|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
บล.กรุงศรี ประเมินครึ่งปีแรก ท่องเที่ยวไทยยังทรุด เหตุความรุนแรงของเศรษฐกิจโลกและการเมืองในประเทศ ยังเป็นปัจจัยฉุดความมั่นใจ แต่ยังเชื่อครึ่งปีหลังได้เห็นต่างชาติกลับมา ระบุความแข็งแกร่งของภาคธุรกิจไทย คือจุดแข็งสำคัญ ส่วนการได้รัฐบาลใหม่ สร้างภาพรวมการเมืองทิศทางดีขึ้น ลุ้นจีดีพีปี 52 โตได้ 0.5-2% เชยร์ลงทุนหุ้น 3 กลุ่ม ทั้งพลังงานทดแทน -โรงพยาบาล-เกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร
นายรุ่งศักดิ์ สาธุกรรม ผู้จัดการฝ่ายอาวุโสและผู้จัดการฝ่ายวิจัย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือ AYS เปิดเผยว่า วิกฤตเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน ที่มีจุดเริ่มต้นมาจากปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ของสหรัฐฯ เริ่มส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกมากขึ้น เห็นได้จากตัวเลขการส่งออกในเดือนพฤศจิกายน- ธันวาคมในปี 51 ที่ติดลบ ซึ่งสหรัฐฯ เอง ถือเป็นประเทศส่งออกหลักของทั่วโลก
ทั้งนี้ ภาคการส่งออกจะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ การส่งออกทางตรงและทางอ้อมผ่านประเทศในภูมิภาคเอเชียไปยังประเทศสหรัฐฯ ซึ่งมีสัดส่วนในตลาดสหรัฐฯในส่วนทางตรง33%และทางอ้อม60% และส่วนที่เหลือเป็นการส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก
จากสิ่งที่เกิดขึ้น มองว่า แนวโน้มเศรษฐกิจของไทยปี 2552 จะขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ 3ประการคือ . ทิศทางสภาพเศรษฐกิจโลก ซึ่งในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลของแต่ละประเทศพยายามอัดฉีดเม็ดเงินเพื่อกระตุ้นการบริโภคและภาคธุรกิจในประเทศของตน 2.ปัญหาการเมืองของไทย ที่ในปัจจุบันดูเหมือนจะเริ่มคลี่คลาย แต่ก็ยังไม่ยุติเพราะยังมีกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยแห่งชาติ (นปช.) ออกมาต่อต้านการบริหารงานของรัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคาประชาธิปัตย์ (ปชป.) และ 3.ตัวศักยภาพที่เหลือของธุรกิจในประเทศ
โดยในช่วงไตรมาส 1-2 ปีนี้ ภาคการท่องเที่ยวน่าจะยังไม่ดี เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจโลกในช่วงกลางปี 51 และความรุนแรงทางการเมืองในประเทศช่วงปลายปี และภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ก็คงไม่ดีเช่นกัน ซึ่งจะเห็นได้จากการที่บริษัทหลายแห่งเริ่มมีชะลอการผลิตและแผนขยายงานเพื่อหวังรักษากระแสเงินสดให้อยู่รอดในภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่
ส่วนในช่วงไตรมาส 3-4 ของปี คาดว่านักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจะเริ่มหันกลับมาเที่ยวเมืองไทย ภายหลังจากผลการสำรวจของ CBI พบว่า ประเทศไทยได้คว้าอันดับต้นๆ ของผลโหวต ‘Best Country Brand for Value for Money’ หรือประเทศที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่คุ้มค่าเงินที่สุด ติดอันดับที่ 3 ของความมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ติดอันดับที่ 3 ของความเป็นมิตร และอันดับที่ 4 สำหรับการเป็นแหล่งที่มีความหลากหลายในการชอปปิ้ง
“ปัจจุบันทางบริษัทยังไม่สามารถคาดการณ์จุดต่ำสุดหรือสิ้นสุดของวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้อยู่ตรงไหน แต่เชื่อหากสถานการณ์การเมืองของไทยดีขึ้นจะเป็นตัวน่าจะกลายเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนเศรษฐกิจ”
อย่างไรก็ตาม เมืองไทยยังมีจุดแข็งที่สำคัญคือ ความแข็งแกร่งของภาคธุรกิจในประเทศที่สัดส่วนหนี้สินต่อทุนอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ เมื่อเทียบกับธุรกิจในต่างประเทศ อาทิ ประเทศเกาหลีที่สัดส่วนหนี้สินต่อทุนอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างสูง ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะของไทยอยู่ที่ 36-37%ต่อจีดีพีของประเทศ
ขณะเดียวกัน ภายหหลังจากมีการเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ทำให้ภาพรวมการเมืองดูมีทิศทางดีขึ้นประกอบกับพื้นฐานเศรษฐกิจของไทยยังอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราเงินเฟ้อที่ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง ราคาน้ำมันโลกที่ปรับลดลง รวมถึงนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่เริ่มทยอยออกมา จึงทำให้เชื่อว่าในปีนี้ ดุลการค้าของประเทศน่าจะเกินดุล และจากปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมาทำให้คาดว่าตัวเลขจีดีพีของไทยปี 52 น่าจะโตอยู่ที่ 0.5-2%
ส่วนกรณีที่คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (กนง.) ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (อาร์/พี) 0.75% เหลือ 2% เพื่อหวังกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศถือเป็นสิ่งที่ดีและเชื่อว่ามีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งต่อไปลงอีก 1-1.5%
ขณะที่นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล อาทิ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง และอีกหลายสายที่กำลังทยอยออกมา ตลอดจนโครงการที่ภาครัฐเป็นผู้ลงทุน ส่งผลให้เกิดการจ้างงาน ซึ่งน่าจะทำให้รายได้ของกลุ่มก่อสร้างและเหล็กดีขึ้น ทดแทนรายได้ทางตลาดเอกชนที่เริ่มหดตัวตามวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น
ทั้งนี้ จากการประเมินภาพรวมในปี 2552 เชื่อว่ายังกลุ่มธุรกิจที่มีศักยภาพอยู่ในเกณฑ์ดี 3 กลุ่มได้แก่ 1.กลุ่มพลังงานทดแทน 2.โรงพยาบาล 3.เกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร โดยกลุ่มพลังงานทดแทน แม้ว่าปริมาณความต้องการน้ำมันจะลดลงตามสภาพเศรษฐกิจ ส่งผลให้ราคาปรับลดลงมาต่ำกว่าระดับ 50 เหรียญสหรัฐต่อบาเรลล์ แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีความต้องการน้ำมันอยู่มากในประเทศจีน จึงทำให้มองว่าราคาน้ำมันคงไม่ถูกแบบนี้ตลอดไป และคนก็จะหันมาสนใจพลังงานทดแทน
สำหรับกลุ่มโรงพยาบาลเอกชน เนื่องจากในช่วงทีผ่านมากลุ่มนี้ไม่มีการขยายงานมากนัก แต่หันมาเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานให้มากขึ้น อีกทั้งค่ารักษาพยาบาลที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับโรงพยาบาลเอกชนในต่างประเทศ
ส่วนกลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร แม้ราคาและคำสั่งซื้อ (ออร์เดอร์) จะลดลง แต่จากการสำรวจในช่วงทีผ่านมาพบว่า มีนักลงทุนต่างประเทศพยายามเข้ามาถือครองพื้นที่การเกษตรในประเทศผ่านตัวแทนที่เป็นคนไทย ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากหลังเกิดวิกฤตซับไพรม์ จึงทำให้หลายประเทศหันมาให้ความสนใจด้านอาหารมากขึ้น เพื่อทดแทนในส่วนที่ประเทศของตนเองไม่มี
ด้านนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือAYS กล่าวว่า จากการประเมินทิศทางเศรษฐกิจในช่วงไตรมาส 1-2 ของปี 52 กลุ่มธุรกิจที่น่าจะมีรายได้ลดลง ได้แก่ การท่องเที่ยว อุตสาหกรรมยานยนต์ ขณะที่กลุ่มที่น่าจะยังมีรายได้เติบโตคือ กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร กลุ่มค้าปลีกที่มีฐานลูกค้าส่วนใหญ่อยู่ในประเทศ และกลุ่มก่อสร้างที่ได้รับอานิสงส์จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลและการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยของกนง.
ส่วนหุ้นที่น่าลงทุนในปี 2552 ได้แก่ กลุ่มค้าปลีกได้แก่ บมจ.สยามแม็คโคร หรือMAKRO บมจ.ซีพี ออลล์ หรือCPALL บมจ.บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ หรือ BIGC และกลุ่มแบงก์ ธนาคารกรุงเทพ หรือBBL ธนาไทยพาณิชย์ หรือSCB กลุ่มพลังงานบมจ.บ้านปู หรือBANPU บมจ.ปตท.เคมิคอล หรือPTTCH กลุ่มอสังหาริมทรัพย์บมจ.เอเชี่ยนพร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ หรือAP เนื่องจากมีงานในมือเยอะและมีกระแสเงินอยู่ในเกณฑ์ดีและมีความสามารถในการขยายโครงการได้เร็ว
อย่างไรก็ตามคาดการณ์ว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯในปีนี้จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบที่ 380-650 จุด โดยครึ่งปีแรกน่จะอยู่ที่ 520 จุด เป็นผลจากพิษเศรษฐกิจ ขณะที่ครึ่งปีหลังน่าจะอยู่ที่ 650 จุด เนื่องจากอาจเห็นทิศทางเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว
|
|
|
|
|