|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ซี.เจ.มอร์แกนงานล้นมือ เผยรับเป็นที่ปรึกษาการควบรวมกิจการของธุรกิจ 3 กลุ่ม คิดเป็นมูลค่าทรัพย์สินรวมกว่า 4หมื่นล้านบาท มั่นใจปีนี้ได้ข้อยุติอย่างน้อย 1 กลุ่ม ซึ่งเป็นผลพวงจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกและความเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อของแบงก์ตามข้อบังคับบาเซิล 2 เตือนผู้ถือหุ้นBSI อย่าลืมใช้สิทธิขายหุ้นคืนก่อนพ้น 12 ก.พ.นี้ หลังพบผู้ถือหุ้นใช้สิทธิขายหุ้นจิ๊บจ้อย
นายชำนิ จันทร์ฉาย กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ซี.เจ.มอร์แกน จำกัด เปิดเผยว่า จากวิกฤติเศรษฐกิจโลกได้ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจการส่งออก อุตสาหกรรมเหล็กของไทย และความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของธนาคารตามเงื่อนไขหลักเกณฑ์การกำกับดูแลเงินกองทุนของสถาบันการเงิน (บาเซิล 2)ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)กำหนด เป็นตัวกดดันให้มีการควบรวมกิจการเพื่อความเข้มแข็ง ซึ่งขณะนี้มีการเจรจาการควบรวมกิจการอุตสาหกรรมเหล็กจำนวน 3 กลุ่ม ซึ่งเป็นบริษัทที่อยู่ในและนอกตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยซี.เจ.มอร์แกนรับเป็นที่ปรึกษาอยู่
โดยกลุ่มแรกเป็นการควบรวมกิจการเหล็กเส้นกับเหล็กเส้น มูลค่าทรัพย์สินรวม 1.5 หมื่นล้านบาท กลุ่มที่สองเป็นบริษัทเหล็กเส้นกับบริษัทผลิตเหล็กเส้นและเหล็กรูปพรรณ มูลค่า 1.2 หมื่นล้านบาท และกลุ่มที่ 3 เป็นบริษัทผลิตเหล็กรูปพรรณกับบริษัทเหล็กรูปพรรณ มูลค่า 1.6 หมื่นล้านบาท คาดว่าภายในปีนี้การเจรจาควบรวมกิจการจะบรรลุข้อสรุปอย่างน้อย 1 กลุ่ม ส่วนที่เหลือยังติดเงื่อนไขในรายละเอียดเกี่ยวกับอำนาจการบริหารจัดการ และราคา
นอกจากนี้ ซี.เจฯยังได้รับการติดต่อให้เข้ามาดำเนินการปรับโครงสร้างกิจการและหาพาร์ทเนอร์บริษัทผลิตกุ้งแช่แข็งส่งออก มูลค่า 2พันล้านบาท และบมจ. ซันวูด อินดัสทรี ซึ่งเป็นบริษัทผลิตเฟอร์นิเจอร์ส่งออก มูลค่า 1พันล้านบาท และบริษัทผลิตอุปกรณ์กีฬารายใหญ่ของโลก
ส่วนกรณีที่รัฐบาลอัดฉีดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจประมาณ 1แสนกว่าล้านบาทนั้น คงต้องรอดูผลต่อเนื่องว่าจะเป็นอย่างไร โดยวัดจากดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ดัชนีว่าจ้างแรงงาน และอื่นๆ ซึ่งสิ่งที่ตนวิตกกังวลเกรงว่าเม็ดเงินที่อัดฉีดไปนั้นอาจกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ได้ สุดท้ายรัฐต้องใส่เงินลงไปมากกว่านี้
ส่วนภาพรวมอุตสาหกรรมเหล็กโลกในอีก1-3 ปีข้างหน้า ผู้ประกอบการจะอยู่ได้ต้องแข็งแกร่งและอึด เนื่องจากความต้องการใช้เหล็กทั่วโลกลดลง ซึ่งประเทศผู้ผลิตและใช้เหล็กรายใหญ่ของโลกคือ จีน ขณะนี้รัฐบาลได้ทุ่มเม็ดเงินในการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ ทำให้ล่าสุด จีนไม่มีการส่งออกบิลเล็ต ซึ่งเป็นเหล็กขั้นกลางส่งผลให้ราคาปรับตัวขึ้น แต่หันมาส่งออกเหล็กแผ่นรีดร้อนแทน ทำให้ราคาลดลงจากเดิมที่เคยอยู่ 1 พันเหรียญสหรัฐ/ตันมาอยู่ที่ 400-500 เหรียญสหรัฐ/ตัน
ขณะที่อุตสาหกรรมเหล็กในประเทศพบว่ากำลังการผลิตรวม 10 กว่าล้านตัน แต่ความต้องการใช้เหล็กเส้นเพียง 4-5 ล้านตัน ซึ่งวิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้จะวัดความแข็งแกร่งของภาคธุรกิจ และจะเห็นการควบรวมกิจการมากขึ้น โดยจะเห็นภาพชัดเจนขึ้นภายในไตรมาสแรกปีนี้
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ราคาเหล็กเส้นเริ่มมีสัญญาณที่ดีหลังจากปลายปีที่แล้วราคาเหล็กเส้นอยู่ที่ 14,000-15,000 บาท/ตัน ล่าสุดราคาขยับขึ้นมาอยู่ที่ตันละ 18,000 บาท
เตือนผู้ถือหุ้นBSIอย่าลืมขายหุ้นคืน
นายชำนิ กล่าวต่อไปว่า ตามที่บริษัท พร้อมศรี พร๊อพเพอร์ตี้ จำกัด ได้ร่วมมือกับผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท กรุงเทพผลิตเหล็ก จำกัด (มหาชน)(BSI) ได้ทำคำเสนอซื้อหุ้น BSI ในราคาหุ้นละ 8.25 บาท โดยจะรับซื้อหุ้นทั้งหมดจนถึงวันที่ 11-12 ก.พ.นี้ และจะชำระเงินค่าหุ้นในวันที่ 17 ก.พ. 2552 ทาง ซี.เจ.มอร์แกน จำกัด ในฐานะผู้บริหารแผนฯ BSI แสดงความเป็นห่วงว่ามีผู้ถือหุ้นรายย่อยจำนวนมากที่อาจจะไม่ทราบว่าตนเองหรือญาติพี่น้องถือหุ้น BSIอยู่ เนื่องจากหุ้นดังกล่าวได้ถูกระงับการซื้อขายมานานเกือบ 10ปี ดังนั้นจึงได้เปิดศูนย์ประสานงานนักลงทุนสัมพันธ์ ณ สำนักงานของ BSI บริษัทหลักทรัพย์ บีฟิท จำกัด ซึ่งเป็นที่ปรึกษาทางการเงินของผู้ทำคำเสนอซื้อ เพื่อให้คำแนะนำและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ถือหุ้น
ขณะนี้มีผู้มาใช้สิทธิขายหุ้นBSI แล้ว 5.8 ล้านหุ้นจากจำนวนหุ้นที่จะขอซื้อคืนทั้งหมด 30ล้านหุ้น ซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก หากผู้ถือหุ้นมาใช้สิทธิในเวลาที่กำหนดไม่ทัน ก็ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นBSIอยู่เพียงแต่จะขาดสภาพคล่องในการซื้อขายหุ้นอย่างถาวร เนื่องจากBSI จะขอเพิกถอนหลักทรัพย์ออกจากตลาดหลักทรัพย์โดยสมัครใจ
สำหรับผลการดำเนินงานของBSI ปี 2551 บริษัทฯได้รับผลกระทบจากราคาเหล็กปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงแต่ไม่มากนักเมื่อเทียบกับบริษัทเหล็กรายอื่นๆ เนื่องจากที่ผ่านมาบริษัทฯมีสภาพคล่องจำกัด ทำให้ช่วงราคาเหล็กปรับตัวสูงมากก็ไม่ได้รับผลดีมากเช่นเดียวกัน ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทฯเคยมีรายได้รวม 1.5 หมื่นล้านบาท ปัจจุบันมีรายได้รวมเฉลี่ยปีละ 3 พันล้านบาท มีกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ค่าเสื่อมและภาษี (EBITDA)ประมาณ 10 ล้านบาท/เดือน
BSI เดิมมีหนี้สินรวมทั้งสิ้น 6 หมื่นล้านบาท (รวมหนี้ค้ำประกัน) โดยจะต้องชำระหนี้เป็นเงินสดประมาณ 5 พันกว่าล้านบาท โดยBSIได้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการและจะสิ้นสุดการฟื้นฟูฯในปี 2553 บริษัทฯจะต้องมีการชำระหนี้ให้เจ้าหนี้รายใหญ่ คือบสท.ในช่วง 2 ปีนี้ เป็นวงเงิน 3,000 ล้านบาท ตามเงื่อนไขการปรับโครงสร้างหนี้ โดยบสท.จะลดหนี้(แฮร์คัท)วงเงิน 10,290 ล้านบาท ซึ่งยอมรับว่าในช่วงภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้การหาเงินมาชำระหนี้เป็นไปได้ยาก คงต้องมีการหารือกับเจ้าหนี้เพื่อขอผ่อนผันต่อไป
|
|
|
|
|