายกรณีอุบัติภัยจากรถ ส่วนกรณีผู้ประสบภัยจากรถอยู่ในสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการหรือประกันสังคมให้ครอบคลุมในส่วนนั้น ตามเงื่อนไขกรมบัญชีกลางและสปส.

และ3.ใช้ภาษีน้ำมันเชื้อเพลิง โดยยกเลิกพ.ร.บ.นี้ แล้วเก็บภาษีน้ำมัน โดยเก็บจากน้ำมันออกเทน 95 สูงกว่าน้ำมันชนิดอื่น ภาษีที่เก็บได้นำส่งสปสช.ให้สปสช.บริการรายจ่ายกรณีค่ารักษาพยาบาล ส่วนกรณีทุพพลภาพและตายอาจมอบหมายให้สำนักงานประกันสังคม(สปส.) ดำเนินการ ซึ่งทางเลือกที่นักวิชาการส่วนใหญ่สนับสนุนมากที่สุดเป็นทางเลือกที่1ในส่วนของการปฏิรูปใหญ่ เนื่องจากจะทำให้ต้นทุนการบริหารจัดเก็บต่ำ ไม่มีรายจ่ายค่าการตลาด ค่าบริการจัดการไม่สูง เพราะสปสช.และสปส.มีระบบพร้อมในการดำเนินงาน ส่วนการเก็บภาษีน้ำมันในภาวการณ์เช่นนี้ไม่มีความเหมาะสม

“หากรัฐมนตรีสนใจที่จะนำการศึกษาเรื่องนี้ไปใช้ประกอบในการพิจารณาก็พร้อมเข้าให้รายละเอียด และเป็นธรรมดาที่เมื่อมีการเปลี่ยนระบบจะเกิดการคัดค้านจากผู้ได้ประโยชน์เดิม แต่ส่วนตัวเห็นว่าเป็นนโยบายที่จะทำให้เกิดประโยชน์กับประชาชนอย่างมาก หากรัฐบาลทำได้จะเป็นการแสดงถึงภาวะผู้นำของผู้บริหารประเทศ ที่สำคัญจะไม่กระทบกับธุรกิจประกันภัย เพราะไม่ใช่รายได้หลักของบริษัทเหล่านี้”นพ.พงษ์พิสุทธิ์กล่าว

หมอชนบทเชียร์ "วิทยา"

ขณะที่ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ เลขาธิการมูลนิธิแพทย์ชนบท กล่าวว่า ขอสนับสนุนนายวิทยา ในการปรับการบริหารกองทุนผู้ประสบอุบัติภัยจากรถ เพราะทุกวันนี้บริษัทประกันภัยได้เงินไปปีละ 3,500 ล้านบาท จากเงินที่ชาวบ้านต้องจ่ายทำประกันภัยรถจำนวนปีละ 7,000 ล้านบาท ส่วนโรงพยาบาลต่างๆได้รับเงินเพียง 50% เพราะผู้ป่วยจะแจ้งว่า หกล้มบ้าง ตกบันไดบ้าง เนื่องจากไม่อยากไปเอาบันทึกประจำวันจากตำรวจ บางคนขอใช้สิทธิข้าราชการ ประกันสังคม แต่ส่วนใหญ่ชาวบ้านจะยอมเสียเงินเอง เพราะลำบากที่ต้องเดินทางไปเบิกในตัวจังหวัด ประกอบกับการเบิกเงินจากบริษัทประกันภัยมักจะล่าช้า ใช้เวลาถึง 2 เดือนจึงจะได้

“บริษัทประกันภัยรถควรหยุดเอาเปรียบประชาชนได้แล้ว เวลาทำประกันภัย ไปทำถึงหมู่บ้าน เวลาเบิกใช้หลักฐานยิบย่อย และให้ไปเบิกที่จังหวัด ควรใช้ภาษีน้ำมันมาใช้ในส่วนนี้ ชาวบ้านไม่ต้องเสียเวลาไปต่อประกันภัย โรงพยาบาลก็ได้เงินครบ ขอให้รัฐมนตรีสธ.เอาจริงกับเรื่องนี้ อย่าให้แค่พูดแล้วหายไป เพียงแค่มีคนเสียผลประโยชน์มาล็อบบี้”นพ.พงศ์เทพ กล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us