Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน20 มกราคม 2552
แบงก์ห่วงQ1-2จีดีพีติดลบลึก             
 


   
search resources

อุสรา วิไลพิชญ์
Economics




สแตนชาร์ดประเมินจีดีพีปีนี้โต 1.3% ไตรมาส1-2 อาจติดลบลึก กดดันแบงก์ชาติปรับลดดอกเบี้ยอีก คาดเหลือ 1% ขณะที่มาตรการคลังจะเริ่มมีผลในไตรมาส 2 และค่าบาทจะอ่อนแตะ 37 บาท ระบุวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้แตกต่างจากครั้งก่อน เพราะส่งผลกระทบถึงภาคเศรษฐกิจจริง โดยเฉพาะส่งออก-ท่องเที่ยว และจะทำให้มีปัญหาการว่างงานรุนแรงขึ้น

นางสาวอุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงแนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2552 ว่า วิกฤตเศรษฐกิจไทยที่เกิดขึ้นในปีนี้จะมีความแตกต่างจากเมื่อปี 2540 เนื่องจากกรณีของปี 2540 เกิดจากภาคอสังหาริมทรัพย์ที่มีปัญหาหนี้เสียสูงมาก รวมทั้ง มีหนี้ที่เพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงค่าเงินบาทที่มีการประกาศลอยตัวทำให้เงินบาทอ่อนค่าลงมาจาก 25 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ เป็น 50 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งวิกฤตดังกล่าวมีผลกระทบในวงจำกัดต่อภาคการธนาคารพาณิชย์และอสังหาริมทรัพย์ของไทย แต่จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่แข็งแร่งทำให้ประเทศไทยฟื้นตัวได้เร็ว

ขณะที่วิกฤตครั้งนี้ มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบในเชิงลบต่อภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงอย่างรุนแรง โดยเฉพาะภาคการส่งออก การท่องเที่ยว และภาคเกษตร เป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ถดถอย ทำให้เศรษฐกิจไทยชะลอตัวตามไปด้วย โดยคาดว่าเงินเฟ้อปีนี้ติดลบตั้งแต่ในไตรมาสที่ 1-2 ซึ่งทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)มีช่องในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก โดยคาดว่าจะเห็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยลดต่ำลงกว่าวิกฤตการณ์ครั้งก่อน จากความเสี่ยงของภาวะเงินฝืดที่เพิ่มขึ้น คาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะยังคงปรับลดลงอีกอยู่ในระดับ 1%หรือต่ำกว่า 1%ก็เป็นได้

"ครึ่งแรกของปีนี้มีประชุมอีก 3 ครั้ง ครั้งแรกเดือนกุมภาพันธ์ และในไตรมาส 2 อีก 2 ครั้ง ในครั้งหน้าคาดว่าน่าจะลดอีก 0.50% และอีก 2 ครั้งน่าจะครั้งละ 0.25% ก็จะเหลือ1% และอาจจะมีการลดอีกประปรายในไตรมาสที่ 3 ขึ้นอยู่กับสภาวะเศรษฐกิจในช่วงนั้นๆ"

และจากการคาดการณ์ว่าไทยจะมียอดขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่สูงขึ้นในปี 2552 จึงคาดว่าจะทำให้เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าลงอีก โดยธนาคารคาดว่าเงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าลงแตะระดับ 37 บาทต่อดออลาร์สหรัฐ ซึ่งก็เป็นผลดีในแง่การอ่อนค่าลงจะได้รับแรงกระแทกที่น้อยลง และค่าเงินสกุลต่างๆที่ได้รับผลกระทบมากจากการส่งออก คือ มาเลเซีย ไต้หวัน เวียดนาม และสิงค์โปร์

นางสาวอุสรากล่าวว่า อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทย(จีดีพี)ในปีนี้คาดว่าจะขยายตัวในระดับ 1.3% จากสมมติฐานว่ามีการดอกเบี้ยลดในระดับที่คาดไว้ และมีนโยบายคลังเข้ามาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 และจะมีในบางไตรมาสที่อัตราการเติบโตติดลบ โดยในไตรมาสที่1 และ 2 อาจจะขยายตัวติดลบ แล้วกลับมาดีขึ้นในครึ่งหลัง แต่ดีขึ้นแบบช้าๆ ไม่ก้าวกระโดด เนื่องจากการส่งออกในสหรัฐ ยุโรป จีน ญี่ปุ่น ที่ถดถอย

"ประเทศไทยมีความเสี่ยงที่จะเห็นภาวะเงินฝืดชั่วคราว เกิดจากอัตราดอกเบี้ยติดลบหลายเดือน อาจจะยาวนานถึง 4 เดือน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ในไตรมาสแรกอัตราการเติบโตจะติดลบ และในไตรมาสที่ 2 อาจจะติดลบลึก ขณะที่นโยบายคลังใช้เวลานานกว่าจะนำมาใช้ได้จริง อย่างเร็วสุดน่าจะเป็นในไตรมาสที่ 2 จึงทำให้เกิดช่องว่างในไตรมาสที่ 1"

ด้านการจ้างงานอาจจะเห็นการจ้างงานที่น้อยลงกว่าครั้งที่แล้ว และจะมีผู้ว่างงานมากขึ้น ในส่วนของมาตรการภาครัฐที่จะเข้ามาช่วยผู้มีรายได้ต่ำนั้น ถือเป็นการช่วยลดปัญหาของสังคม และปัญหาคุณภาพชีวิต แต่อาจไม่ใช่มาตราการที่เพียงพอที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยที่ตกต่ำได้ ดังนั้น ภาครัฐบาลจะต้องมีมาตรการเบิกจ่ายที่สามารถหาวิธีที่จะนำมาใช้จ่ายได้อย่างรวดเร็ว และควรจะมีเงินเฉพาะส่วนที่จะช่วยภาคธุรกิจโดยเฉพาะ

สำหรับแนวโน้นเศรษฐกิจเอเชียคาดว่าจะเติบโตช้าลงในปี 2552 โดยผลกระทบที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เป็นด้านการส่งออกและการท่องเที่ยวที่อาจถดถอยอย่างรุนแรง จาก 3 ปัจจัยด้วยกัน คือ เศรษฐกิจเติบโตตกต่ำและบางประเทศเกิดการถดถอย โดยเฉพาะประเทศที่พึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก อาทิ ส่องกง สิงค์โปร์ รวมถึงภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงเงินเฟ้อไปสู่เงินเฟ้อลดลง หรือการเกิดเงินฝืด และการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลดลงในสถิติต่ำสุด

"ขณะนี้ประเทศสิงค์โปร์ ฮ่องกง จีน ยังมีความสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ ฉะนั้น เอเชียต้องหันมามองการใช้จ่ายในประเทศ ราคาน้ำมันและการบริโภคที่ลดลงจะเป็นตัวหนุนให้มีการใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบายต่ำเป็นประวัติการณ์"   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us