|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
สำนักงาน ก.ล.ต. ขยายผลตรวจสอบกรรมการบริษัท SECC - บล.ฟินันซ่า ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน พร้อมเดินหน้าเอาผิดตามขั้นตอนทางกฎหมายหากร่วมมือกับ ผู้บริหารที่โดนกล่าวโทษไปก่อนหน้านี้ ระบุกฎหมายไทยมีจุดอ่อนเปิดโอกาสให้ผู้บริหารทุจริตฉ้อโกงง่าย เหตุมีการถ่วงดุลอำนาจทำให้บทลงโทษล่าช้าและไม่เด็ดขาด ขณะที่บอร์ด ก.ล.ต. อนุมัติผ่อนเกณฑ์ให้มีความยืดหยุ่นเพื่อลดอุปสรรคต่อภาคเอกชน
นายชาลี จันทนยิ่งยง ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส สายงานการเสนอขายหลักทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยถึง ความคืบหน้าการดำเนินการตรวจสอบ กรณีบริษัท เอส.อี.ซี. ออโต้เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ SECC ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบระบบการตรวจสอบภายในดีเพียงพอหรือไม่ รวมถึงการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการบริษัททั้งที่ยังดำรง ตำแหน่งอยู่และลาออกไปแล้วว่ามีส่วน ร่วมในการกระทำผิดหรือไม่ หลังจากได้กล่าวโทษและอายัดทรัพย์ผู้บริหารไปแล้วก่อนหน้านี้
ขณะเดียวกัน สำนักงาน ก.ล.ต. ได้เริ่มเข้าไปตรวจสอบบริษัทหลัก-ทรัพย์ (บล.) ฟินันซ่า จำกัด ในฐานะ ที่ปรึกษาการเงิน และแกนนำการจัดจำหน่ายหุ้นสามัญ SECC ในการนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม
'การตรวจสอบบล.ฟินันซ่า จะเกียวกับขั้นตอนและวิธีการทำงาน รวมถึงการทำหน้าที่ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินได้ทำการตรวจสอบข้อมูล (due deligence) ดีเพียงพอหรือไม่ ก่อนที่จะนำหุ้นออกเสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไป (IPO) เพราะที่ปรึกษา การเงินถือเป็นต้นเรื่องของการนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ'
สำหรับประเด็นที่จะให้บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ต้องรับผิดชอบนั้น นายชาลีกล่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้หยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาหารือ เพราะมีหลายกรณีที่นักลงทุนซื้อหุ้นไอพีโอ เพราะความเชื่อมั่นต่อบริษัทที่ปรึกษาทาง การเงินนั้นๆ โดยไม่ได้ตรวจสอบข้อมูลของบริษัท ดังนั้นบริษัทที่ปรึกษาฯ จะต้องทำหน้าที่กลั่นกรองคุณสมบัติ และต้องรับผิดชอบหากนำบริษัทที่ไม่มีคุณภาพเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
นายชาลีกล่าวเพิ่มเติมถึงกรณีที่เกิดปัญหาการทุจริตในบริษัทนิติบุคคล หรือบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า เกิดจากกฎหมายของไทยยังมีช่องโหว่ บทลงโทษยังไม่มีความรวดเร็ว เพราะระบบกฎหมายไทยมีการถ่วงดุลอำนาจ ระหว่างหน่วยงานต่างๆ เช่น ก.ล.ต.มีหน้าที่ ในการตรวจสอบ และรวบรวมหลักฐาน ส่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจหากพบการทุจริต หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจจะจัดทำสำนวนแล้วส่งไปยังกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ทำให้ล่าช้าในการส่งฟ้องศาล และยังมีกระบวนการพิสูจน์ในศาลต่อไป เป็นต้น
'กฎหมายไทยไม่ได้ให้อำนาจหน่วย-งานใดลงโทษได้เด็ดขาด ทำให้ผู้กระทำความผิดไม่เกรงกลัว จึงกระทำการทุจริตขึ้น ซึ่งถือเป็นปัญหาใหญ่ที่หน่วยงานต่างๆ จะต้องช่วยกันหาแนวทางเพื่อปิดจุดอ่อนดังกล่าว เหมือนกับต่างประเทศที่มีบทลงโทษที่เข้มงวดและรวดเร็วทันท่วงที'
นายชาลีกล่าวว่า หากตรวจสอบพบ ผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนทุจริต สำนักงาน ก.ล.ต. จะดูหลักเกณฑ์เทียบกับต่างประเทศ มีการดำเนินการเหมือนกันหรือไม่ โดยด่าน แรก ผู้ที่จะต้องรับผิดชอบคือบริษัทที่ปรึกษา ทางการเงินในการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพราะบริษัทที่เป็น ที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้ที่เข้าไปดูข้อมูลบริษัทอย่างละเอียดก่อนที่จะนำเข้าจดทะเบียน
'ก.ล.ต.ต้องดูว่าบริษัทไม่ดีมาตั้งแต่ก่อนเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือไม่ เพราะ ที่ปรึกษาทางการเงินต้องเป็นผู้รับผิดชอบหากบริษัทขาดคุณสมบัติหรือไม่ดีตั้งแต่ก่อนเข้าจดทะเบียน แต่ตรงกันข้ามหากก่อน เข้าบริษัทดีมีคุณสมบัติครบถ้วนแล้วมาทำทุจริตภายหลัง ก็ไม่สามารถกล่าวโทษบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินได้'
ก.ล.ต.ผ่อนเกณฑ์ลดอุปสรรคเอกชน
นายชาลีกล่าวถึงผลการประชุมคณะกรรมการ ก.ล.ต. ครั้งที่ 1/52 ว่า คณะกรรม-การมีมติเห็นชอบการออก และปรับปรุงเกณฑ์ให้มีความชัดเจนและเพิ่มความยืดหยุ่น เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อภาคเอกชน ประกอบด้วยประเด็นหลัก คือ ประเด็นแรก เรื่องการเปิดเผยข้อมูลของกรรมการและผู้บริหารที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ให้บริษัทกำหนดรูปแบบรายได้ให้เหมาะสมกับบริษัทเอง เนื่องจากแต่ละบริษัทมีพื้นที่ซับซ้อนต่างกัน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2552
ประเด็นที่ 2 เกณฑ์การทำรายการที่เกี่ยวโยงกันกรณีที่บริษัทจดทะเบียนทำรายการเกี่ยวโยงกับภาครัฐหรือกิจการที่รัฐถือหุ้น ให้ถือว่าธุรกรรมที่บริษัทจดทะเบียน มีหน้าที่ต้องทำตามกฎหมาย (เช่น การชำระ ภาษี) และธุรกรรมการจ่ายค่าบริการให้แก่รัฐ (เช่น ค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภค) ไม่เป็นรายการที่เกี่ยวโยงกัน รวมทั้งผ่อนปรนการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันกับภาครัฐหรือกิจการที่รัฐถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ให้สามารถทำได้โดยไม่ต้องขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น แต่ต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท เนื่องจากหน่วยงานรัฐย่อมคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะและยังคงมีคณะกรรมการบริษัทที่ช่วยดูแลผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น
ประเด็นที่ 3 การผ่อนคลายหลักเกณฑ์ และการบังคับใช้หลักเกณฑ์เรื่องการมีกรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบของบริษัทจดทะเบียน ให้กรรมการบริษัทผ่อนผันได้ หากเห็นว่าความสัมพันธ์ดังกล่าวไม่กระทบต่อการแสดงความเห็นของกรรมการอิสระรายนั้น ขณะที่บริษัทจดทะเบียนที่มีหน่วยงานภาครัฐเป็นผู้ถือหุ้น รายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมสามารถแต่งตั้งอดีตข้าราชการของหน่วยงานภาครัฐดังกล่าวให้เป็นกรรมการอิสระของบริษัท ได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้พ้น 2 ปี
ประเด็นที่ 4 กำหนดลักษณะการกระทำหรืองดเว้นกระทำการของกิจการที่ถูกเสนอซื้อที่อาจมีผลต่อการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ (frustration action หรือ anti-takeover) ได้แก่ การได้มาหรือจำหน่ายทรัพย์สินที่มีนัยสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ การก่อหนี้ที่มีนัยสำคัญและมิใช่การดำเนินการปกติของกิจการ การซื้อหุ้นคืนโดยกิจการรวมถึงการสนับสนุนให้บริษัทย่อยหรือบริษัทร่วมซื้อหุ้นของกิจการ เป็นต้น โดยการกระทำดังกล่าวข้างต้นจะกระทำมิได้ เว้นแต่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นก่อนหรือได้รับความยินยอมจากผู้ทำคำเสนอซื้อ หรือได้รับผ่อนผันจากสำนักงานหรือคณะอนุกรรมการวินิจฉัยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ
ประเด็นสุดท้าย เห็นชอบให้แก้ไขหลักเกณฑ์ให้บริษัทจัดการลงทุนที่มีการจัดการเงินทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยมี วัตถุประสงค์เพียงเพื่อลดหรือป้องกันความ เสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนของกองทุน (เพื่อ hedging) ไม่ต้องมีใบอนุญาตหรือจดทะเบียนเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าภายใต้ พ.ร.บ.สัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 โดยบริษัทจัดการลงทุน ดังกล่าวจะต้องมีระบบงานในการบริหารจัดการกองทุนที่เพียงพอ
นายชาลี จันทนยิ่งยง ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส สายงานการเสนอขายหลักทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยถึง ความคืบหน้าการดำเนินการตรวจสอบ กรณีบริษัท เอส.อี.ซี. ออโต้เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ SECC ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบระบบการตรวจสอบภายในดีเพียงพอหรือไม่ รวมถึงการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการบริษัททั้งที่ยังดำรง ตำแหน่งอยู่และลาออกไปแล้วว่ามีส่วน ร่วมในการกระทำผิดหรือไม่ หลังจากได้กล่าวโทษและอายัดทรัพย์ผู้บริหารไปแล้วก่อนหน้านี้
ขณะเดียวกัน สำนักงาน ก.ล.ต. ได้เริ่มเข้าไปตรวจสอบบริษัทหลัก-ทรัพย์ (บล.) ฟินันซ่า จำกัด ในฐานะ ที่ปรึกษาการเงิน และแกนนำการจัดจำหน่ายหุ้นสามัญ SECC ในการนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม
'การตรวจสอบบล.ฟินันซ่า จะเกียวกับขั้นตอนและวิธีการทำงาน รวมถึงการทำหน้าที่ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินได้ทำการตรวจสอบข้อมูล (due deligence) ดีเพียงพอหรือไม่ ก่อนที่จะนำหุ้นออกเสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไป (IPO) เพราะที่ปรึกษา การเงินถือเป็นต้นเรื่องของการนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ'
สำหรับประเด็นที่จะให้บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ต้องรับผิดชอบนั้น นายชาลีกล่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้หยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาหารือ เพราะมีหลายกรณีที่นักลงทุนซื้อหุ้นไอพีโอ เพราะความเชื่อมั่นต่อบริษัทที่ปรึกษาทาง การเงินนั้นๆ โดยไม่ได้ตรวจสอบข้อมูลของบริษัท ดังนั้นบริษัทที่ปรึกษาฯ จะต้องทำหน้าที่กลั่นกรองคุณสมบัติ และต้องรับผิดชอบหากนำบริษัทที่ไม่มีคุณภาพเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
นายชาลีกล่าวเพิ่มเติมถึงกรณีที่เกิดปัญหาการทุจริตในบริษัทนิติบุคคล หรือบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า เกิดจากกฎหมายของไทยยังมีช่องโหว่ บทลงโทษยังไม่มีความรวดเร็ว เพราะระบบกฎหมายไทยมีการถ่วงดุลอำนาจระหว่างหน่วยงานต่างๆ เช่น ก.ล.ต.มีหน้าที่ ในการตรวจสอบ และรวบรวมหลักฐาน ส่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจหากพบการทุจริตหลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจจะจัดทำสำนวนแล้วส่งไปยังกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ทำให้ล่าช้าในการส่งฟ้องศาล และยังมีกระบวนการพิสูจน์ในศาลต่อไป เป็นต้น
'กฎหมายไทยไม่ได้ให้อำนาจหน่วย-งานใดลงโทษได้เด็ดขาด ทำให้ผู้กระทำความผิดไม่เกรงกลัว จึงกระทำการทุจริตขึ้น ซึ่งถือเป็นปัญหาใหญ่ที่หน่วยงานต่างๆ จะต้องช่วยกันหาแนวทางเพื่อปิดจุดอ่อนดังกล่าว เหมือนกับต่างประเทศที่มีบทลงโทษที่เข้มงวดและรวดเร็วทันท่วงที'
นายชาลีกล่าวว่า หากตรวจสอบพบผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนทุจริต สำนักงาน ก.ล.ต. จะดูหลักเกณฑ์เทียบกับต่างประเทศ มีการดำเนินการเหมือนกันหรือไม่ โดยด่าน แรก ผู้ที่จะต้องรับผิดชอบคือบริษัทที่ปรึกษา ทางการเงินในการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพราะบริษัทที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้ที่เข้าไปดูข้อมูลบริษัทอย่างละเอียดก่อนที่จะนำเข้าจดทะเบียน
'ก.ล.ต.ต้องดูว่าบริษัทไม่ดีมาตั้งแต่ก่อนเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือไม่ เพราะที่ปรึกษาทางการเงินต้องเป็นผู้รับผิดชอบหากบริษัทขาดคุณสมบัติหรือไม่ดีตั้งแต่ก่อนเข้าจดทะเบียน แต่ตรงกันข้ามหากก่อน เข้าบริษัทดีมีคุณสมบัติครบถ้วนแล้วมาทำทุจริตภายหลัง ก็ไม่สามารถกล่าวโทษบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินได้'
ก.ล.ต.ผ่อนเกณฑ์ลดอุปสรรคเอกชน
นายชาลีกล่าวถึงผลการประชุมคณะกรรมการ ก.ล.ต. ครั้งที่ 1/52 ว่า คณะกรรม-การมีมติเห็นชอบการออก และปรับปรุงเกณฑ์ให้มีความชัดเจนและเพิ่มความยืดหยุ่น เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อภาคเอกชน ประกอบด้วยประเด็นหลัก คือ ประเด็นแรก เรื่องการเปิดเผยข้อมูลของกรรมการและผู้บริหารที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ให้บริษัทกำหนดรูปแบบรายได้ให้เหมาะสมกับบริษัทเอง เนื่องจากแต่ละบริษัทมี พื้นที่ซับซ้อนต่างกัน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2552
ประเด็นที่ 2 เกณฑ์การทำรายการที่เกี่ยวโยงกันกรณีที่บริษัทจดทะเบียนทำรายการเกี่ยวโยงกับภาครัฐหรือกิจการที่รัฐถือหุ้น ให้ถือว่าธุรกรรมที่บริษัทจดทะเบียน มีหน้าที่ต้องทำตามกฎหมาย (เช่น การชำระ ภาษี) และธุรกรรมการจ่ายค่าบริการให้แก่รัฐ (เช่น ค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภค) ไม่เป็นรายการที่เกี่ยวโยงกัน รวมทั้งผ่อนปรนการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันกับภาครัฐหรือกิจการที่รัฐถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ให้สามารถทำได้โดยไม่ต้องขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น แต่ต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท เนื่องจากหน่วยงานรัฐย่อมคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะและยังคงมีคณะกรรมการบริษัทที่ช่วยดูแลผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น
ประเด็นที่ 3 การผ่อนคลายหลักเกณฑ์ และการบังคับใช้หลักเกณฑ์เรื่องการมีกรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบของบริษัทจดทะเบียน ให้กรรมการบริษัทผ่อนผันได้ หากเห็นว่าความสัมพันธ์ ดังกล่าวไม่กระทบต่อการแสดงความเห็นของกรรมการอิสระรายนั้น ขณะที่บริษัทจดทะเบียนที่มีหน่วยงานภาครัฐเป็นผู้ถือหุ้น รายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมสามารถแต่งตั้งอดีตข้าราชการของหน่วยงานภาครัฐดังกล่าวให้เป็นกรรมการอิสระของบริษัท ได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้พ้น 2 ปี
ประเด็นที่ 4 กำหนดลักษณะการกระทำหรืองดเว้นกระทำการของกิจการที่ถูกเสนอซื้อที่อาจมีผลต่อการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ (frustration action หรือ anti-takeover) ได้แก่ การได้มาหรือจำหน่ายทรัพย์สินที่มีนัยสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ การก่อหนี้ที่มีนัยสำคัญและมิใช่การดำเนินการปกติของกิจการ การซื้อหุ้นคืนโดยกิจการรวมถึงการสนับสนุนให้บริษัทย่อยหรือบริษัทร่วมซื้อหุ้นของกิจการ เป็นต้น โดยการกระทำดังกล่าวข้างต้นจะกระทำมิได้ เว้นแต่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นก่อนหรือได้รับความยินยอมจากผู้ทำคำเสนอซื้อ หรือได้รับผ่อนผันจากสำนักงานหรือคณะอนุกรรมการวินิจฉัยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ
ประเด็นสุดท้าย เห็นชอบให้แก้ไขหลักเกณฑ์ให้บริษัทจัดการลงทุนที่มีการจัดการเงินทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยมี วัตถุประสงค์เพียงเพื่อลดหรือป้องกันความ เสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนของกองทุน (เพื่อ hedging) ไม่ต้องมีใบอนุญาตหรือจดทะเบียนเป็นผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าภายใต้ พ.ร.บ.สัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 โดยบริษัทจัดการลงทุน ดังกล่าวจะต้องมีระบบงานในการบริหารจัดการกองทุนที่เพียงพอ
|
|
|
|
|