|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ไทยออยล์ปรับทัพใหญ่รับเศรษฐกิจซบ ตั้งเป้าปี 52 ใช้กลยุทธ์เชิงรุกผนึกพลังร่วมในเครือไทยออยล์ มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การเพิ่มยอดขาย การรัดเข็มขัดค่าใช้จ่าย การบริหารความเสี่ยงและปรับโครงสร้างเงินทุนให้เหมาะสม พร้อมทบทวนโครงการลงทุนให้ทันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกปีหน้า
นายวิโรจน์ มาวิจักขณ์ กรรมการอำนวยการ บริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงผลการดำเนินงานของปี 2551 ที่ผ่านมาว่าตลาดน้ำมันและตลาดการเงินโลกมีความผันผวนสูงมาก ทำให้ภาคธุรกิจของไทยต้องเผชิญกับปัจจัยลบภายในประเทศ อันเนื่องจากสถานการณ์ทางการเมือง และกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลง ส่งผลต่อเนื่องไปถึงภาวะเศรษฐกิจของปี 2552 นี้ซึ่งเป็นช่วงที่มีความท้าทายทางธุรกิจ ขณะเดียวกันก็ยังมีช่องทางใหม่ ๆ ทางธุรกิจสำหรับองค์กรที่มีโครงสร้างทางธุรกิจที่แข็งแกร่ง ซึ่งทางบริษัทฯ เป็นหนึ่งในองค์กรที่มีศักยภาพ และเห็นถึงสัญญาณทางเศรษฐกิจโลกที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงในช่วงปลายปี 2550 ซึ่งอาจจะระทบต่อธุรกิจโดยรวมได้
“ไทยออยล์เตรียมความพร้อมาตั้งแต่ปี 2551 แล้ว ให้ความสำคัญในการวิเคราะห์ข้อมูลอุตสาหกรรม ข้อมูลเชิงธุรกิจ มีการตั้งทีมวิเคราะห์สถานการณ์พลังงานขึ้น เพื่อทำหน้าที่ในการวิเคราะห์และเสนอข้อมูลที่สำคัญต่อการวาแงผนธุรกิจในเครือไทยออยล์ และทำหน้าที่ส่งสัญญาณเตือนล่วงหน้า หากมีอะไรส่งผลกระทบต่อธุรกิจบริษัทจะปรับเปลี่ยนแทนทางธุรกิจให้เข้ากับสถานการณ์”
สำหรับปีที่ผ่านมา บริษัทยังเตรียมความพร้อมด้วยโครงการที่สามารถดึงความเป็นเลิศออกมาจากทุกสายงานของเครือที่เรียกว่าโครงการ Operational Excellence เพื่อให้พนักงานมีส่วนร่วมในการตั้งเป้าทางธุรกิจ และพาองค์กรไปถึงเป้าหมายได้ด้วยความร่วมมือ มีการแบ่งปันข้อมูลซึ่งกันและกัน เพื่อต่อยอดทางธุรกิจและปรับปรุงกระบวนการผลิต เพื่อลดต้นทุนการผลิต หรือเพิ่มคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์ หากมีสถานการณ์ธุรกิจเปลี่ยนแปลง โครงสร้างการดังกล่าวจัดตั้งขึ้นทุกไตรมาส ซึ่งส่งผลให้เครือมีความพร้อมและคล่องตัวแม้ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ที่ผันผวนเพียงใดก็พร้อมรับมือ
นายวิโรจน์ กล่าวต่อไปว่าในปี 2552 คาดว่าเศรษฐกิจของประเทศและภูมิภาคคงได้รับผลกระทบจากวิกฤติการเงินของโลก เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง แต่ทางอ้อมซึ่งเป็นผลจากภาคการส่งออกที่มีการแข่งขันกันมาก เมื่อประเมินสถานการณ์และปัจจัยแวดล้อมที่จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจของบริษัทแล้ว ก็จะพิจารณาถึงความสามารถในการแข่งขันซึ่งมีข้อได้เปรียบในหลายประการ เช่น ความคล่องตัวในการบริหารกลั่นกรองเนื่องจากมีหน่วยงานผลิตหลายหน่วย ซึ่งใช้หลากหลายเทคโนโลยี ความสามารถในการกลั่นน้ำมันใสที่มีมูลค่าในสัดส่วนสูง ค่าใช้จ่ายการดำเนินงานต่ำ โครงสร้างการเงินแข็งแกร่ง รวมทั้ง การกระจายตัวของธุรกิจที่มีความหลากหลาย ซึ่งเกื้อกูลกันระหว่างธุรกิจการกลั่นน้ำมัน ธุรกิจพาราไซลีน ธุรกิจน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน ธุรกิจผลิตไฟฟ้า ธุรกิจขนส่งน้ำมัน ธุรกิจพลังงานทดแทน รวมถึงธุรกิจสารละลายซึ่งเป็นธุรกิจใหม่ของกลุ่ม ซึ่งทำให้บริษัทฯ มีความได้เปรียบในการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตให้ได้ประโยชน์รวมสูงสุด ซึ่งจะส่งผลให้สามารถดำเนินการกลั่นได้ในระดับเต็มที่ ตลอดปีนี้ ซึ่งจะสนับสนุนการขยาย,ฐานลูกค้าในประเทศให้มากขึ้น และเจาะตลาดต่างประเทศใหม่ ๆ เพิ่ม
“ปีนี้บริษัทมีความพร้อมในการแข่งขัน บริษัทจะมุ่งเน้นการบริหารความเสี่ยงในระดับที่มากขึ้น มีการวางมาตรการป้องกันกับการบริหารกระแสเงินสดและลดความเสี่ยงได้เป็นอย่างดี รวมทั้งการจัดโครงสร้างเงินทุนให้เหมาะสม ซึ่งมีการปรับเงื่อนไขการกู้เงิน การกระจายแหล่งเงินทุน เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการใช้เงินทุนหมุนเวียนในปี 2552 และยังต้องมีระเบียบวินัยทางการเงิน”นายวิโรจน์ กล่าว
ทั้งนี้บริษัทมีแผนจะร่วมมือกับ บริษัทในกลุ่ม ปตท. เพื่อบริหารด้านโลจิสติกส์ และ Supply Chain Management ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานโดยรวมของกลุ่ม ปตท.ได้ เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว ซึ่งได้กำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจที่สำคัญไว้ 5 กลุ่มคือ 1. กลยุทธ์การต่อยอดศักยภาพขององค์กร 2. กลยุทธ์การเพิ่มคุณค่าในกระบวนการผลิต 3. กลยุทธ์การผลิตพลังงานทางเลือก 4. กลยุทธ์การขยายธุรกิจไปยังธุรกิจอื่น 5. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ เช่น โครงการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปของ บจ.ไทยพาราไซลีน
อย่างไรก็ตามบริษัทได้วางแผนที่จะทบทวนความเป็นไปได้ของโครงการต่ง ๆ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2552 เพื่อดูแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมพลังงานโดยรวม เช่น โครงการเพิ่มคุณค่าน้ำมัน ซึ่งเปลี่ยนน้ำมันเตาชนิดหนักให้เป็นน้ำมันใสที่มีมูลค่าสูงขึ้นและเพิ่มศักยภาพของโรงกลั่นให้สามารถกลั่นน้ำมันดิบชนิดหนักซึ่งมีราคาถูกได้ในปริมาณที่เพิ่มขึ้น การลงทุนในโครงการเชิงกลยุทธ์ ซึ่งบริษัทไม่ได้คำนึงถึงผลตอบแทนทางด้านธุรกิจเพียงอย่างเดียว แต่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและสังคมเป็นหลัก
“บริษัทมั่นใจจะก้าวผ่านปี 2552 ได้ด้วยการบริหารเชิงรุก และด้วยความระมัดระวังของบุคคลากรที่ทำงานอย่างมืออาชี เพื่อประโยชน์ขององค์กร ตามค่านินมขององค์กรที่เรียกว่า POSITIVE และปรัชญาในการทำงานที่ปฏิบัติมาได้แก่ 5 F ซึ่งประกอบด้วย Fast Flexible Focus Fair and Friendly คือความรวดเร็ว ความคล่องตัว ความชัดเจน ความยุติธรรม การพึงพาและเกื้อกูลกัน ทำให้งานเกิดประสิทธิภาพสูงสุด”นายวิโรจน์ กล่าว
|
|
|
|
|