Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน16 มกราคม 2552
TGลดสิทธิพนง.กลบเจ๊งแฉโกงA330-แบกน้ำมัน             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

   
search resources

การบินไทย, บมจ.
Aviation




แก้วิกฤตการบินไทยถึงทางตัน”โสภณ” สั่งลดสิทธิพิเศษ เลิกอุ้มภาษีแทนพนักงาน ชี้พนักงานต้องมารับเคราะห์ในการแก้ปัญหาปลายเหตุ แฉต้นเหตุจริงๆ ที่ทำให้การบินไทยวิกฤต เพราะการทุจริตซื้อ A 330 ขัดมติ ครม.-แบกน้ำมันแพง แฉอีกปมที่ให้ ”อภินันท์” อดีตดีดี ต้องลาออกหนีการสอบสวน เพราะแอบใช้เงินสดจ่ายค่าเครื่องบินล่วงหน้ากว่าหมื่นล้าน จนมีปัญหาสภาพคล่อง

นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการ (เวิร์คชอป) เพื่อแก้ปัญหา บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) วานนี้ (15 ม.ค.) ว่า จากปัญหาของการบินไทยสิ่งที่ ฝ่ายบริหารต้องเร่งดำเนินการคือการปรับลดค่าใช้จ่ายลง โดยเฉพาะสิทธิพิเศษของทั้งคณะกรรมการ (บอร์ด) ฝ่ายบริหารและพนักงานที่ได้รับเหนือกว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจอื่น โดยให้ดำเนินการตรวจสอบรายละเอียดเพื่อดำเนินการให้เป็นรูปธรรมและไม่ขัดต่อระเบียบที่มีหรือกระทบต่อสิทธิประโยชน์ที่พนักงานรัฐวิสาหกิจพึงได้รับ โดยจะไม่มีการปรับลดเงินเดือนของพนักงานแน่นอน

“สิทธิประโยชน์ที่มีเหนือรัฐวิสาหกิจอื่น เช่น กรณีที่บริษัทรับภาระภาษีเงินได้นิติบุคคลแทนพนักงาน เป็นต้น โดยการลดสิทธิพิเศษต่างๆ จะดำเนินการในช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น หากสถานการณ์และวิกฤตเศรษฐกิจกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ก็อาจมีการพิจารณาให้พนักงานได้รับสิทธิต่างๆ เช่นเดิม โดยแผนการลดค่าใช้จ่ายดังกล่าวให้การบินไทย เร่งจัดทำรายละเอียดและรายงานให้ที่ประชุมคณะทำงานฟื้นฟูฯ ทราบในวันที่ 20 ม.ค.นี้ “นายโสภณกล่าว

นายโสภณกล่าวถึงกระแสข่าวว่าผลประกอบการ ของบริษัทการบินไทย ปี 2551 จะขาดทุนกว่า 10,000 ล้านบาท และอาจถึงขั้นล้มละลายหากไม่มีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่นั้น ไม่เป็นความจริง โดยการที่กระทรวงคมนาคมพยายามหาทางลดรายจ่ายให้ การบินไทยเนื่องจากต้องรับมือกับวิกฤตเศรษฐกิจโลก ที่กระทบกับสายการบินเกือบทั้งหมดอยู่แล้ว

สหภาพฯ ชี้โสภณจุ้นลดรายได้ พนง.

นางแจ่มศรี สุกโชติรัตน์ ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัทการบินไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมาพนักงานการบินไทยได้ช่วยเหลือในการลดค่าใช้จ่ายบริษัทมาตั้งแต่ปี 2551 หลังจากที่บริษัทเริ่มประสบปัญหาขาดทุน เช่น ไม่รับเงินค่าล่วงเวลา แต่จะขอเพิ่มวันหยุดแทน อย่างไรก็ตามหน้าที่การดูแลสวัสดิการของพนักงานนั้นเป็นหน้าที่ขอสหภาพแรงงานกับผู้บริหาร ไม่ใช่หน้าที่ของรัฐมนตรี และหากต้องการให้บริษัทลดค่าใช้จ่ายจริง ควรปรับลดสิทธิของบอร์ดมากกว่าพนักงาน

รายงานข่าวแจ้งว่า สิทธิประโยชน์ที่บอร์ดการบินไทยและครอบครัวรวมทั้งผู้ติดตามได้รับ เช่น บัตรโดยสารชั้นหนึ่ง เส้นทางบินต่างประเทศและในประเทศสูงสุดเส้นทางบินละ 15 ใบต่อปี ,อดีตกรรมการบอร์ดและบุคคลในครอบครัวรวมถึงผู้ติดตามจ่ายค่าโดยสารเพียง 25% โดยเป็นเส้นทางบินต่างประเทศ 12 ใบต่อปี และเส้นทางในประเทศ 6 ใบต่อปี ,ส่วนค่าตอบแทนบอร์ดได้รับคนละ 20,000 บาทต่อเดือน และเบี้ยประชุมคนละ 30,000 บาทต่อเดือน หากเป็นประธานจะได้ค่าตอบแทนเพิ่มอีก 25% รองประธานบอร์ดจะได้เพิ่มจากกรรมการอีก 12.5%

ส่วนบุคคลภายนอกที่ได้รับเชิญมาเป็นอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน จะได้รับเบี้ยประชุมอีกครั้งละ 10,000 บาทแต่ไม่เกิน 30,000 บาท ส่วนเงินค่ารับรองของประธานบอร์ด จะมีเงินค่าใช้จ่ายได้ 50,000 บาทต่อเดือน หากเกินวงเงินที่กำหนดสามารถใช้งบกลางของบริษัทได้ ส่วนรองประธานจะได้รับเงินรับรอง 40,000 บาทต่อเดือน และกรรมการ 30,000 บาทต่อเดือน อย่างไรก็ตามสิทธิพิเศษของฝ่ายบริหารตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการใหญ่ขึ้นไปจะได้รับค่าน้ำมัน จำนวน75,000 บาทต่อเดือน

อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ ฝ่ายบริหารได้พิจาณาตัดค่าพาหนะแล้วซึ่งทำให้บริษัทประหยัดค่าใช้จ่ายได้ประมาณ 100 ล้านบาท ส่วนกรณีที่บริษัทรับภาระภาษีแทนพนักงานนั้น ก่อนหน้านี้มีความพยายามที่จะให้พนักงานรับผิดชอบเอง โดยบริษัทจะเพิ่มรายได้ให้เป็นการชดเชย แต่เนื่องจากกรอบวงเงินที่บริษัทตั้งสำหรับเพิ่มรายได้ให้พนักงาน ไม่ครอบคลุมภาษีที่พนักงานต้องจ่าย จึงทำให้ไม่สามารถตกลงกับพนักงานได้

ทุจริตซื้อ A330-น้ำมันสาเหตุหลักเจ๊ง

แหล่งข่าวจากบริษัทการบินไทย กล่าวว่า สาเหตุที่ทำให้บริษัทการบินไทยต้องประสบกับภาวะการขาดทุนอย่างมากและมีปัญหาสภาพคล่องในขณะนี้ ส่วนหนึ่งเพราะได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินโลก และการปิดสนามบิน แต่สาเหตุสำคัญ เป็นผลมาจากการบริหารงานที่ผิดพลาด และการทุจริตคอร์รัปชันในการจัดซื้อเครื่องบิน A 330-300 จำนวน 8 ลำ ขัดมติคณะรัฐมนตรีที่ให้บริษัท เช่าดำเนินการ (Operating Lease) เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงินของบริษัท แต่บริษัทไปดำเนินการชำระเงินค่างวดล่วงหน้า (Pre Delivery Payment/PDP) เพื่อซื้อเครื่องบิน

ทั้งนี้ ในการบริหารงบทำการของบริษัทการบินไทยโดยปกติ จะมีเงินสดหมุนเวียนประมาณ 1.7 หมื่นล้านบาท แต่ที่ผ่านมาบริษัทได้นำเงินดังกล่าว ไปชำระค่างวดล่วงหน้าในการจัดซื้อเครื่องบิน A330 และการจัดซื้อเครื่องยนต์และอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกบนเครื่องบินซึ่งขัดมติครม.ประมาณ 1.1หมื่นล้านบาททำให้เงินสดของบริษัทเหลือเพียง 5,000-6,000 ล้านบาทเท่านั้นซึ่งไม่เพียงพอสำหรับการใช้จ่ายในขณะนี้ที่มีปัญหา

แหล่งข่าวกล่าวว่า ฝ่ายบริหารในขณะนั้นรู้ดีว่า การกู้เงินมาเพื่อชำระค่างวดล่วงหน้าในการจัดซื้อเครื่องบิน A330 ไม่สามารถทำได้เพราะมติครม.ให้บริษัทเช่าดำเนินการ แต่ฝ่ายบริหารขณะนั้นเชื่อว่าเมื่อได้รับเครื่องบินมาใช้งาน สภาพคล่องและเงินสดจะกลับมาเหมือนเดิมเพราะ เครื่องบินที่ได้รับมาจะเข้าสู่กระบวนการด้าน Finance ซึ่งการจ่ายเงินค่างวดล่วงหน้าให้แอร์บัส จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้บริษัทมีปัญหาสภาพคล่องและไม่มีเงินสดในการดำเนินการ

แหล่งข่าวกล่าวว่า ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งเป็นรายจ่ายหลักของบริษัทเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้บริษัทขาดสภาพคล่อง โดยจากปี 2550 บริษัทมีรายจ่ายค่าเชื้อเพลิงประมาณ 50,000 ล้านบาท หรือประมาณเดือนละ 4,000 ล้านบาทจากรายจ่ายรวม 1.6 แสนล้านบาท แต่ในปี 2551 เกิดวิกฤตราคาน้ำมัน ทำให้บริษัทมีรายจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น เป็นเดือนละประมาณ 5,000-6,000 ล้านบาท

ประกอบกับรายได้หลักของบริษัทเป็นเงินต่างประเทศ และจะมีการแลกเป็นเงินบาท เมื่อมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน แต่ในภาวะปัจจุบันเมื่อบริษัทมีปัญหาสภาพคล่องทำให้ต้องนำเงินรายได้ที่เป็นเงินต่างประเทศเข้ามาใช้เสริมสภาพคล่องโดยไม่สามารถรอจังหวะในช่วงที่มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนได้ทำให้ต้องประสบกับภาวะการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนซ้ำอีก

โดยกรณีการซื้อเครื่องบิน A 330 นั้น ได้มีการตรวจสอบถึงความโปร่งใส ทั้งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ซึ่งได้รับความร้องเรียนจากถูกผู้ถือหุ้นของบริษัทว่าฝ่ายบริหารดำเนินการขัดต่อมติคณะรัฐมนตรี ที่ให้บริษัทดำเนินการจัดหาเครื่องบินโดยวิธีการเช่า (Operating Lease) แทนการจัดซื้อ โดยบริษัทมีการจ่ายเงินล่วงหน้าให้แอร์บัสเป็นการกระทำที่ไม่รักษาผลประโยชน์ของบริษัทและผู้ถือหุ้น

รวมถึงกรณีที่ว่าที่ ร.ต.พงศ์พันธ์ สุนทรชัย ประธานคณะกรรมาธิการคมนาคม สภาผู้แทนราษฏร ได้ทำหนังสือถึงนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น รายงานผลการสอบสวนหรือศึกษากรณี เรืออากาศโทอภินันทน์ สุมนะเศรณี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย (ซึ่งได้ลาออกจากตำแหน่งไปแล้ว) ถูกร้องเรียนและร้องทุกข์กล่าวโทษเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างส่อทุจริต ประพฤติมิชอบที่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการหมวด 10 ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) กมธ.คมนาคม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในกรณียกเลิกการจัดซื้อไวน์

นอกจากนี้ ยังมีกรณีปัญหาการฮั้วขึ้นราคาค่าโดยสารที่ร่วมกับสายการบิน Star Alliance โดยอ้างราคาน้ำมัน ทำให้สมาคมคุ้มครองผู้บริโภคของยุโรป (EU) ฟ้อง ซึ่งยังเป็นระเบิดเวลาสำหรับการบินไทยเพราะจะมีการตัดสินกันประมาณกลางปี 2552 นี้ และหากการบินไทยแพ้จะต้องจ่ายค่าปรับประมาณ 10,000 ล้านบาท

ลดค่าใช้ฟีขึ้นลงสนามบินดึงผู้โดยสาร

นายโสภณ กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมพร้อมที่จะดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยการปรับลดค่าธรรมเนียมการขึ้น-ลงอากาศยานในสนามบิน (Landing fee) เครื่องบินเช่าเหมาลำ 50% และเที่ยวบินปกติ ลด 15-20% ซึ่งล่าสุด สนามบินดอนเมือง เชียงใหม่ เชียงราย และหาดใหญ่ ได้ลดค่า Landing fee เครื่องบินเช่าเหมาลำแล้ว ส่วนเที่ยวบินปกติจะพิจารณาอีกครั้งว่าแต่ละสนามบินควรปรับลดในอัตราเท่าใด รวมทั้งจะมีการปรับลดค่าธรรมเนียมการใช้สนามบิน (PSC) ด้วย

ออกมาตรคุมปัญหาเสียงสุวรรณภูมิ

นายโสภณ กล่าวว่ากรณีที่ผู้ได้รับผลกระทบทางเสียงสนามบินสุวรรณภูมิจะชุมนุมปิดล้อมสนามบินในวันที่ 18 ม.ค.52 นั้น อยากขอร้องอย่าให้ชาวบ้านออกมาชุมนุมอีก และอยากให้ใช้วิธีพูดคุยกันดีกว่า โดยกระทรวงฯจะรีบออกมาตรการบังคับใช้กฎหมายเพื่อป้องกันเหตุการณ์ดังกล่าว พร้อมกันนี้ยังได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมา 1 ชุด โดยให้นายสุรชัย ธารสิทธิ์พงษ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน เพื่อเป็นตัวแทนไปเจรจากับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากชาวบ้านเห็นว่าคณะกรรม การไตรภาคี แก้ปัญหาไม่ได้ผลเท่าที่ควร   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us