Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน16 มกราคม 2552
แบงก์เล็งปรับดอกเบี้ยตามกนง. แย้ม"ออมทรัพย์"มีสิทธิ์ลดตาม             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงไทย

   
search resources

ธนาคารกรุงไทย
Loan




บิ๊กแบงก์กรุงไทยชี้กนง.ลงดอกเบี้ยเกินคาด ชี้สภาพคล่องระบบยังเอื้อลดดอกเบี้ยแบงก์ได้อีก และมีโอกาสปรับลดดอกเบี้ยออมทรัพย์ลงได้หากอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 3 เดือนลงมาใกล้เคียงเกินไป พร้อมตั้งเป้าเงินฝากปีนี้โตใกล้เคียงกับปีก่อนที่ 7-7.5 หมื่นล้านบาท ด้าน"ไทยพาณิชย์"เผยอยู่ระหว่างการพิจารณาคาดรู้ผลชัดเจนใน 1-2 วันนี้ ระบุแม้ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นขาลงตามดอกเบี้ยนโยบาย แต่ต้องพิจารณาถึงสภาพคล่อง-แนวโน้มการปล่อยสินเชื่อประกอบด้วย

นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB เปิดเผยว่า การที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.75% นั้น ถือเป็นการปรับลดลงมากกว่าที่ตลาดได้คาดการณ์ไว้ ซึ่งการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ ธปท.นั้นเป็นการชี้นำตลาด ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ธนาคารพาณิชย์จะนำมาใช้ประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับนโยบายอัตราดอกเบี้ยของธนาคารแต่ละแห่ง

อย่างไรก็ตาม การที่ธนาคารพาณิชย์จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยหรือไม่นั้น จะต้องมีการพิจารณาเกี่ยวกับสภาพคล่องและสภาพการแข่งขันของแต่ละธนาคารด้วยว่าเป็นอย่างไร ซึ่งในปัจจุบันสภาพคล่องของระบบธนาคารมีอยู่ที่ 4-5 แสนล้านบาท ซึ่งยังเป็นระดับที่จะสามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงได้อีก

ในส่วนของธนาคารกรุงไทยจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเท่าไรนั้นจะต้องมีการพิจารณากันอีกครั้ง ส่วนสภาพคล่องของธนาคารยังมีอีกมากและอยู่ในวิสัยที่สามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกได้ ส่วนจะลดลง 0.75% เท่ากับธปท.หรือไม่ มองว่าทุกอย่างมีโอกาสที่จะเป็นไปได้ทั้งหมด แต่ตอนนี้ยังตอบอะไรไม่ได้ต้องดูตลาดก่อน

ส่วนกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังขอความร่วมมือธนาคารพาณิชย์ให้ปรับลดส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย(สเปรด)ลงอีกนั้น มองว่าขณะนี้แต่ละธนาคารก็มีต้นทุนทางการเงินที่สูงพอสมควรโดยในส่วนของธนาคารกรุงไทยเองก็จะพยายามให้สเปรดอยู่ในระดับพออยู่ได้ โดยปัจจุบันธนาคารมีต้นทางภาษี 0.5% ต้นทุนการบริหารจัดการ 2% ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวขณะนี้ได้ส่งผลให้ต้นทุนทางด้านความเสี่ยงของธนาคารเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งสเปรดของธนาคารตอนนี้อยู่ที่ 2-3%

"การลงดอกเบี้ยโดยปกติก็คงจะลงทั้ง 2 ขา คือ ทั้งเงินฝากและเงินกู้ เพื่อที่จะรักษาระดับของสเปรดให้อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกันหรือน้อยกว่ากันเล็กน้อย ส่วนของออมทรัพย์จะลงหรือไม่ก็คงต้องดูหากเงินฝาก 3 เดือนขยับมาใกล้ก็คงขยับ ตอนนี้ทุกอย่างเป็นไปได้หมด"

KTBคาดเงินฝากปีนี้โต 7-7.5 หมื่นล.

นายอนุชิต อนุชิตานุกูล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส ผู้บริหารสายงาน สายงานบริหาร ผลิตภัณฑ์และการตลาด ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า ปีนี้มั่นใจว่าเงินฝากจะมีการเติบโตใกล้เคียงกับปีก่อนที่ 7-7.5 หมื่นล้านบาท ถึงแม้ว่าแนวโน้มทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นขาลง ตามทิศทางของอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) แต่เนื่องจากในภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกที่ซบเซาน่าจะเริ่มเห็นเม็ดเงินลงทุนที่เคยนำออกไปลงทุนยังต่างประเทศในช่วงก่อนหน้านี้ไหลกลับเข้าประเทศ โดยคาดการณ์เม็ดเงินดังกล่าวน่าจะอยู่ที่ประมาณ 2-3 แสนล้านบาท

นอกจากนี้ตั้งเป้ารายได้จากการใช้จ่ายผ่านบัตร ATM ปีนี้ที่ 2.8 พันล้านบาท ขณะที่ค่าฟีคาดว่าจะขยายตัว 30% ทั้งนี้ตั้งเป้าบัตรATM ใหม่ปีนี้ที่ 6 ล้านใบ และบัตร Debit ที่ 2.5 ล้านใบ โดยบัตร Debit มีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น ส่วนตู้ ATM ตั้งเป้าเพิ่มจำนวนเครื่องอีก 1 พันเครื่อง ขณะที่การทำธุรกรรมผ่าน ATM ปีนี้คาดจะเพิ่มขึ้น 1-1.5 ล้านรายการ จากปัจจุบันที่ 36 ล้านรายการ

SCBยันไม่เป็นผู้นำลดดอกเบี้ย

นายอดิศร เสริมชัยวงศ์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ สายงานผลิตภัณฑ์เงินฝากและการลงทุน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB เปิดเผยว่า จากที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.75% เหลือ 2% นั้น ในส่วนของธนาคารไทยพาณิชย์เองคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1-2 วันจึงจะรู้ผลชัดเจนว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงตามอย่างไร เนื่องจากต้องพิจารณาในเรื่องของสภาพคล่องและแนวโน้มการปล่อยสินเชื่อประกอบกัน โดยการพิจารณานั้นธนาคารไม่ได้มีแผนที่จะเป็นผู้นำในการปรับลดแต่จะดูที่สภาพแวดล้อมโดยรวมมากกว่า

"การลดดอกเบี้ยของกนง.ก็เป็นการชี้นำนโยบายอัตราดอกเบี้ย ซึ่งแบงก์ก็คงจะต้องตามไปกับแนวโน้มทั้งภาวะตลาดด้วย ส่วนการจะปรับลงแค่ด้านของเงินกู้อย่างเดียวคงไม่ได้ เพราะมันเป็นเรื่องของความแข็งแกร่ง ซึ่งหมายถึงการที่แบงก์จะต้องมีการกำไรด้วย และผู้ฝากเงินก็ต้องอยากฝากกับแบงก์ที่แข็งแกร่ง แต่ในช่วงอัตราดอกเบี้ยลงแบบนี้ทางเราก็ต้องเข้าไปดูแลลูกค้าด้วย"

ส่วนทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงต่อจากนี้ ก็น่าจะยังมีการปรับตัวลดลงต่อแต่คงไม่ลงแรงมากนัก เนื่องจากต้องรอดูถึงการตอบสนองของระบบเศรษฐกิจจากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงว่าจะมีการตอบสนองเร็วหรือช้าอย่างไร และควรจะลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกแค่ไหน เพราะถ้าใช้ยาแรงมากหรือใช้ในขนาดที่ไม่เหมาะสมก็อาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียงซึ่งอาจเป็นผลลบได้ ทั้งนี้ คาดว่าการลดอัตราดอกเบี้ยนั้นจะเห็นทั้งหมดภายในครึ่งปีแรกนี้

อย่างไรก็ตาม ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของไทยจะลงไปอยู่ที่ 0%ตามแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐอเมริกาหรือไม่นั้น มองว่ายังไม่เห็นถึงความจำเป็นที่จะให้อัตราดอกเบี้ยของไทยลงไปอยู่ในระดับดังกล่าว เพราะไทยไม่ได้มีปัญหาในเรื่องของความเชื่อมั่นต่อระบบสถาบันการเงิน อีกทั้งไม่ได้มีปัญหาเกี่ยวกับราคาสินทรัพย์ที่ถูกปรับราคาลง ซึ่งสถาบันการเงินของไทยถือได้ว่ามีแข็งแกร่งค่อนข้างมาก

"แบงก์พาณิชย์จะมีการปรับลดลงในอัตราไหนนั้นยังคงต้องพิจารณาต่อไป เพราะในขณะนี้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนของแบงก์ต่าง ๆ นั้นอยู่ในอัตราเพียงกว่า 1% เท่านั้น ส่วนนโยบายในด้านเงินฝากนั้นคงต้องมีการขยายกันต่อไป แต่ในส่วนของลูกค้าจะมีปัญหาเรื่องของดอกเบี้ยที่ยังมีแนวโน้มจะลดลง เช่น ขณะนี้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนของธนาคารไทยพาณิยช์ให้อยู่ที่ 1.4% หากมีการลดดอกเบี้ยลงอีก 0.75% ก็จะทำให้ดอกเบี้ยหล่นไปเกือบเท่ากับดอกเบี้ยออมทรัพย์ ทำให้ดอกเบี้ยออมทรัพย์อาจต้องขยับตามก็เป็นไปได้ แต่ก็ต้องรอติดตามดูต่อไปก่อน"   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us