|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ตลาดทุนเดินหน้าสร้างการเมืองโปร่งใส แก้ปัญหารัฐมนตรีถือหุ้นเกิน5% ก.ล.ต.พร้อมเป็นตัวกลาง ประสานกลไก Blind Trust และร่วมรับผิดชอบปิดกั้นไม่ให้นักการเมือง ใช้อำนาจในการครอบงำบลจ. ที่ทำหน้าที่บริหารสินทรัพย์ พร้อมเสนอทำสัญญามาตรฐาน เป็นแนวทางกำหนดกรอบการลงทุน เอื้อธุรกรรมให้เกิดมากขึ้น ด้านบลจ. ยืนยันพร้อมบริหารเงิน แต่ขอความชัดเจนในเรื่องกฏเกณฑ์-บทบาทหน้าที่ และภาษีก่อน ชี้หากฝากถือรอจนลงเก้าอี้ไร้ปัญหาแน่ แต่ถ้าต้องบริหารให้ด้วยแล้วขาดทุน หวั่นเกิดคดีการเมืองจนส่งผลเสียต่อชื่อเสียงบริษัท
วานนี้ (15 ม.ค.) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้จัดงานสัมมนา “ลงทุนเปิดเผย การเมืองโปร่งใส ผ่านกลไก Blind Trust” เพื่อส่งเสริมการมีบรรษัทภิบาลที่ดีในระบบบริหารราชการแผ่นดินผ่านกลไกตลาดทุน นายประสงค์ วินัยแพทย์ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) กล่าวว่า ก.ล.ต. พร้อมที่จะเข้ามาเป็นผู้ประสานงาน ร่วมรับผิดชอบในการดูแลไม่ให้นักการเมืองใช้อำนาจในการครอบงำบลจ. ที่ทำหน้าที่ในการบริหารสินทรัพย์หรือดูแลการถือหุ้นของนักการเมือง แต่ทางปปช.ควรที่จะกำหนดรายละเอียดแนบท้ายสัญญาที่ทำร่วมกันระหว่างบลจ.กับนักการเมืองให้มีความชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคต กรณีหากมีการร้องเรียนการลงทุนของนักการเมือง เช่น ใช้ผลประโยชน์ทับซ้อน
ทั้งนี้ เสนอให้มีสัญญามาตรฐานเพื่อเป็นแนวทางในการใช้กำหนดกรอบ เพราะในกฎหมายไม่ได้ระบุไว้อย่างชัดเจน แต่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) เท่านั้น ซึ่ง ปปช. เองไม่ได้อยู่ในวงการตลาดทุน ไม่รู้ว่าเงื่อนไขควรจะเป็นเช่นไร ดังนั้น หากมีสัญญามาตรฐานแล้ว ก็จะเอื้อให้เกิดธุรกรรมมากขึ้น
" ก.ล.ต. เราพร้อมที่จะรับประสานงานให้เพราะบลจ.อยู่ภายใต้การดูแลของเรา เพียงแต่ว่าจะต้องกำหนดกรอบให้เป็นมาตราฐานเดียวกันเพื่อจะได้ไม่มีปัญหา และสบายใจในการรับรู้ความต้องการของรัฐมนตรีแค่ไหน ระดับไหนปปช.รับได้ซึ่งหากคุยกันก็จะง่ายต่อบลจ.ที่เข้าไปรับงานด้วย เช่นอย่างหุ้นที่มอบหมายให้บลจ.บริหารจะทำอย่างไร หรือกำหนดกรอบหรือมีเงื่อนไขอย่างไร " นายประสงค์กล่าว
สำหรับ Blind Trust คือการโอนหุ้นให้บลจ.ดูแลในระหว่างที่นักการเมืองดำรงตำแหน่งทางการเมืองเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน ไม่ใช้เรื่องใหม่และก็ไม่ได้ผิด โดยปัจจุบันกฎหมายไม่ได้ห้ามให้รัฐมนตรีเข้าถือหุ้น แต่เพียงกำหนดไม่เกิน 5% ของจำนวนหุ้นที่ถือ ซึ่งหากถือเกินต้องขายหรือลดสัดส่วนลง ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ 2543 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ 2550 มาตรา 269 ที่มีผลบังคับใช้ เพียงแต่ในปัจจุบันหากทำเป็นสัญญามาตราฐานและมีทิศทางเดียวกันเท่านั้น
นายรพี สุจริตกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันกฎหมายที่เกี่ยวกับ Blind Trust มีอยู่ 2 ฉบับด้วยกัน นั่นคือ พระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 และรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 แต่ที่ผ่านมา กฎหมายทั้ง 2 ฉบับยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องของคนกลางที่จะเข้ามาดูแล และทำหน้าที่ตรวจสอบว่ามีการกระทำความผิด หรือมีการครอบงำระหว่างตัวรัฐมนตรีและบริษัทจัดการ ที่รัฐมนตรีรายนั้นโอนหุ้นไปให้บริหารหรือไม่ ซึ่งรวมไปถึงอำนาจในการลงโทษด้วยว่าสุดท้ายแล้วตกไปอยู่กับใคร ดังนั้น จึงอยากให้หน่วยงานที่เดียวข้องเข้ามาสร้างความชัดเจนในเรื่องนี้
ในขณะเดียวกัน กฎหมาย Trust เพื่อตลาดทุน ซึ่งเป็นกฎหมายใหม่ที่กำลังจะออกมาใช้บังคับ ควรจะต้องมีความชัดเจน โดยเฉพาะประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และบริษัทจัดการกองทุน ที่ต้องรองรับกฎหมายในส่วนนี้ด้วย
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของบลจ.กสิกรไทยเอง มีความพร้อมอยู่แล้ว หากรัฐมนตรีสนใจให้บริษัทเป็นผู้บริหารทรัพย์สินในส่วนที่เกินให้ ซึ่งเราเองมีใบอนุญาตประกอบธุรกิจจัดการกองทุนส่วนบุคคลอยู่แล้ว แต่ในเบื้องต้น หากเป็นการรับบริหารแบบถือครองเอาไว้อย่างเดียว โดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไร น่าจะเป็นแนวทางที่ทำได้เร็วที่สุด เพราะในเรื่องของกฎหมายหรือคนที่จะเข้ามาตรวจสอบยังไม่ชัดเจน
ด้านนายมาริษ ท่าราบ กรรมการผู้จัดการ บลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) กล่าวว่า สำหรับบลจ.ไอเอ็นจีเอง มีความพร้อมและสนใจบริหารทรัพย์สินให้รัฐมนตรีเช่นกัน แต่ในขณะนี้ ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องของภาษีว่าใครจะเป็นคนจ่าย เพราะมีทั้งเรื่องของภาษีรายได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่ยังไม่ชัดเจนว่าจะต้องเสียภาษีอย่างไร
โดย ในการบริหารทรัพย์สินนั้น หากเป็นการบริหารแบบ Passive Share Holder คือ ถือหุ้นเอาไว้อย่างเดียวโดยไม่ต้องทำอะไร แล้วคืนกลับไปหลังจากรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งแล้ว ก็ไม่น่าเป็นห่วงอะไร เพราะไม่ต้องจัดการอะไรมาก แต่หากเป็นการบริหารแบบ Freehand คือ โอนหุ้นมาให้บลจ.อย่างเด็ดขาด โดยบลจ. นั้น สามารถนำหุ้นดังกล่าวไปทำอะไรก็ได้ โดยที่รัฐมนตรีคนนั้นไม่มีสิทธิเข้ามาครอบงำ แต่ในรูปแบบนี้ อาจจะมีความเสี่ยงสูงกว่า ไม่ว่าจะเป็นการบริหารแล้วขาดทุน หรือหากเกิดเป็นคดีทางการเมืองขึ้นมา ก็อาจจะมีผลกระทบต่อชื่อเสียงของบริษัทได้
“เท่าที่ทราบ ในปัจจุบัน มีบริษัทจัดการที่มีใบอนุญาตกองทุนส่วนบุคคลจำนวน 2 แห่งที่มีธุรกิจนี้อยู่ โดยรายหนึ่งเป็นบริษัทจัดการกองทุน ส่วนอีก 1 รายนั้น เป็นธนาคารพาณิชย์”นายมาริษกล่าว
นายชัยรัตน์ ขนิษฐบุตร ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบตรวจสอบ สำนักงาน ปปช. กล่าวว่า สำหรับขั้นตอนของ Blind Trust นั้น หลังจากรัฐมนตรีได้รับการแต่งตั้งแล้ว หากประสงค์จะได้ประโยชน์จากหุ้นที่ถือเกิน 5 % จะต้องทำหน้งสือแจ้งไปยัง ปปช. ภายใน 30 วัน โดยรัฐมนตรีมีเวลา 90 วันในการดำเนินขั้นตอนการโอนหุ้นให้บริษัทจัดการ และหลังจากโอนแล้ว ให้แจ้ง ปปช.อีกครั้งภายใน 10 วัน ซึ่งในส่วนของบริษัทจัดการที่รับบริหาร ก็จะต้องแจ้ง ปปช. ด้วยว่ามีการโอนหุ้นมาจริง
|
|
|
|
|